กรมส่งเสริมการเกษตรชูแปลงใหญ่ทุเรียนดงขี้เหล็กทำเกษตรประณีต และปลอดภัยยอดขายทะลุ 1 ล้าน

กรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลขี้เหล็ก จังหวัดปราจีนบุรี ทำเกษตรประณีตได้คุณภาพ จนได้มาตรฐานGAP และขึ้นทะเบียนสินค้า GI เป็นทุเรียนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น พร้อมลุยกุลยุทธ์การขายทั้งหน้าสวน ริมถนน และออนไลน์ บางรายกวาดรายได้กว่า 1 ล้านบาท

นายวินัย ลักษณะวิลาศ เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ลงพื้นที่แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8  ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี หรือสวนมนัส ฮวดจึง เพื่อเยี่ยมชมกระบวนการผลิตทุเรียนคุณภาพ และประณีต จนสมาชิกส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) หรือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยสวนมนัส ฮวดจึง เป็นสวนผลไม้ที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ปลูกผลไม้ผสมผสานหลากหลายชนิดตามฤดูกาล เช่น มังคุด เงาะ ลองกอง กระท้อน ส้มโอ และ ทุเรียน โดยทุเรียนพันธุ์หมอนทอง และสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงให้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาด

เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า แปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีสมาชิก 50 คน ในทุกวันที่ 20 ของทุกเดือน จะมีการประชุมกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสวนผลไม้ของแต่ละคน โดยเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ จะเข้ามามีส่วนให้ความรู้  และแจ้งข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาและการยกระดับผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาคุณภาพ การหาตลาดรองรับ และการบริหารจัดการ ตามแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแปลงใหญ่ของกรมส่งเสริมการเกษตร

นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้สมาชิกแปลงใหญ่เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ หรือการทำเกษตรปลอดภัย จนสมาชิกได้มาตรฐาน GAP สามารถเพิ่มมูลค่าให้สินค้าหรืออผลไม้ในสวนได้ โดยการทำเกษตรประณีต ได้เน้นให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเอง พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้สารชีวภัณฑ์ในการกำจัดแมลงหรือศัตรูพืช รวมไปถึงรู้จักการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยพัฒนาสวนเพื่อลดการจ้างแรงงานคน เช่น การพัฒนาเป็นแปลงทุเรียนอัจฉริยะ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี อยู่ระหว่างออกแบบร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ หากอากาศร้อนหรือแห้งจนเกินไป ระบบให้น้ำจะพ่นละลองน้ำอัตโนมัติ หากออกแบบสำเร็จ จะนำมาพัฒนาแปลงใหญ่ทุเรียน เพื่อให้สวนทุเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตลอดทั้งปี

“ที่ผ่านมามีการสนับสนุนงบประมาณโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดจำนวน 3 ล้านบาท  เพื่อให้แปลงใหญ่พัฒนาระบบน้ำ โดยมีการวางระบบท่อกระจายไปยังแปลงทุเรียนและแปลงผลไม้ต่าง ๆ เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำปราจีนบุรี มาหล่อเลี้ยงผลไม้ในสวน โดยสมาชิกในกลุ่มต่างพอใจ เนื่องจากที่ผ่านมาประสบปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอ หรือระบบการส่งน้ำไม่ทั่วถึง ทำให้กระทบกับการผลิตผลไม้โดยรวม แต่เมื่อทางราชการสนับสนุนระบบน้ำ สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี”นายวินัย กล่าว

ด้านนายมนัส ฮวดจึง เกษตรกรบ้านหนองจวง และประธานแปลงใหญ่ทุเรียน หมู่ที่ 8 ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า พื้นที่ปลูกทุเรียนของตัวเองมี 20 ไร่ จำนวน 400 ต้น ส่วนของสมาชิกมีกว่า 400 ไร่ และได้จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ทำให้สมาชิกทุกคนมีส่วนในการขับเคลื่อนงานแปลงใหญ่ทั้งหมด โดยมีการแบ่งงานกันระหว่างสมาชิกด้วยกันอย่างชัดเจน พร้อมประสานไปยังส่วนราชการอื่น ๆ ให้การช่วยเหลือ โดยเฉพาะสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี และเกษตรอำเภอเมืองปราจีนบุรี จะมีการพูดคุย และจัดงานร่วมกันมาตลอด ล่าสุดจะมีการจัดงานเกษตรปราจีนบุรี ระหว่างวันที่  30 พ.ค.-11 มิ.ย. 2566 นี้  เป็นการจัดงานปีที่ 57 หลังจากงดการจัดงานไปจำนวน 2 ปี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยภายในงานจะมีการประกวดคุณภาพผลไม้ของปราจีนบุรี และจำหน่ายผลไม้ต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนได้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น

เกษตรกรมีการดูแลสวนแบบประณีต เช่น การบำรุงต้น หรือ การให้ปุ๋ย ก็เป็นปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อทุเรียนออกดอก ก็ใช้สารชีวภัณฑ์ หรือ น้ำหมักในการไล่แมลงศัตรูพืชต่างๆ และเมื่อทุเรียนติดลูก ก็ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นห่อหุ้ม ป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เข้าทำลาย โดยกระบวนการผลิตทั้งหมดจะเน้นความปลอดภัยและให้ความสำคัญกับคุณภาพเป็นหลัก” จนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าสมาชิกต่างได้มาตรฐาน GAP และขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indication) นายมนัส กล่าวว่า ทุเรียนปราจีนบุรี ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้า GI   มีจำนวน 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าคือ ก้านยาว หมอนทอง ชะนี และกระดุมทอง และทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย กบชายน้ำ ชมพูศรี และกำปั่น เนื่องจากมีคุณลักษณะเฉพาะ มีรสชาติหอม หวาน มัน  อร่อย เนื้อทุเรียน มีสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย เปลือกผลบาง ผิวเปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม และหนามถี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของทุเรียนปราจีนบุรี โดยมีการปลูกกระจายในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี กบินทร์บุรี ประจันตคาม ศรีมหาโพธิ และนาดี ที่มีสภาพดินเหมาะสม โดยดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน จึงทำให้มีรสชาติอร่อยเป็นเอกลักษณ์

ส่วนช่องทางการตลาด และการจำหน่าย นายมนัส กล่าวว่า การขายมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการขายแบบเหมาต้น  หรือการขายปลีกริมถนน และการขายออนไลน์ โดยของตัวเองจะขายแบบมีลูกค้าประจำมาซื้อแบบเหมาต้น โดยจะส่งรายงานความเจริญเติบโตของผลทุเรียนให้ลูกค้าทุกวันผ่านแอบพลิเคชั่นไลน์ มีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาท ส่วนสมาชิกรายอื่นจะขายปลีกให้นักท่องเที่ยวที่หน้าสวนของตนเอง ในราคากิโลกรัมละ 100-300 บาท ส่วนที่เหลือก็เลือกจะขายทางออนไลน์ โดยมีการรับประกันคุณภาพให้ลูกค้าทุกลูก เพื่อให้ลูกค้าพอใจและกลับมาซื้อทุเรียนปราจีนบุรีอีกครั้ง 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6

สศท.8 เผย ปีนี้ไม้ผลภาคใต้ 4 ชนิด คาดผลผลิตรวม 6.9 แสนตันออกสู่ตลาดแล้วร้อยละ77

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคใต้ ปี 2567

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด

มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม

มกอช. ขานรับข้อสั่งการ “รมว.เกษตรฯ” ลุยสวนทุเรียน-โรงรวบรวมผลทุเรียนชุมพร สร้างการรับรู้ปฏิบัติตาม มกษ. 9070-2566 ผลิตทุเรียนคุณภาพเพื่อการส่งออก ขณะที่ผู้ประกอบการ ตอบรับพร้อมปรับเข้าสู่หลักเกณฑ์

วันนี้ (16 ส.ค.67) นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนทุเรียน GAP โรงรวบรวมผลทุเรียนและโรงคัดบรรจุ

ฮือฮา! ทุเรียนลูกละ 1 บาท แห่รับบัตรคิวแน่นตลาด

ตลาดมหาชัยไนท์ต้นสน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ได้จัดมหกรรมทุเรียน ระหว่างวันที่ 4 - 7 กรกฎาคม 2567 สร้างความฮือฮาให้กับผู้ที่มาจับจ่ายใช้สอยที่ตลาด