ThaiHealth Academy ก้าวสู่ปีที่ 3 ปั้นนักสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ

ThaiHealth Academy ก้าวสู่ปีที่ 3 ทุกองค์กรคือกลไกสำคัญของสังคม ชวนกันสร้างเมล็ดพันธุ์ดีๆ ให้สังคมไทยร่วมกัน สื่อสารสุข จัดเวที “สร้าง ทำ สุข” เสวนาชูประเด็นขับเคลื่อนสังคม 3 มิติ  สื่อ-สังคมสูงวัย-ออกแบบเมือง พัฒนาหลักสูตรปั้นนักสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ หลักสูตรการสื่อสาร เพื่อสร้างองค์กรแห่งความสุข หลักสูตรจับประเด็นให้เป็น TOOLS พัฒนาให้เป็นเครื่องมือมองเห็นโอกาส สร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ประสบความสำเร็จ กล้าทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

จากเวทีเสวนา “สร้าง ทำ สุข” เมื่อเร็วๆ นี้ที่ สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ ศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวเปิดงานก้าวสู่ปีที่ 3 ThaiHealth Academy ว่า

“สื่อมีพลังให้เกิดการพัฒนาด้านบวก การพัฒนาเทคโนโลยีก้าวข้ามได้ ด้วยการมองภาพรวมทั้งหมด เมื่อพูดถึงเรื่องสุขภาวะ การรู้เท่าทันสื่อเพื่ออะไร การเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดพื้นที่ใหม่ๆ ด้วย การสร้าง New Voice ให้มีอิทธิพล ทำให้เกิด Generation Gap สามารถใช้ Voice แสดงความรู้สึกได้ การรู้เท่าทันตัวเองในการตอบโจทย์สังคม การใช้สื่อสร้างความสุข จิตยกระดับ เข้าใจตัวเองและคนอื่นเกิดสุขภาวะในการใช้ชีวิตด้วย”

สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นความร่วมมือเพื่อหาทางออกใน 3 มิติของสังคม คือ 1.สื่อสร้างสุข สื่อที่ดีช่วยจุดประกาย สร้างแรงจูงใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่สาธารณะ 2.สังคมผู้สูงอายุในเมืองใหญ่ สะท้อนปัญหา การรับมือ พัฒนานโยบายของผู้สูงอายุในเขตเมือง 3.ออกแบบอาคารสาธารณะ สังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนหลากหลาย เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ ทำอย่างไรให้อาคารพื้นที่สาธารณะถูกออกแบบมาให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ ผู้เข้าร่วมจะได้แนวทางขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ องค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเกิดนวัตกรรมการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และสะท้อนการทำงานของ ThaiHealth Academy ด้านพัฒนาศักยภาพ ออกแบบหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาวะ

“ThaiHealth Academy มีเป้าหมายขยายโอกาสการเข้าถึงหลักสูตรให้ครบ 3 มิติ เช่น หลักสูตรการสื่อสารเพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม หลักสูตรยกระดับสุขภาวะอาคาร (Design for future Hospital) และองค์ความรู้อื่นๆ อีกกว่า 50 หลักสูตร โดยมีผู้เข้าเรียนกว่า 3,000 คน ทั้งแบบ Online และ Onsite เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีพ ภาคีเครือข่าย องค์กร หน่วยงานภาครัฐ สนใจ ติดต่อได้ที่ www.thaihealthacademy.com หรือโทร. 0-2171-8656” ศ.ดร.นพ.นันทวัช กล่าว

หลักสูตรการสื่อสารเพื่อสร้างองค์กรแห่งความสุข ในการสร้างผู้นำและฝ่ายบริหารที่มีเป้าหมาย สร้างความสุขให้เกิดเป็นพลังร่วมของการทำงานร่วมกันในองค์กร การสร้างความเข้าใจร่วมกันภายในองค์กรทั้ง 9 มิติ เรียนรู้  รู้จัก เข้าใจคนทำงาน วิธีออกแบบคอนเซปต์การสื่อสาร เพื่อสร้างพลังร่วมในการบริหารจัดการทีม กุญแจแต่ละดอกจะไขเปิดประตูได้ขึ้นอยู่กับคนถือกุญแจที่เป็นผู้นำองค์กร หลักสูตรจับประเด็นให้เป็นเครื่องมือ อธิบายว่าอะไรคือเครื่องมือที่จะเติมเต็มช่องว่างการขับเคลื่อนประเด็นที่ต้องการ

ดร.นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ข้อมูลว่า การเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเรื่องสำคัญ สังคมต้องมีทิศทาง การสร้างภาคีเครือข่ายเข้ามาทำงาน ยิ่งเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนเกษียณอายุเป็นเรื่องดี ปัญหาที่พบผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้ Mobile App ไม่เป็น เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้สังคมไร้เงินสด Cashless การซื้อ Lottery Online เพราะผู้สูงอายุยังต้องการเสี่ยงโชค กทม.มีเด็กรุ่นใหม่เป็นอาสาสมัครเทคโนโลยีเข้าไปสอนในชุมชนผู้สูงอายุ จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไปยังสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีการพัฒนาริมคลองผดุงกรุงเกษมเป็นพื้นที่ Open Space มีกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ ผู้สูงอายุวาดภาพสร้างรายได้ เล่นดนตรี ผลิตภัณฑ์ผู้สูงวัย

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท) เปิดเผยในฐานะคนทำงานสื่อสาธารณะ ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ชมเป็นอันดับแรก ผลิตงานทุกชิ้นต้องนำไปสู่การยกระดับทั้งบุคคลและสังคม มีข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ ไม่นำไปสู่การแบ่งแยก เนื้อหาต่างๆ มีความชัดเจนในด้านเชิดชูใจ ให้แรงบันดาลใจ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ไปจนถึงสร้างคุณธรรมในจิตใจ เป้าหมายของ ThaiPBS ที่ทำมาตลอด คือการสร้างประชาชนให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ตรงกับที่ สสส.ทำมาตลอด เพราะเชื่อว่าการเกิดพลเมืองตื่นรู้ จะเป็นพลังสำคัญในการเปลี่ยนสังคมอย่างสร้างสรรค์ ที่ไม่หลงเชื่อสื่อ และคนทำสื่อต้องเข้าใจบทบาทสื่อ มีเป้าหมายอยากสร้างสื่อคุณภาพต่อสังคมอย่างไร เหมือนพันธกิจของ ThaiPBS มุ่งมั่นเป็นสถาบันสื่อสาธารณะ ที่สร้างสรรค์สังคมคุณภาพ และคุณธรรม

ทุกวันนี้การแข่งขันบนสนามข่าวสูงขึ้น ยิ่งมีสื่อออนไลน์ สื่อกระแสหลักอยู่ในสมรภูมิที่มีการแข่งขันกันสูงมาก รวมถึงกระแส Streaming Global ต้องสร้างความน่าสนใจ สถานีไทยพีบีเอสมีข้อได้เปรียบไม่ต้องแข่งขันหาโฆษณาเอง ไม่ต้องของบประมาณจากภาครัฐ ได้ทำในสิ่งที่พึงต้องทำ จึงเป็นสื่ออิสระไม่ต้องพึ่งพิงกลุ่มอำนาจ เพื่อตอบโจทย์สังคม เราต้องทบทวนตัวเองเสมอ ไม่สร้าง Fake News ด้วยการจับมือกับพันธมิตรเพื่อยกระดับการทำงานสร้างความน่าเชื่อถือในการนำเสนอข่าว

คนทำงานสื่อหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ ยิ่งสังคมที่มีความเห็นแตกต่างกันบนโลก Social Media แม้แต่การผลิตละคร Drama for All นำเทคโนโลยีมาผลิตงานละคร มีภาษามือ การแปลมาประกอบ ทำละครให้คนสายตาบกพร่องดูกับคนปกติได้ คนสายตาพิการรับรู้ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เป็นการสร้างจินตนาการภาพได้ทันที ไทยพีบีเอสเป็นองค์กรสื่อสาธารณะใช้ทุกเทคโนโลยี ทุกการสื่อสารในการเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยจุดยืนในการลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม จึงเป็นงานที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วย เราเปลี่ยนคน Gen C (อายุ 25-34 ปี วัยทำงานระดับพนักงานจนถึงระดับบริหาร) ให้มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายประเทศในอนาคต ถ้าเป็นคนจนเมืองอยู่ในซอกหลืบของสังคม จะแก้ไขปัญหาอย่างไร การสร้าง Emotional กระบวนการรับฟัง ฟีดแบ็ก แก้ไขด้วยระบบการให้สวัสดิการ เรามีความหวังในการสร้างกลุ่ม Active Citizen ที่มีพลัง ขยับคนกลุ่มนี้ให้มีความเข้าใจมากขึ้น ดึงคนกลุ่มนี้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบสื่อด้วย

“การผลิตสื่อไม่ใช่ใช้ Skill เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องใช้ความตั้งใจ ขณะเดียวกันต้องสร้างพันธมิตร การมีเพื่อน การเช็กเรตติง ดูยอด like แต่ขณะเดียวกันก็ต้องดูฟีดแบ็กสิ่งใดที่จะต้องแก้ไข การทำงานเป็นเรื่องที่ท้อไม่ได้ ต้องเข้าใจทุก Gen ไปสู่ทิศทางคุณภาพเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม การนำเสนอ Citizen Reporter ทำให้ Gen ที่เคว้งคว้างในสังคมทำให้สังคมเห็นว่าเขามีตัวตนอยู่ด้วย”

สสส.ทำเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ทำให้ผู้คนรู้เท่าทัน มีความยับยั้งชั่งใจในการโพสต์ข้อความผ่านทางสื่อ ทุกวันนี้แพลตฟอร์มออนไลน์ถูกออกแบบเป็น personal life เป็นการเฉพาะตัว ในขณะที่สมัยก่อนการทำสื่อแยก segment ในการเข้าถึงกลุ่มที่สนใจ สารคดี NETFLIX ขณะนี้ AI วิเคราะห์คนดูได้ว่าสนใจเรื่องอะไร ทุ่มเงินสื่อโฆษณาลงไปพุ่งเป้าตรงได้ผลทันที การใช้ Social Media สูงขึ้นมีอิทธิพลมาก ส่งผลให้มีอัตราการฆ่าตัวตายพุ่งขึ้นถึง 50% แนวโน้มที่คนจะรับข้อมูลข่าวสารที่ตัวเองสนใจมากขึ้น ส่งผลให้คนแตกแยกทางความคิดสูงขึ้น ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนเกิดขึ้นกับกลุ่มคนเพียงน้อยนิด แต่กลับสร้างกระแสข่าวให้คนจดจำได้แม่นยำมากกว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจที่จะฉีดวัคซีน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน

'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน

‘สมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 17’ ปิดฉากชื่นมื่น บรรลุ 2 นโยบายฯ สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ปิดฉากลงอย่างชื่นมื่น สมาชิกกว่า 3,000 ชีวิต ให้การรับรอง 2 ระเบียบวาระ “พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ - การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจ

จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น