กรมชลฯ สำรวจความก้าวหน้าโครงการชลประทานในลุ่มน้ำน้อย 3จังหวัด วางแผนปรับปรุงระบบเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ แก้ปัญหาอุทกภัย-แล้ง

เมื่อวันที่  19 พฤษภาคม 2566 นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า “โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการชลประทานในลุ่มน้ำน้อย จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง และ จ.พระนครศรีอยุธยา” เพื่อศึกษาหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานในลุ่มน้ำน้อย ให้สามารถเป็นเส้นน้ำที่เชื่อมโยงกับโครงการข้างเคียงและลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารน้ำ และให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้น้ำ การระบายน้ำ และการรักษาคุณภาพน้ำ ที่จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และการขาดแคลนน้ำ สำหรับใช้ในการอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร และยังนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงระบบชลประทานระบบระบายน้ำ ระบบลำน้ำที่มีอยู่เดิมให้ทันสมัยขึ้น

นายวิทยา กล่าวว่า โครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการชลประทานในลุ่มน้ำน้อย มีโครงการชลประทานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันรวม 4  โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาบรมธาตุ 2.โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาชัณสูตร 3.โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษายางมณี  และ และ 4.โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาผักไห  ซึ่งโครงการชลประทานในระบบของแม่น้ำน้อย ก่อสร้างมาพร้อมๆ  กับเขื่อนเจ้าพระยา ภายใต้โครงการ “ชลประทานเจ้าพระยาใหญ่” มีอายุการใช้งาน 50-60 ปี ปัจจุบันประสิทธิภาพการใช้งานลดลง บางแห่งชำรุด เสียหาย กรมชลฯ จำเป็นต้องปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการชลประทาน  รวมถึงปรับปรุงให้มีความสอดคล้องกับการระบายน้ำฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านแม่น้ำน้อย ระบบชลประทาน และการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำของพื้นที่โครงการในการรองรับน้ำนอง

สำหรับแผนการปรับปรุงโครงการชลประทานที่เกี่ยวข้อง 1.โครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาบรมธาตุ ตั้งอยู่ในพื้นที่หัวงานโครงการ หมู่ 6 ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท มีพื้นที่โครงการ 422,825 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 310,788 ไร่ โดยมีแนวทางการปรับปรุงคลองส่งน้ำ 26 สาย ความยาว 337.12 กม. และปรับปรุงระบบคลองระบายน้ำ 27 สาย ความยาว 308.69 กม. เพื่อช่วยในการระบายน้ำ ป้องกันน้ำท่วมและเก็บกักน้ำ จัดรูปที่ดิน 129,915 ไร่ คูส่งน้ำ 535 สาย ความยาว 1,044 กม. คันคูน้ำ 209,656 ไร่ คูส่งน้ำ 261 สาย ยาวรวม 498 กม.  คาดว่าใช้งบประมาณในการลงทุนจำนวน 3,842.73 ล้านบาท ซึ่งการพัฒนาโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น 1,323.65 ล้านบาท

2.แผนการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบํารุงรักษาชัณสูตร หัวงานโครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 7 ต.โพชนไก่ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี โดยดำเนินการปรับปรุงประตูระบายน้ำบางระจัน ขนาด 4 ช่อง ช่องละ 6 เมตร ปริมาณน้ำผ่าน 260 ลบ.ม./วินาที มีพื้นที่โครงการ 549,832 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 410,724 ไร่ ปรับปรุงคลองส่งน้ำ 43 สาย ความยาว 431.72 กม. ปรับปรุงคลองระบายน้ำ 28 สาย  ความยาว 519.88 กม. จัดรูปที่ดิน 160,996 ไร่ คันคูน้ำ 313,304 ไร่ คูส่งน้ำ 1,988 สาย ความยาว 1,794 กม. คาดว่าใช้งบประมาณ จำนวน 3,698.02 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น 2,022.34 ล้านบาท/ปี

3.แผนการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายางมณี โดยหัวงานโครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ 7 ต.องค์รักษ์ อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ดำเนินการปรับปรุงประตูระบายน้ำยางมณี ขนาด 4 ช่อง ช่องละ 6 เมตร ปริมาณน้ำผ่าน 260 ลบ.ม./วินาที พื้นที่โครงการ 252,011 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 181,639 ไร่ ปรับปรุงคลองส่งน้ำ 16 สาย ความยาว  203.71 กม. ปรับปรุงคลองระบายน้ำ 13 สาย ความยาว 156.69 กม. จัดรูปที่ดิน 3,199 ไร่ คันคูน้ำ 89,149 ไร่ คูส่งน้ำ 305 สาย ความยาว 647 กม. ทั้งนี้มีข้อเสนอปรับปรุงขุดลอกคลองระบายน้ำและขยายความกว้างของคลองระบายน้ำในช่วงที่มีขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเสริมคันคลองระบายเพื่อป้องกันน้ำท่วม รวมถึงก่อสร้างอาคารชลประทานในคลองระบายเพิ่ม เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง คาดว่าใช้งบประมาณ 3, 193.92 ล้านบาท และเกิดผลประโยชน์ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 728.12 ล้านบาท/ปี

4.แผนการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่ หัวงานโครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ 5 ต.บ้านใหญ่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่โครงการ 211,457 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 152,465 ไร่ ปรับปรุงคลองส่งน้ำ 29 สาย  ความยาว 147.77 กม. ปรับปรุงคลองระบายน้ำ 11 สาย ความยาว 112.84 กม. โดยมีข้อเสนอแนวทางปรับปรุงขุดลอกคลองระบายน้ำ และขยายความกว้างของคลองระบายในช่วงที่มีขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเสริมคันคลองระบายเพื่อป้องกันน้ำท่วม รวมถึงก่อสร้างอาคารชลประทานในคลองระบายเพิ่มเติม เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งระบายเพื่อป้องกันน้ำท่วม รวมถึงก่อสร้างอาคารชลประทานในคลองระบายเพิ่มเติม เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งคาดว่าใช้งบประมาณ 1,457.54 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการเกษตร 574.03 ล้านบาท/ปี” นายวิทยา กล่าว

นอกจากนี้ในโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการชลประทานในลุ่มน้ำน้อย ได้มีแผนปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ โรงสูบน้ำ และคลองส่งน้ำ จำนวน 11 จุดที่สำคัญ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำ ลดปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และช่วยเหลือเกษตรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเพาะปลูกพืชและทำการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน ประกอบด้วย จุดที่ 1 คลอง 1ซ้าย-บรมธาตุ โดยดำเนินการก่อสร้างคลองคู่ขนานตลอดทั้งสาย และเพิ่มความสูงคันคลองให้เท่ากับคันถนนลาดยาง เพื่อแก้ปัญหาน้ำไหลล้นคันคลองเข้าท่วมพื้นที่บ้านเรือนและพื้นที่เกษตร จุดที่ 2 จุดสร้างประตูระบายน้ำปากลำแม่ลาใหม่ -ชัณสูตร ดำเนินการก่อสร้าง ประตูระบายน้ำปากคลองลำแม่ลาใหม่ 2-D6.0 ม. x 4.5 ม. แห่งใหม่ พร้อมติดตั้งเกียร์มอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย จุดที่ 3 คลอง 1ซ้าย-1ขวา (กม.8+400) -บรมธาตุ  ก่อสร้างคลองคู่ขนานดาดคอนกรีตในช่วง กม.0+000 ถึง กม.8+400 เพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่ปลายคลอง และก่อสร้างคลองคู่ขนานดิน กม.8+400 ถึง กม.20 +470 ในพื้นที่บ่อดินเดิมที่มีอยู่เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งแก้ปัญหาน้ำไม่ถึงปลายคลอง ส่วนจุดที่ 4 ประตูระบายน้ำถ้ำเข้ -บรมธาตุ โดยขุดลอกและกำจัดผักตบชวาคลองถ้ำเข้ เพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย

ส่วนจุดที่ 5 ประตูระบายน้ำบางนางแม่ คลอง 1ขวา(กม.21.00)-ชัณสูตร ดำเนินการสร้างอาคารบังคับน้ำบริเวณคลองบางนางแม่ เพื่อช่วยระบายน้ำจากคลองบางนางแม่ ออกจากคลอง 1ขวา เข้าคลองบางนางแม่ ไปทาง อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี จุดที่ 6 คลองสีบัวทอง-ชัณสูตร ปรับปรุงคลอง 1ขวา เป็นคลองคู่ขนานกับคลองสีบัวทอง โดยแยกเป็น 1 ขวา-L และ 1ขวา-R  จุดที่ 7 โรงสูบน้ำสาธุ (1 ซ้าย)-ยางมณี โดยทำให้ คก.ยางมณี สามารถสูบน้ำจากแม่น้ำน้อยมาให้คลอง 1ซ้ายและคลองซอยได้อย่างเพียงพอ  จุดที่ 8 ปรับปรุงลำรางสะเดา-ยางมณี เพื่อลดผลกระทบน้ำขังในพื้นที่ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้เร็วขึ้น จุดที่ 9 สวนมะม่วงส่งออก คลอง 3ขวา-1ขวา-ชัณสูตร ปรับปรุงคลอง 1ขวา โดยยกระดับน้ำจนไหลเข้าคลอง 3ขวา-1ขวา จุดที่ 10 สถานีสูบน้ำคลองบางปลากด-ผักไห่ ทำให้คก.สามารถสูบน้ำมาส่งให้พื้นที่ทุ่งป่าโมกได้อย่างเพียงพอมากขึ้น และจุดที่ 11 ประตูระบายน้ำผักไห่-ผักไห่ ดำเนินการก่อสร้างใหม่เป็นบานตรง รับน้ำได้ 2 ทิศทาง (ช่วงน้ำหลากไหลย้อนขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา)

นายวิทยา กล่าวอีกว่า หากแผนพัฒนาปรับปรุงโครงการชลประทานทั้ง 4  โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ จำนวน  1,436,125 ไร่ พื้นที่ชลประทานจะได้รับประโยชน์ จำนวน 1,055,616 ไร่ จะช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในภาพรวมและช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร อุปโภค-บริโภค ด้วยความมั่นคงด้านแหล่งน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคเกษตรจะมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ในอนาคตจะสามารถพัฒนาพื้นที่รับประโยชน์ใหม่ได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ชลประทาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความยั่งยืนของการพัฒนาลุ่มน้ำเลย

ลุ่มน้ำเลย เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำเลยเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่มีต้นน้ำอมาจากอำเภอภูหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงลาดชัน

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา

กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน

'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท