กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ 4 หน่วยงาน พัฒนาแอปพลิเคชัน “เช็คแล้ง” เพื่อใช้ติดตามความเสี่ยงและความเสียหายของแปลงเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยนำข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ และข้อมูลจากสถานีตรวจวัดที่เกี่ยวข้องกับภัยแล้ง มาวิเคราะห์ร่วมและแสดงผล เพื่อให้เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้ด้วยตัวเอง โดยหน่วยงานที่ร่วมพัฒนาแอปพลิเคชัน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. ภายใต้ทุนอุดหนุนวิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ภาคการเกษตรของไทยประสบปัญหาจากภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอาศัยข้อมูลปริมาณน้ำฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาเป็นหลัก และเจ้าหน้าที่ต้องสำรวจ ตรวจสอบ ยืนยันความเสียหายของแปลงเกษตร ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ขาดข้อมูลเชิงประจักษ์และเทคโนโลยีที่สามารถช่วยตรวจสอบในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ จึงเกิดการพัฒนาแอปพลิเคชัน “เช็คแล้ง” ขึ้นเพื่อให้มีข้อมูลที่สนับสนุนการตัดสินใจประกาศภัยแล้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกในการสำรวจตรวจสอบความเสียหายของแปลงเกษตร ทำให้ลดภาระกำลังคนและระยะเวลาในการตรวจสอบ รวมถึงให้หน่วยงานที่บริหารจัดการน้ำภาคการเกษตรมีฐานข้อมูลประกอบการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“ตัวระบบของแอปฯจะช่วยวิเคราะห์ว่าในพื้นที่แปลงปลูกของเกษตรกร หรือผู้ใช้งาน มีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหนกับภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นเครื่องมือให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยแล้งได้ โดยมีพื้นนำร่องการอบรมใช้งานแอปฯเช็คแล้ง จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร ร้อยเอ็ด สุรินทร์ นครราชสีมา อุทัยธานี และกำแพงเพชร ได้รับการตอบรับจากเกษตรกรในการทดลองใช้งานจำนวนมาก””อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว
สำหรับวิธีการใช้งาน ให้ดาวโหลดแอปพลิเคชัน“เช็คแล้ง” ได้ทั้งระบบ Android และ iOS หรืออีกแพลตฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์ https://cropsdrought.gistda.or.th พร้อมลงทะเบียนเข้าใช้งาน โดยมีเมนูให้เลือกทั้งเช็คแปลงเกษตร เช็คแล้งรายจังหวัด และเช็คแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัย โดยวิธีบันทึกข้อมูลในเมนูเช็คแปลงเกษตร ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานปฏิบัติดังนี้ 1. ให้ยืนอยู่ที่ ณ ตำแหน่งแปลงของตนเอง หรือ เลื่อนภาพแผนที่ดาวเทียมไปยังที่ตั้งแปลงของตนเอง 2. กดปุ่ม เพิ่มแปลง เพื่อวาดขอบเขตแปลงที่ต้องการ 3. วาดขอบเขตแปลง โดยเลื่อนหมุดไปยังขอบแปลง แล้วกดปุ่ม + ทำจนครบทุกมุมขอบแปลง และ 4. กดปุ่ม บันทึก, และกด OK เพื่อยืนยันรูปแปลง ส่วนการบันทึกข้อมูลแปลงเพาะปลูก ให้ทำดังนี้ 1 ใส่ชื่อแปลง 2 เลือกชนิดพืช (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย มันสำปะหลัง และพืชอื่น ๆ) 3 ถ่ายรูปแปลงหรือบันทึกภาพถ่ายแปลง ณ วันที่บันทึก หรือวันที่ใกล้เคียง (ไม่เกิน 2 – 3 วัน) และ4 กดปุ่ม บันทึก , และกด OK เพื่อยืนยันบันทึกข้อมูลแปลงเพาะปลูก
ส่วนเมนูเช็คแล้งรายจังหวัด สำหรับตรวจสอบความเสี่ยงภัยแล้งของแต่ละจังหวัด ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งาน ปฏิบัติดังนี้ 1. กดเลือกจังหวัดที่ต้องการ และ2. กดเลือกอำเภอที่ต้องการ หากแสดงเป็นสีแดง แปลว่า พื้นที่นั้นเสี่ยงแล้งมาก หากแสดงเป็นสีเขียว แปลว่า พื้นที่นั้นไม่เสี่ยงแล้ง โดยเกษตรกร หรือผู้ใช้งาน สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้ง และวางแผนการเพาะปลูกได้
อย่างไรก็ตามแพลตฟอร์มดังกล่าว มีความแม่นยำสูงในพื้นที่ปลูกข้าวถึง 82 เปอร์เซ็นต์ และยังคงต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาแบบจำลองให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นทั้งในพื้นที่ปลูกข้าว และพื้นที่เพาะปลูกอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในโครงการระยะที่ 2 จะมีการขยายพื้นที่การดำเนินงานในอีก 3 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กษ. เปิดแผนแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้งซ้ำซาก ‘ร้อยเอ็ด’
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่านายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแ
รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย
'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ
'มิสเตอร์เกษตร' วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ
‘มิสเตอร์เกษตร’ วอน รัฐบาลแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ แนะกรมการค้าภายใน ประสานรง.อาหารสัตว์รับซื้อมันเส้น
ดีเดย์ กระทรวงเกษตรฯ ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิเงินไร่ละ 1,000 บาท ให้ธนาคารแล้ววันนี้
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำคุณสมบัติของเกษตรผู้มีสิทธิได้รับเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000
ชาวนาลุ้น ‘ครม.’ อนุมัติเงินช่วยไร่ละ 1,000 บาท พร้อมโอนเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดเชียงใ
“นภินทร” ดึงจุดเด่น “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” เนื้อแน่นนุ่ม ไม่คาว วัตถุดิบชั้นดี GI รังสรรค์ใน ”Thai Select“ เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกร
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมลงพื้นที่เยี่ยมชมถิ่นกำเนิดของสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา ได้แก่ “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าของปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา