สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว (คิด for คิดส์) โดยความร่วมมือระหว่างสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กับศูนย์ความรู้นโยบายสาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง (101Public Policy Think Tank:101 PUB) จัดเสวนาสาธารณะ “เด็กและครอบครัวไทยในสองทางแพร่ง : รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัวประจำปี 2566” เผยแพร่รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัวประจำปี 2566 พร้อมหารือแนวนโยบายแก้ปัญหา-เติมฝันเด็กและครอบครัวภายใต้รัฐบาลใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่เด็กและครอบครัวไทยเผชิญกับความพลิกผันของทั้งสังคมโลกและสังคมไทย 2 เรื่องใหญ่ หรือ “สองทางแพร่ง” คือสถานการณ์ "หลังโควิด" และ "หลังเลือกตั้ง" ที่เพิ่งผ่านพ้นไป สสส.สานพลังภาคีเครือข่ายจัดเสวนาวันนี้ เพื่อชวนคิดและหาคำตอบว่า รัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายเด็ก เยาวชน และครอบครัวอย่างไร จึงจะสนับสนุนคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของเยาวชนและครอบครัวได้ดีที่สุด ผ่านมุมมองของผู้แทนเยาวชน นักการเมือง และนักวิชาการ พร้อมสำรวจความคิดเห็นเยาวชน 20,000 คน ที่จะทำให้เราเข้าใจตัวตน-ความคิดของ "เด็กสมัยนี้" อย่างแท้จริง
สสส.คาดหวังว่าการสานพลังจัดเวทีนี้ของทุกภาคส่วน จะทำให้ได้ข้อเสนอนโยบายที่เอื้อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นระบบ กลไก และมาตรการสนับสนุนทรัพยากรให้ครอบครัว มีขีดความสามารถในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก สนับสนุนโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้ใกล้บ้าน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาเชิงนโยบายในระดับประเทศ เพราะการลงทุนกับเด็กเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เหมือนการสร้างฮาร์ดแวร์ให้พร้อมใส่ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
สสส.ทำงานสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยทำงาน เด็กและเยาวชน ทั่วโลกลงความเห็นว่าการลงทุนฮาร์ดแวร์เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ไลฟ์สไตล์ถูกสร้างเริ่มต้นจากวัยเด็ก ตลอดเวลา 20 ปี สสส.ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้งๆ ที่พบว่ายังมีข้อจำกัด การสร้างโรงเรียนศูนย์นำร่องให้เป็นต้นแบบ กลไกของรัฐมีข้อจำกัด การเรียนรู้ต้องปฏิรูปการศึกษาเรียนรู้ เราได้ใช้ไตรพลัง วิชาการ นโยบาย สังคมเน้นนโยบายจากพรรคการเมือง ใช้นโยบายบายพาสไปถึงเด็กโดยตรง เป็นโจทย์ที่จะผลักดัน digital platform ถึงผู้บริหารโรงเรียนโดยตรง ด้วยวิถีการเปลี่ยนแปลง ผู้กำหนดนโยบายเปิดกว้างเพื่อจะเข้าไปได้อย่างทั่วถึง ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เงินอุดหนุนสำหรับเด็กแรกเกิดยังมีช่องว่างที่บางครอบครัวยังเข้าไม่ถึง การลงทุนในเด็กได้ผลสรุปชัดเจนแล้วว่าให้ผลตอบแทนสูงสุด เรื่องสวัสดิการมีส่วนสัมพันธ์กับพ่อแม่เด็ก เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิด 600 บาทเป็นโครงการนำร่อง เป็นผลงานวิจัยของ สสส.และ TDRI เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ลงทุนไปนั้นพ่อแม่จะลงทุนให้เด็กอย่างเต็มที่ การ Focus สวัสดิการเด็กเล็กต้องทำอย่างต่อเนื่อง ปล่อยช้าก็จะสายจนเกินไป โดยเฉพาะการสร้างแหล่งเรียนรู้ใกล้บ้านเพื่อให้เด็กเข้าถึงได้” ดร.สุปรีดาให้ข้อคิดปิดท้าย
นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 2 เปิดเผยว่า ขณะนี้พายุพัดเราเข้ามาให้เผชิญกับปัญหาที่เด็กเกิดน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ในปี 2565 มีอัตราเด็กเกิดใหม่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์เพียง 502,000 คน ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 595,965 คน มีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มกว่า 800,000 คน เมื่อ 20 ปีก่อนมีเด็กเกิดใหม่เกินกว่า 1 ล้านคน แต่ปีที่ผ่านมาเด็กเกิดใหม่ลดลงฮวบฮาบ เด็กและเยาวชนในปัจจุบันต้องเผชิญกับการแข่งขันและความท้าทายต่างๆ มากขึ้น จากปัญหาความเหลื่อมล้ำสุดโต่งที่เป็นปัญหารากเหง้าของสังคมเหมือนภูเขาน้ำแข็ง ที่ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะเรื่องรายได้ หากรวมถึงโอกาส อำนาจ สิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีเด็ก 40% ที่พ่อแม่ต้องทิ้งให้อยู่กับปู่ยาตายาย ทิ้งภาคการเกษตรไปหารายได้ในภาคอุตสาหกรรม เชื่อมโยงเป็นปัญหาครอบครัวและสังคม
ปัญหาเด็กรวยสุดมีปัญหาอย่างหนึ่ง เด็กยากจนสุดก็มีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ยาเสพติดไม่ได้เลือกคนรวยหรือคนจน หมอยังติดยาเสพติด การแก้ไขปัญหาเด็กจึงต้องอาศัยหลายฝ่ายโดยยึดหลัก 3 ข้อ คือ 1.วิธีการเชิงระบบ (System Approach) 2.ทำต่อเนื่อง 3.ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สสส.กล่าวว่า งานนี้เป็นงานประจำปี แสดงผลสำรวจเด็กและเยาวชนต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติที่แตกต่างกัน ระบบสาธารณสุข สวัสดิการสังคม เงินอุดหนุนเด็กเล็กเดือนละ 600 บาท ผลจากงานวิจัยเงินจำนวนนี้ไม่เพียงพอ ควรเพิ่มเป็นเดือนละ 3,000 บาท เพราะทุกวันนี้เด็กเล็กมีจำนวนน้อยลงเนื่องจากเด็กเกิดใหม่น้อยลงมาก เด็กกลุ่มนี้จะต้องรับมือกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง เป็นแรงงานคุณภาพ ทุกวันนี้จากการสำรวจครอบครัวเด็กเล็กมากกว่า 70% อยู่ในสภาพง่อนแง่น จนสุดๆ วิกฤติจากรายได้ไม่พอกับรายจ่าย รายได้ไม่ถึง 1 หมื่นบาท พอกินแต่ไม่มีคุณภาพชีวิต เด็กกลุ่มนี้ขาดโอกาสที่ดีในสังคม ขณะนี้มีเด็กตกหล่นไม่ได้รับเงิน 600 บาท/เดือนเพราะครอบครัวเข้าไม่ถึงแหล่งเงินสวัสดิการ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องรีบผลักดัน
แหล่งเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นห้องสมุด มองจากฐานรากในชุมชน สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ในชุมชน มีพื้นที่อยู่แล้วก็ต้องให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ศูนย์กิจกรรมเยาวชนได้เงินอุดหนุนให้เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม เป็นการสร้างงานใหม่ให้กับคนว่างงาน ทุกวันนี้สำนัก 4 สสส.ให้การสนับสนุนทำเป็นจุดๆ เพื่อเป็นต้นแบบ โครงการอาสาคืนถิ่นหรือสนับสนุนให้คนหนุ่มสาวที่มีบ้านและที่ดินของตัวเอง 100-200 ตารางวา ทำเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนพื้นที่เรียนรู้ ยกระดับการสร้างอาชีพ เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เป็นการบ่มเพาะธุรกิจเพื่อสังคมด้วยการฝังตัวอยู่ในชุมชน
อนึ่ง ข้อมูลที่น่าสนใจเด็กและเยาวชนต้องเผชิญความยากจนเหลื่อมล้ำรุนแรง กว่า 70% อยู่ในครัวเรือนรายได้ต่ำ (รายได้ต่อหัว 1 แสนบาท/ปี) กลุ่มครัวเรือน จนสุดรายได้ต่อหัว 2,577บาท/เดือน มีจำนวนเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 21 ปี จำนวน 2,896,048 คน หรือ 20.7% กลุ่มครัวเรือนรวยสุด 38,699 บาท/เดือน มีจำนวนเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 21 ปี จำนวน 442,45 8คน หรือ 3.2% เด็กและวัยรุ่นไทยมีปัญหาสุขภาพใจแต่ไร้คนดูแล 17 จังหวัดยังไม่มีจิตแพทย์เด็กประจำอยู่ มีเพียงแห่งเดียวและมีจิตแพทย์เด็กเพียงคนเดียว อาทิ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร ฯลฯ จิตแพทย์เด็กจะกระจุกตัวแห่งละ 10 คนอยู่ในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี
เด็กและเยาวชนไทยเปราะบางต่อภัยคุกคามออนไลน์ ไทยรั้งท้ายประเทศที่เด็กและเยาวชนปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์จากการสำรวจใน 30 ประเทศ อันดับที่ 26 เม็กซิโก 27 โอมาน 28 เวียดนาม 29 ไทย 30อุรุกวัย 9% ของเด็กและเยาวชนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตถูกแสวงประโยชน์และละเมิดทางเพศออนไลน์ ผู้กระทำส่วนใหญ่คือเพื่อนหรือคนรู้จัก 47% กล่าวว่าไม่รู้จะขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหน เด็กเพียง 1-3% รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตำรวจ.
***
นายวรดร เลิศรัตน์ และ นายสรัช สินธุประมา นักวิจัยและบริหารการวิจัย ศูนย์ความรู้นโยบายเด็กและครอบครัว
รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัวประจำปี 2023ของคิด for คิดส์มีว่า เด็กและครอบครัวไทยกำลังเผชิญ 2 ทางแพร่ง ได้แก่ ทางแพร่งหลังโควิด และหลังเลือกตั้ง มี 6 สถานการณ์สำคัญ
1.เด็กและเยาวชนเติบโตในครอบครัวเปราะบางซ้ำซ้อนและยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤต รายได้ครัวเรือนหดหาย เป็นหนี้มากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีเด็กฟื้นตัวยากกว่าจนกระทบกับคุณภาพชีวิตและการพัฒนา
2.เยาวชนมีงานที่ดีและสอดคล้องกับความฝันได้ยากขึ้น 15% ไม่มีงาน ไม่ได้รับการจ้างงาน ไม่ได้เรียน หรือฝึกทักษะ ส่วนหนึ่งเพราะหางานที่ดีได้ยาก และต้องดูแลที่บ้านเป็นหลัก
3.เด็กและเยาวชนไม่ได้รับการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยและพัฒนาทักษะจำเป็นจากระบบการศึกษา การปิดสถานศึกษาช่วงโควิดทำให้เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย
4.เด็กและเยาวชนเผชิญปัญหาเครียดและซึมเศร้า แต่เข้าถึงบริการสุขภาพจิตได้ไม่ทั่วถึง บริการดูแลสุขภาพจิตเหลื่อมล้ำสูง กระจุกในเมืองใหญ่
5.เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อความรุนแรงจำนวนมากขึ้น ในรูปแบบซ่อนเร้นยิ่งขึ้น ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา และเปราะบางต่อภัยคุกคามออนไลน์มากขึ้น
6.เด็กและเยาวชนฝันถึงสังคมใหม่ สังคมที่คุ้มครองเสรีภาพทางความคิด ทลายระบบอุปถัมภ์-เส้นสาย แก้ทุจริต ปฏิรูปเศรษฐกิจให้ทุกคนกินดีอยู่ดี มีโอกาสเสมอกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน
‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ
จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง
รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น