นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพอากาศในประเทศไทยมีสภาพร้อนแล้งและอบอ้าวมากขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการทำการเกษตรในทุกภูมิภาค เนื่องจากพืชทุกชนิดต้องการน้ำและธาตุอาหารในการเจริญเติบโต ดังนั้นเกษตรกรรุ่นใหม่หลายคนจึงนิยมใช้วิธีรักษาความชื้นในหน้าดิน เพื่อไม่ให้หน้าดินมีความแห้งจนเกินไป และหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมมากคือการคลุมดิน หรือ ห่มดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ในการทำการเกษตร เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ ทางมะพร้าว หรือทางใบปาล์ม เพื่อให้หน้าดินไม่แห้ง และรักษาความชื้นได้นาน จนเกิดการย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุ
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า หนึ่งในตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ทางใบปาล์มคลุมดินในพื้นที่ภาคใต้ คือนายโสฬส เดชมณี เกษตรกรเจ้าของสวนปาล์ม ในตำบลศรีวิชัย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้ใช้ทางใบปาล์มที่ถูกตัดในสวนมาใช้คลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน จนเกิดการย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน มีบทบาทสำคัญต่อการหมุนเวียนธาตุอาหาร และจะค่อย ๆ ปลดปล่อยให้กับพืช ทำให้พืชใช้ธาตุอาหารได้ในระยะยาว ช่วยให้ดินดูดซับธาตุอาหารพืชได้มากขึ้น ไม่ถูกชะล้าง และลดการสูญเสียของธาตุอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
“อยากให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการคลุมดิน ซึ่งสามารถใช้วัสดุจากการทำเกษตรได้หลายอย่าง เพราะนอกจากจะรักษาความชื้นในดินให้ได้นานแล้ว ยังป้องกันการเกิดวัชพืชได้อีกด้วย เนื่องจากเมื่อวัชพืชไม่ได้รับแสง ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นหากเกษตรกรใช้วิธีคลุมหน้าดินจากวัสดุเหลือใช้ในการทำการเกษตร ก็สามารถลดค่าปุ๋ย และค่ากำจัดวัชพืชได้ไปในตัว โดยไม่ได้ลงทุนเพิ่ม แค่รู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมภายในสวน หรือแปลงเกษตร ก็สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี”นายรพีทัศน์ กล่าว
ด้านนายโสฬส เดชมณี เจ้าของสวนปาล์ม 44 ไร่ ในตำบลศรีวิชัย กล่าวถึงรายละเอียดในการใช้ทางใบปาล์มคลุมดินว่า จะตัดทางใบปาล์มรอบใหญ่ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้วิธีวางทางใบแบบเต็มพื้นที่ในบริเวณพื้นที่ราบ และวางทางใบขวางระหว่างแถวปาล์มบริเวณที่ลาดชัน เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินโดยจะนำโคนทางใบกองรวมกันไว้ระหว่างแถวต้นปาล์ม แล้วใช้เฉพาะส่วนที่เป็นใบปาล์มปูให้เต็มพื้นที่ หรือปรับเปลี่ยนวิธีการวางทางใบปาล์มได้ตามสภาพพื้นที่และความเหมาะสมในสวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศพก. - แปลงใหญ่ มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับรายได้ พัฒนาศักยภาพเกษตรกร
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ครั้งที่ 4/2567 ณ
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด
มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท
กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
โฆษก กษ.ยันจัดสรรน้ำพร้อมรับมือโค้งสุดท้ายฤดูแล้ง!
โฆษกเกษตรฯ เผยโค้งสุดท้ายฤดูแล้ง กรมชลฯ จัดสรรน้ำเตรียมพร้อมรับมือฝน ช่วยเหลือประชาชน