นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดงานแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 29 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พ.ค 66 มีพิธีเปิดและเริ่มการแข่งขันแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ โดยได้รับรายงานจากนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานว่า การแข่งขันฯเป็นไปอย่างราบรื่น บรรยากาศการแข่งขันในวันที่ 2 นั้น บางสาขาแข่งขันเสร็จสิ้นและคณะกรรมการเริ่มรวบรวมคะแนน ซึ่งแต่ละสนามได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ประจำสนามแข่งขันว่ามีกองเชียร์และประชาชนร่วมให้กำลังใจน้องๆเยาวชนรวมกว่า 3,000 คน รวมถึงการรับชมไลฟ์สดผ่านเพจ Facebook ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานด้วย ถือได้ว่าการแข่งขันในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วประเทศเป็นอย่างมาก และจะมีการประกาศผลการแข่งขันและจัดพิธีปิดวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 พร้อมมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศ
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันในครั้งนี้มีทั้งหมด 5 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 25 สาขา และสาขาสาธิต จํานวน 1 สาขา รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 สาขา โดยแยกเป็น 6 สนามแข่งขันและเริ่มแข่งขันไปแล้วหลายสาขา อาทิ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดงานแข่งขันในสาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สนับสนุนบุคลากร สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการจัดงาน มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน 7 ทีม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก ( 2 ทีม) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ศูนย์การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและนวัตกรรมหุ่นยนต์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง สนามสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการแรงงาน แข่งขันในสาขาการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 11 คน จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคถลาง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ SBAC (สะพานใหม่) การแข่งขันจะมี 4 Module คือ Module A : Food and Beverages Service Module B : Special Task Module : C : Bar Service และ Module D : Coffee Service สำหรับสาขานี้ประเทศไทยเคยส่งเยาวชนเข้าแข่งขันในเวทีการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46 ณ เมืองลูเซิร์น สมาพันธรัฐสวิส และเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมมาได้
นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อไปว่า การแข่งขันในครั้งนี้มีทั้งหมด 5 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 25 สาขา และสาขาสาธิต จํานวน 1 สาขา รวมทั้งสิ้น จำนวน 26 สาขา โดยแยกเป็น 6 สนามแข่งขันและเริ่มแข่งขันไปแล้วหลายสาขา อาทิ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ จัดงานแข่งขันในสาขาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ประเภททีม) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สนับสนุนบุคลากร สถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการจัดงาน มีผู้เข้าแข่งขัน จำนวน 7 ทีม ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก ( 2 ทีม) วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี ศูนย์การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและนวัตกรรมหุ่นยนต์ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง สนามสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 13 กรุงเทพมหานคร วิทยาลัยการแรงงาน แข่งขันในสาขาการบริการอาหารและเครื่องดื่ม มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 11 คน จากมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกระบี่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ วิทยาลัยเทคนิคถลาง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ SBAC (สะพานใหม่) การแข่งขันจะมี 4 Module คือ Module A : Food and Beverages Service Module B : Special Task Module : C : Bar Service และ Module D : Coffee Service สำหรับสาขานี้ประเทศไทยเคยส่งเยาวชนเข้าแข่งขันในเวทีการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46 ณ เมืองลูเซิร์น สมาพันธรัฐสวิส และเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลเหรียญฝีมือยอดเยี่ยมมาได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขาธิการ สปส. มารศรี ลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในโครงการ สปส. มอบสุข
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ในโครงการ
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน