กรมชลฯ เดินหน้าปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง หวังแก้ปัญหาอุทกภัย

วันนี้ (23 พฤษภาคม 2566) นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายยงยส เนียมทรัพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายมานพ แจ่มมี ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ นายวิรวัฒน์ ผสมทรัพย์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ และผู้เกี่ยวข้อง นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานสำรวจ ออกแบบ โครงการปรับปรุงระบบชลประทาน พื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ณ ห้องประชุมฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 (ประตูระบายน้ำพระธรรมราชา)โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ จังหวัดปทุมธานี

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า พื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เมื่อเกิดฝนตกหนักมักจะเกิดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เป็นประจำเกือบทุกปี ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนและทุกภาคส่วนเป็นอย่างมาก และจากเหตุการณ์อุทกภัยปี 2554 ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง กรมชลประทานจึงได้ดำเนินโครงการปรับปรุงระบบชลประทานพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ซึ่งเป็น 1 ใน 9 แผนงานของแผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อปี 2560 โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาทบทวนความเหมาะสมแล้วเสร็จในปี 2560 ลักษณะโครงการเป็นการปรับปรุงคลองและอาคารชลประทานในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่างตั้งแต่ใต้แม่น้ำป่าสักบริเวณเขื่อนพระรามหก ผ่านคลองระพีพัฒน์ จนถึงชายทะเลอ่าวไทย ด้วยการปรับปรุงโครงข่ายคลองชลประทานเดิม จำนวน 24 คลอง ความยาวรวม 505.18 กม. รวมถึงก่อสร้าง/ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ 21 แห่ง

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2566 ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทั้งโครงการฯ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้จากเดิม 210 เป็น 400 ลบ.ม./วินาที โดยระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา 100 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกง 156 ลบ.ม./วินาที และระบายน้ำสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทย 144 ลบ.ม./วินาที ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา

กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน

'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท