ประเทศไทยมีกฎหมายจำนวนมากที่ออกมาบังคับใช้ จะเห็นจากมีพระราชบัญญัติเกือบ 1,400 ฉบับ และมีกฎหมายลำดับรองอีกกว่า 100,000 ฉบับ ไม่นับรวมกฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับอื่น ๆ อีก ในขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) แนะนำว่าประเทศที่ดีควรมีแค่ไม่เกิน 300 ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบัน มีความซ้ำซ้อน มีกระบวนการและขั้นตอนที่ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน ทั้งที่ควรจะเป็นการสนับสนุน ซึ่งส่งผลต่อการกีดกันความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ซึ่งปัญหาของการขัดกันของกฎหมายภายในประเทศและความล้าสมัยของกฎหมายเป็นตัวฉุดที่สำคัญอันหนึ่ง เพราะการที่เรามีกฎระเบียบจำนวนมาก นอกจากจะฉุดทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพิ่มภาระต้นทุนมหาศาลแล้ว ยังทำให้กระทบชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งการบังคับใช้ก็เป็นไปอย่างไม่เสมอภาค เกิดสังคมสองมาตรฐานเลือกปฏิบัติ และสร้างเงื่อนไขที่ส่งเสริมการทุจริตคอร์รัปชันไปทั่วทุกหัวระแหง และเมื่อมีกฎหมายจำนวนมาก ก็ต้องสร้างต้องขยายภาครัฐที่ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีข้าราชการอยู่ในระบบมากกว่าสองล้านสองแสนคน
จึงเป็นที่มาของการที่ประเทศไทยต้องนำแนวทางของ การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Guillotine) เพื่อทบทวน ปรับแก้โครงสร้างกฎหมาย ที่ล้าสมัย ที่ย้อนแย้งกัน ให้ทันต่อยุคสมัย โดยทำ 4 ขั้นตอน การปรับกฎหมายในเรื่องที่ล้าสมัย สร้างความไม่สะดวก สร้างภาระต่อการปฏิบัติ ให้ยกเลิกการใช้งาน กฎหมายที่มีลักษณะคล้ายกันรวมให้อยู่ในฉบับเดียวกัน ส่วนกฎหมายที่ดีอยู่แล้วดำเนินการต่อ และกฎหมายที่ยังไม่มี แต่จำเป็นต้องใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันก็ให้เขียนขึ้นมาใหม่ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ที่ผ่านมามีการทดลองปรับแก้กฎหมายในโครงการทบทวนการอนุญาตของทางราชการ อยู่ภายใต้คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่เป็นอุปสรรค ต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน ในคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน (Thailand’s Simple and Smart License) โดยคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย โดยมีสก๊อต เจคอบ (Scott Jacobs) ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการด้าน Regulatory Reform ของ OECD และปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Jacobs, Cordova & Associates มีประสบการณ์ในการวางระบบการปฏิรูปกฎหมายในหลายประเทศทั่วโลก เป็นที่ปรึกษาโครงการ
ซึ่งคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวได้มีการทดลองนำกฎหมายที่ศึกษาทั้งสิ้นมี 1,094 กระบวนงาน จาก 16 กระทรวง 47 กรม โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า checklist โดยจะทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกระบวนงานใน 2 มิติ คือ 1. ด้านนิติศาสตร์: การทบทวนความจำเป็นทางกฎหมาย 2. ด้านเศรษฐศาสตร์: การทบทวนความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ ผลที่ได้สามารถประหยัดต้นทุนภาค ประชาชนและภาคธุรกิจได้ ถึง 133,816 ล้านบาทต่อ ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของ GDP
การปฏิรูปกฎหมาย นอกจากจะช่วยให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจประหยัดต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังจะช่วยยกระดับการทำงานที่เกี่ยวกับการอนุมัติ - อนุญาต โดยการลดขั้นตอน ลดเอกสาร เพิ่มความรวดเร็ว ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อประสานงาน นักธุรกิจสามารถการดำเนินธุรกิจราบรื่น ไม่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรค รวมทั้งไม่มีช่องช่องโหว่ หรือโอกาสที่เจ้าหน้าที่จะพบปะกับนักธุรกิจ เพื่อเจรจาต่อรองเรียกรับสินบนด้วย
นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยตรงได้ให้มุมมองไว้ว่า “กฎหมายต้องมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา ตามสังคมเปลี่ยนไป กฎหมายหนึ่งอาจจะเหมาะในยุคหนึ่ง เมื่อมาอีกยุคหนึ่งต้องยกเลิกกฎหมายเดิม เนื่องจากไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับความเป็นสากล อาจส่งผลต่อการประเมินค่าดัชนี CPI ประเทศไทย”
เรื่องการปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Guillotine) นี้อาจฟังดูเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่มากสำหรับประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปกฎหมายและระบบข้าราชการทั้งหมด หากทำได้สำเร็จ จะเป็นการปลดล็อกประเทศ และลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ฟังทางนี้! ลืมหรือเปล่า 4.7 หมื่นล้าน รวยเพราะอะไร
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ *คุณ(มึง) รวยจริง" โดยระบุว่า ระยะหลังคุณทักษิณ ชินวัตร ปราศรัยดุเดือด ทั้งหมา ทั้งควาย พรั่งพรูออกมาจากปากคุณทักษิณเป็นฝูงๆ
จับตา! สรรพากร-สตง. สอบที่มาทรัพย์สิน 'นายกฯอิ๊งค์' รวยหมื่นล้าน
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นายกฯอุ๊งอิ๊ง ผวาที่มาทรัพย์สิน 1.3 หมื่นล้าน อาจถูกตรวจสอบที่มาของรายได้ และภาระภาษี 30%
นายกฯรวยหมื่นล้าน อิ๊งค์แจงบัญชีทรัพย์สิน ใช้จ่ายส่วนตัวปีละ45ล.
“ป.ป.ช.” เปิดทรัพย์สิน “นายกฯ อิ๊งค์” รวยมโหฬารกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท แบกหนี้กู้เงินญาติพี่น้อง 4.4 พันล้าน สะสมนาฬิกา 75 เรือน มูลค่า 162 ล้านบาท มีกระเป๋า 217 ใบ
12ปีฟัน3สส.เสียบบัตรแทนกัน
เปิดปีใหม่มาวันแรก ป.ป.ช.ดุรับขวัญปีมะเส็ง ฟันดะ 3 อดีต สส.เสียบบัตรแทนกัน
ป.ป.ช. ฟันอาญา-จริยธรรมร้ายแรง 'ณัฏฐ์ชนน' รับเงินค่ารักษาพยาบาล แลกแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดคดีสำคัญกรณีเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
โธ่ถัง! ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด 3 อดีต สส. เสียบบัตรแทนกัน เหตุเกิดตั้งแต่ปี 56
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดคดี