รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ห่วงลูกจ้างโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการนับร้อยคน ถูกลดค่าจ้างและไม่จ่ายค่าจ้างตั้งแต่ปี 2563 สั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีลูกจ้างโรงงานสิ่งทอในจังหวัดสมุทรปราการนับร้อย รวมตัวกันหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อขอให้เร่งรัดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามคำร้อง (คร.7) รวมทั้งตรวจสอบทรัพย์สินนายจ้าง ผลประกอบการ และภาษีอากรของนายจ้างนั้น ตนจึงได้สั่งการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงทันที เบื้องต้นได้รับรายงานจากพนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ว่า โรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการสิ่งทอ มีลูกจ้างรวม 225 คน โดยการลดวันทำงานและลดค่าจ้างลูกจ้างเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ นายจ้างมีประกาศขยายลดวันทำงานและลดค่าจ้างต่อเนื่องมาตลอด จนวันที่ 18 เมษายน 2566 โรงงานถูกตัดระบบการจ่ายไฟฟ้าเนื่องจากนายจ้างค้างชำระ หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้เข้าทำงานให้กับนายจ้างอีกเลย แต่นายจ้างยังไม่เลิกจ้างและทยอยจ่ายค่าจ้างบางส่วนให้แก่ลูกจ้าง โดยตั้งแต่วันที่ 3 – 25 พฤษภาคม 2566 มีลูกจ้างรวม 115 คน ได้ยื่นคำร้อง (คร.7) ต่อพนักงานตรวจแรงงานเรียกค่าจ้างค้างจ่ายและเงินสะสมที่หักจากค่าจ้าง และค่าชดเชยกรณีเกษียณ (2 คน) ขณะอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานและสอบข้อเท็จเพิ่มเติม วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ผู้นำแรงงานได้นำลูกจ้างประมาณ 88 คน ไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการเพื่อให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ รวมถึงได้มีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 353/2566 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 สั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 – เมษายน 2566 เป็นเงิน 18,125,677.58 บาท เงินสะสมหักจากค่าจ้าง เป็นเงิน 857,977 บาท และค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุ (2 คน) เป็นเงิน 354,433.33 บาท ให้แก่ลูกจ้าง จำนวน 109 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 19,338,087.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนลูกจ้างอีก 6 คน ได้ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 อยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานและจะดำเนินการออกคำสั่งต่อไป อย่างไรก็ตาม ผมได้กำชับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเตรียมช่วยเหลือลูกจ้างกลุ่มดังกล่าว โดยการให้คำปรึกษา แนะนำ ข้อกฎหมายและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมายประกันสังคม ตำแหน่งงานว่างรองรับกรณีลูกจ้างมีความประสงค์จะหางานใหม่ หรือฝึกการเพิ่มทักษะด้านอาชีพต่อไป
ด้านนายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากพนักงานตรวจแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายสิทธิประโยชน์ข้างต้นแล้ว เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามคำสั่งหากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ก็จะดำเนินการให้ลูกจ้างยื่นขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นต่อไป ทั้งนี้ หากลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวไม่สะดวกมายื่นคำร้องที่ สสค.สมุทรปราการ สามารถยื่นคำร้อง คร.7 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 3 หรือ 1546
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่