ยินดีจั๊ดนัก!! รวมพลังสานสุข เมืองน่าน...น่าอยู่

น่าน..นับเป็นเมืองท่องเที่ยวยั่งยืน ที่มีรางวัล UNESCO การันตี และเป็นต้นแบบสุขภาพดีมีสุขทุกคนมีส่วนร่วม โดยการสนับสนุนของ สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งขับเคลื่อนพันธกิจสร้างสุขภาวะทั่วไทยตามแนวนโยบายและปรัชญาของการก่อกำเนิดองค์กรมาอย่างต่อเนื่องจากวันนั้นจนถึงวันนี้

พื้นที่จังหวัดน่าน นับเป็นต้นแบบสำคัญของการมีส่วนร่วม โดยนำนวัตกรรม "ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค" ลงไปดำเนินการและปฏิบัติได้จริง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 และคณะผู้บริหาร สสส. พร้อมสื่อมวลชนได้ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงาน “ยินดีจั๊ดนัก รวมพลังสานสุข” ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ณ โรงพยาบาลน่าน อ.เมืองน่าน จ.น่าน

นายระพีพันธุ์ สริวัฒน์ ที่ปรึกษากรรมการกองทุนสสส. ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 สสส. เล่าว่า เริ่มแรกมา จ.น่านนั้นเต็มไปด้วยภูเขาหัวโล้น ขณะนี้เกิดความเปลี่ยนแปลงต้นไม้เขียวชอุ่ม ถนนหนทางดี ชุมชนร่มเย็นใจสบาย ใครไปใครมาเมืองน่านก็ประทับใจ สสส.สนับสนุนผลงานประสบความสำเร็จเป็นสุขภาวะ ยิ่งมีการรวมพลังกับ อสม.สุดยอดเชี่ยวชาญเรื่องสูตรอ่อนหวาน โรค NCDs ที่ติดอันดับคือเบาหวาน โดยเฉพาะผู้สูงอายุเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ส่วนปัญหาของเด็กและเยาวชนคือเหล้า บุหรี่ การพนัน ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ

รพ.น่านเป็นโมเดลหนึ่งเดียวที่เห็นพลังในการทำงานร่วมกัน น่านเป็นจังหวัดเล็กๆ ทางภาคเหนือ เห็นผลงานควรต่อยอดด้วยการกระจายองค์ความรู้ให้เครือข่ายในจังหวัดอื่นๆ ด้วย สสส.เริ่มพัฒนา “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค” มาตั้งแต่ปี 2558 ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้และส่งเสริมแนวทางการใช้ชีวิตที่มีสุขภาวะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจากการดำเนินงานมากว่า 8 ปี ปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาคทั้งสิ้น 18 แห่ง ครอบคลุม 13เขตบริการสุขภาพ ร่วมขยายผลองค์ความรู้สุขภาวะผ่านกลไกการทำงานร่วมกับหน่วยงาน/เครือข่ายในระดับพื้นที่ และมีการพัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้ด้วยรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ โดยมีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 7,000,000 คน และเกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือนักสร้างเสริมการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกว่า 3,000 คน

“สสส.ร่วมมือกับ รพ.น่านพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะภูมิภาค ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งโรงพยาบาลน่านถือเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในด้านบุคลากรที่มีความรู้ด้านสุขภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทำงานเชิงรุกเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ แต่ยังขาดนวัตกรรมชุดความรู้ เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพให้แก่ประชาชน สสส.จึงได้สนับสนุนนวัตกรรมเครื่องมือสร้างการเรียนรู้สุขภาวะในประเด็นต่างๆ ทั้งในรูปแบบนิทรรศการ นิทรรศการเคลื่อนที่ (กระเป๋าสื่อการเรียนรู้ สสส.) พัฒนาทักษะบุคลากรในการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้  และสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาวะที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อาทิ การส่งเสริมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. การออกกำลังกาย “เก้าอี้ขยี้พุง” ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นกว่า 95% และมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด” นายระพีพันธุ์กล่าว

นายระพีพันธุ์ยืนยันว่า สสส.เตรียมยกระดับให้ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะฯ โรงพยาบาลน่าน เป็นต้นแบบ “โรงพยาบาลอ่อนหวาน” มุ่งให้ความรู้และการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะประเด็นโรคเบาหวานและอาหารเพื่อสุขภาพให้สำเร็จภายในปี 2567 โดยมุ่งสร้างความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงพัฒนาศักยภาพ อสม.หมอคนที่ 1 เขตเทศบาลเมืองน่าน และเขต รพ.สต.บ้านบุปผาราม ร่วม 100 คนให้สามารถเป็นวิทยากรระดับตำบลได้ กลายเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขยายผลองค์ความรู้สุขภาวะ สร้างความรอบรู้สุขภาพอย่างยั่งยืน

นพ.วสันต์ แก้ววี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน พูดถึงข้อมูลสุขภาพประชากร จ.น่าน ปี 2565 มีประชาชน 474,095 คน ในจำนวนนี้มีประชากรในเขตโรงพยาบาลน่าน (เขตเทศบาลเมืองน่าน) 17,452 คน เป็นผู้สูงอายุ 5,068 คน เป็นผู้ป่วยโรค NCDs อาทิ โรคความดันโลหิตสูง 3,568 คน เบาหวาน 1,390 คน  ไตเรื้อรัง 1,242 คน ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะฯ น่าน ได้นำนวัตกรรมนิทรรศการเคลื่อนที่ของ สสส. อาทิ ชุดการเรียนรู้ “FOOD & FIT” บอร์ดเกมเรื่องอาหารสุขภาพ “สุขสมวัย” ส่งเสริมสุขภาพจิต มาพัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกให้ประชาชนในพื้นที่

“การมีนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และมีรูปแบบที่หลากหลายจาก สสส. ช่วยให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะที่ถูกต้อง  อาทิ ชุดความรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศที่ รพ.น่านได้ต่อยอดสู่การสร้างทักษะชีวิตในกลุ่มเด็กพิเศษให้แก่โรงเรียนน่านปัญญานุกูล ชุดบอร์ดเกม คลิปวิดีโอ กราฟิกสุขภาพ  กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ที่โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ได้นำไปขยายผลสู่การปฏิบัติจริง โดยพัฒนานวัตกรรมต้นแบบอาหารกลางวันเพื่อสุขภาพ ลดภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในโรงเรียน ทำให้ได้รับรางวัลระดับประเทศ อาทิ โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health  Literate School) ปี 2565-2568 จากกระทรวงสาธารณสุข ชนะเลิศ "สุดยอดโรงเรียนสุขภาพดี" ระดับประถมศึกษาปี 2566 จากบริษัท เอไอเอ ประเทศไทย จำกัด ได้เป็นตัวแทนคนไทยเข้าแข่งขันในระดับเอเชีย-แปซิฟิกที่มาเลเซีย” นพ.วสันต์กล่าว

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ หรือหมอบอย  ผอ.สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. (สำนัก 7) อดีตรอง ผอ.ฝ่ายการแพทย์ รพ.น่าน กล่าวถึง การนำสื่อต่างๆ ให้ความรู้มีเครือข่ายชุมชน รร.กศน.ขยายผลไปยังพื้นที่กลุ่มประชาชนในชุมชนได้ง่ายขึ้น ทีมงาน รพ.น่านทำงานส่งเสริมสุขภาพตำบล อสม.ขยายผลได้อย่างรวดเร็ว สสส.พัฒนาทักษะส่งเสริมบุคลากรเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น การเข้าถึงชุมชนเพื่อสานพลัง สสส.มีจุดแข็งในการร่วมมือทำงานอย่างมีบูรณาการ ความท้าทายในการทำงาน เนื่องจากน่านมีวัฒนธรรมการกินข้าวเหนียว มีโอกาสเกิดโรค NCDs เบาหวานได้สูงกว่าการรับประทานข้าวเจ้า โรคที่เกิดจาการประกอบอาชีพของเกษตรกร ฝุ่น PM2.5 ปัญหาสุขภาพจิต ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้นำชุมชน อสม.ในพื้นที่ทำงานเรียนรู้ร่วมกัน ทีมวิทยากรวิชาชีพทางสื่อต่างๆ สนับสนุนงานที่ท้าทาย

ขณะนี้ผู้ชายน่านมีอายุเฉลี่ย 73 ปี ผู้หญิงน่านมีอายุเฉลี่ย 80 ปี หลายชุมชนร่วมกันควบคุมสารเสพติด เหล้า  บุหรี่ อุบัติเหตุ ขยายผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ผู้ชายเสียชีวิตก่อนผู้หญิง ถ้าหากลดอบายมุข สารเสพติดลงได้ โรค NCDs ด้วยการควบคุมอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง สร้างความตระหนักรู้ มีโอกาสที่ผู้ชายจะอายุยืนขึ้นอีก ตั้งเป้าให้มีค่าอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ในประเทศญี่ปุ่นอายุค่าเฉลี่ย 85-90 ปี เราต้องก้าวทีละก้าว ชุมชนเรียนรู้ที่จะดูแลผู้สูงวัยให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สุขภาพที่ดีไม่ป่วยติดเตียง ไม่พิการ ดูแลตัวเองได้ “สสส.ช่วยติดอาวุธให้พัฒนาตัวเองในการทำงานร่วมกับ อสม. มีการสร้างนวัตกรรมเป็นจุดสำคัญในการสร้างสิ่งใหม่ๆ สื่อสารด้วยการใช้เกม เข้าใจ เรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น”.

***

สุรพล เธียรสูตร

นายกเทศมนตรีเมืองน่าน จ.น่าน

ภาคภูมิใจที่เทศบาลเมืองน่านได้รับการรับรองให้เป็นชุมชนปลอดภัย จัดประชุมนานาชาติ 32 ประเทศเมื่อปี 2558 เราคาดหวังต่อไปอีกว่าน่านเป็นเมืองสะอาด ปลอดภัย น่าอยู่ อยู่แล้วมีความสุข สร้างเมืองแห่งโอกาส  เมืองแห่งคนอายุยืน สร้างเมืองคนดีมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น และมีความซื่อสัตย์สุจริต การมีคลังสมองเป็นต้นทุนที่ดีโดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรม เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากหลักหมื่นเพิ่มขึ้นเป็นหลักแสนหลักล้าน มีโรงแรมหลายแห่งรองรับ “ภายใน 10 ปีผมต้องการให้เมืองน่านน่าอยู่มากที่สุดในเมืองไทย เมืองแห่งคนอายุยืน Smart City ต้นทุนเมืองเก่ามีรายได้จากศิลปวัฒนธรรมที่นำมากินและขายได้ให้ชุมชน”

“ผมเป็นคนริเริ่มแข่งเรือประเพณีปลอดเหล้าเบียร์ เอื้อให้อุบัติเหตุลดลง ประสบความสำเร็จจากความร่วมมือทุกฝ่าย คนน่านภาคภูมิใจแข่งเรือยิ่งใหญ่ไม่มีเหล้าไม่มีเบียร์  ทำมาแล้ว 18 ปี กลายเป็นสถานที่ดูงาน เมื่อไม่ดื่มเหล้าเบียร์ อัตราคนตีกัน อุบัติเหตุ บาดเจ็บเสียชีวิตก็ลดลงปี 65 มีผู้เสียชีวิต 84 ราย”

งานทั้งหมดนี้ไม่ได้สำเร็จได้ในชั่วข้ามคืน ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ขยายเครือข่ายสร้างสังคมคุณภาพ  อนามัยส่วนบุคคล การจัดการความรู้ ขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างถูกต้อง การมีส่วนร่วม เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาจนเกิดปัญญา ขณะนี้คนน่านมีผู้สูงอายุ 30.18%  เด็กเติบโตอย่างมีอนาคต ได้รับรางวัลเมืองท่องเที่ยวสิ่งแวดล้อมสะอาดระดับอาเซียนจากประเทศบรูไน รางวัลกินรี 4 สมัย (Halls of Fame).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง