กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับภาคี Dow & Thailand Mangrove Alliance เปิดใช้งานและจัดอบรมระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา 1.9 ล้านบาท จากกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) เพื่อเป็นเครื่องมือใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชนในการติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการบุกรุกป่าชายเลนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้
ระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนนี้ใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2A/2B และ ดาวเทียม Landsat-8/9 นำมาวิเคราะห์จุดเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลน ด้วยการสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่ร่วมกับการคัดกรองข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมหลายช่วงเวลาและข้อมูลภูมิสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA การใช้ระบบดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนได้ดียิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจสอบและคัดกรองก่อนส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้นหากประชาชนพบเห็นการบุกรุก หรือตัดไม้ทำลายป่าชายเลน ก็สามารถร่วมแจ้งเหตุผ่านทางระบบนี้ได้เช่น
ล่าสุด ได้เปิดระบบใช้งานจริงแล้ว โดยมีเจ้าหน้าที่กว่า 70 คน ผ่านการอบรมการใช้งานระบบในครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 โดยจะมีการอบรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง และมีแผนจะประชาสัมพันธ์วิธีการใช้งานเพื่อเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถรายงานการบุกรุกป่าชายเลนทั่วประเทศได้ด้วยแผนที่และภาพถ่ายจากดาวเทียมต่อไป
นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า “Dow เป็นบริษัทนวัตกรรมซึ่งเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และความร่วมมือ เรามีความมุ่งมั่นในการต้านโลกร้อนด้วยการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนที่มีประสิทธิภาพสูง Dow จึงยินดีที่ได้ทำงานร่วมกับ ทช. ในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ นอกจากนี้ ระบบติดตามพื้นที่ป่าจากภาพถ่ายดาวเทียมยังจะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแจ้งการบุกรุกป่าชายเลนทั่วประเทศให้ ทช. ทราบได้อย่างทันท่วงที”
นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า “กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ยินดีที่บริษัทเอกชนเช่น Dow ได้เข้ามาสนับสนุนและทำงานร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบบดังกล่าวจะช่วยประหยัดงบประมาณและเวลาในการจัดกำลังเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปสำรวจข้อมูลภาคพื้นดิน เนื่องจากข้อมูลภาพดาวเทียมสามารถถ่ายภาพได้เป็นบริเวณกว้าง มีความเป็นปัจจุบัน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลการบริหารจัดการการติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและเข้าใช้งานระบบติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ได้ที่ https://change.dmcr.go.th/main
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
10 ปี ห้องเรียนเคมีดาว ขับเคลื่อนเด็กไทยเก่งวิทย์ เผยชื่อ รร.แชมป์เคมีย่อส่วนจากผู้ประกวดกว่า 800 คน
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ร่วมกับพันธมิตร ฉลองครบรอบ 10 ปี โครงการห้องเรียนเคมีดาว จัดประกวดการทดลองเคมีย่อส่วนประจำปี 2567 อย่างยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าประกวดสูงเป็นประวัติการณ์ เผยผลการส่งเสริมให้เด็กไทยเก่งวิทยาศาสตร์ตลอด 10 ปี มีนักเรียนกว่า 470,000 คน ได้เรียนวิชาเคมีอย่างมีคุณภาพด้วยการลงมือทดลองจริง และกำลังขยายต่อไปเรื่อยๆ
พะยูนยังเหลืออยู่ที่ไหน? อีกเท่าไหร่ในปัจจุบัน
ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พะยูนเมืองไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขอความร่วมมือช่วยกันส่งจุดที่พบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาในฝั่งอันดามัน
เร่งแก้ปมเอกชนฟ้องขับไล่ชาวบ้านอาศัยเขตป่าชายเลนตามมติครม.
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมเข้าตรวจสอบสภาพพื้นที่ชุมชนประชาสามัคคี ต.เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต ปมข้อพิพาทกับเอกชนชาวบ้านถูกฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่
ปุ้มปุ้ย ผนึกกำลัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และบิ๊กซี นำร่องโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน”
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) โดยนางปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความยั่งยืน และสื่อสารองค์กร
กทม. หนุนเสริมทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ในเด็กเล็ก ตามนโยบายผู้ว่าฯ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น” เปิดตัวโครงการใหม่ “ภาคี ดาว-อีเอฟ พัฒนาเด็กกทม.”
กรุงเทพมหานคร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับกลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย (Dow) สถาบันรักลูก เลิร์นนิ่งกรุ๊ป
บริษัทแรกในเอเชีย! เครื่องมือไฟฟ้าชั้นนำ “MAKITA” ประเทศไทย ประกาศใช้ฟิล์มรัดสินค้าผลิตจากพลาสติกใช้แล้ว ชูนวัตกรรมจาก Dow และ MMP
นับเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย แปซิฟิกที่มีการประกาศใช้ฟิล์มรัดสินค้าที่ผลิตจากพลาสติกใช้แล้ว อย่างเต็มรูปแบบ โดย บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด