ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า “สันนิบาตสหกรณ์ฯ ร้อง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์ พ.ศ. 2565 (ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ)ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของสหกรณ์” นั้น
กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีการออกระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการสหกรณ์ พ.ศ. 2565 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 305 ง หน้าที่ 4 ฉบับลงวันที่ 28 ธันวาคม 2565 และบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ชี้แจงให้สหกรณ์ได้รับทราบถึงเหตุผล ปัญหาที่มาของการออกระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯดังกล่าว รวมทั้งประเด็นอื่น ๆ แล้ว
การออกระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ ฉบับนี้ เป็นกรอบการใช้ดุลยพินิจของรองนายทะเบียนสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากนายทะเบียนสหกรณ์ ในการพิจารณารับจดทะเบียนข้อบังคับของสหกรณ์ ให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้สหกรณ์สร้างคนรุ่นใหม่มาสืบทอดตำแหน่งผู้จัดการ นำมาซึ่งการบริหารจัดการที่ดี และความมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนของสหกรณ์ในระยะยาว อันจะสร้างความมั่นคงให้กับระบบสหกรณ์โดยรวมและส่งผลดีต่อการพัฒนาบุคลากรและความเจริญก้าวหน้าของบุคลากรในสหกรณ์ ทั้งนี้ ภายหลังการออกระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ชี้แจงข่าวให้ทราบถึงเหตุผลการออกระเบียบฉบับนี้ ซึ่งสหกรณ์ส่วนมากเห็นด้วยกับระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ ดังกล่าว และยังได้แจ้งให้สหกรณ์จังหวัดทุกจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 - 2 ประสานงานกับทางสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ ดังกล่าว และให้รวบรวมเอกสารข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการหารือของสหกรณ์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ มายังกรมฯ เพื่อได้ให้แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน โดยที่ผ่านมาได้มีการตอบข้อหารือไปยังสหกรณ์แล้วกว่า 10 แห่ง ทั้งนี้ ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ ได้มีบทผ่อนปรนหรือบทเฉพาะกาลในข้อ 6 ผู้จัดการที่อายุเกิน 60 ปี ให้สามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ตามสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงการจ้างงานระหว่างสหกรณ์กับลูกจ้างซึ่งแต่ละสหกรณ์จะกำหนดแตกต่างกันไป
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ในส่วนการปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนสหกรณ์ เป็นไปตามตามมาตรา ๑๖ (๘) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้นายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่ออกระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้มีการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสหกรณ์ ซึ่งที่ผ่านมาเกิดปัญหาในการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนข้อบังคับที่มีความหลากหลาย และมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภายในสหกรณ์หลายประเด็น รวมถึงค่าตอบแทนของผู้จัดการบางแห่งที่กำหนดในอัตราที่สูง เกินฐานะของสหกรณ์ที่จะจ่ายได้ และสหกรณ์ที่เกิดการทุจริตหลายแห่ง ซึ่งผู้กระทำการทุจริตที่พบในอดีตที่ผ่านมาคือผู้จัดการสหกรณ์ที่มีอายุเกิน 60 ปี และมีการต่อสัญญาอยู่ในตำแหน่งมาอย่างยาวนาน เพราะฉะนั้นระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯ ฉบับนี้จะช่วยให้สหกรณ์สามารถวางแผนการบริหารทั้งงบประมาณและบุคลากร ทั้งยังเป็นการพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ขึ้นมาทดแทนเพื่อขับเคลื่อนงานของสหกรณ์ในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกสหกรณ์และระบบสหกรณ์โดยรวมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปลื้มแนวทางแก้หนี้ 'กรมส่งเสริมสหกรณ์' ให้ผ่อนยาวถึงอายุ 75 ปี!
รัฐบาลชื่นชมกรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าแก้ปัญหาหนี้เงินกู้สวัสดิการ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ลดดอกเบี้ยเหลือ 4.75% ต่อปี ตั้งเป้าหลังหักหนี้ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 30% ต่อเดือน ผ่อนยาวถึงอายุ 75 ปี
รมช.มนัญญา เปิด Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อน ความเข้มแข็งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง เติบโตอย่างยั่งยืน
(27 มิ.ย.66) นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
วิธีเด็ดแก้หนี้เกษตรกรยั่งยืน BY สหกรณ์
วิธีเด็ดแก้หนี้เกษตรกรยั่งยืน BY สหกรณ์
“อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ชมสหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ เดินหน้ามาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สมาชิกเข้มข้น”
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดตราดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินสมาชิก ชมสหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ จำกัด เดินหน้ามาตรการลดหนี้สินสมาชิกเข้มข้น พร้อมส่งเสริมอาชีพสมาชิก จนลดหนี้ NPL ได้มากกว่า 25% เชื่อหลังฤดูกาลผลิตผลไม้ปีนี้จะสามารถลดหนี้ NPL
สหกรณ์การเกษตรนาเยีย อุบลราชธานี เดินหน้าแก้หนี้สมาชิก หนุนสร้างระบบน้ำปลูกข้าวโพดหลังนา
สหกรณ์การเกษตรนาเยีย อุบลราชธานี เดินหน้าโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิก กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากกพส. หวังสร้างระบบน้ำไร่นาและส่งเสริมอาชีพปลูกข้าวโพดหลังนาและเลี้ยงโค-กระบือ สร้างรายได้ มีกำลังส่งชำระหนี้คืนสหกรณ์
"กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าแก้หนี้ครูต่อเนื่อง หลังสมาชิกมากกว่า 4.6 แสนรายได้รับประโยชน์ หลังสหกรณ์ฯ ลดดอกเบี้ยเงินกู้"
จากปัญหาหนี้สินครูทั้งระบบที่มีมากถึง 1.4 ล้านล้านบาท ครูกว่า 80% จากทั่วประเทศ 9 แสนคน ต้องเผชิญกับภาวะหนี้สินจำนวนมหาศาล โดยเจ้าหนี้รายใหญ่สุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 8.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 64% รองลงมา ธนาคารออมสิน 3.49 แสนล้านบาท คิดเป็น 25%