มธ. เปิด “ห้องสมุดแห่งชีวิต” ชวนร่วมกิจกรรม “Lifebrary & 7S” ตลอดปี

หอสมุดฯ ธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรม “Lifebrary & 7S” ส่งมอบความรู้พร้อมทักษะการมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุข พร้อมเชิญชวนผู้สนใจร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันทุกกิจกรรม ตามแนวคิด “ห้องสมุดแห่งชีวิต” ตลอดปี

รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เปิดเผยว่า โครงการ “Lifebrary and 7S” จัดขึ้นด้วยความตระหนักว่า ปัจจุบันขอบเขตและกระบวนการเรียนรู้ของปัจเจกในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก องค์ความรู้ทางวิชาการจากห้องเรียน ตารา บทความต่าง ๆ อาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต หากแต่ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ หรือองค์ความรู้ที่หลากหลายมิติมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มุ่งมั่นยกระดับองค์กรสู่วิสัยทัศน์ใหม่ “Library of Life” โดยการเป็นห้องสมุดเพื่อชีวิต ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การวิจัย นวัตกรรม และทักษะอนาคต แก่ประชาคมธรรมศาสตร์และสังคม เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ส่งมอบความรู้ทั้งด้านวิชาการ และด้านทักษะต่าง ๆ สำหรับการดำเนินชีวิต สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้รับบริการได้ในทุกมิติ รวมถึงสร้างความพึงพอใจ และความผูกพันให้เกิดขึ้นระหว่างหอสมุดฯ กับผู้รับบริการ

“กิจกรรม “Lifebrary & 7S” เป็นหนึ่งในโครงการของห้องสมุดที่สอดคล้องกับว่าครบ 90 ปี ซึ่งถือเป็นทบทวนการปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ผู้คนกลุ่มต่างๆ การพัฒนาห้องสมุดไม่ใช่แค่พัฒนาตัวอาคารสำนักเท่านั้น แต่คิดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องที่มันต้องพัฒนาไปด้วยกัน และหวังว่าจะได้รับสนับสนุนจากทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันร่วมมาร่วมกันพัฒนาให้หอสมุดของธรรมศาสตร์ให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต ตอบโจทย์ผู้คนในสังคมได้อย่างดีที่สุด” อธิการบดี มธ. กล่าว

ด้าน รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดของ “Lifebrary” ที่หอสมุดแห่งวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากพื้นที่ซึ่งอ่านหนังสือการคืนหนังสือ ให้เป็นพื้นที่ใหม่ของการดูแลกายใจจิตวิญญาณของคนทุกเจเนอเรชั่น เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวและมีสุนทรียะ ซึ่งเป็นไปตามเทรนของโลกที่ทำให้เห็นว่าคนในปัจจุบันมีอายุยืนขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าภายในไม่กี่ 10 ปีนี้คนจะอายุยืนไปแตะที่ 100 ปี บางประเทศเช่นใน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน คนอาจจะอายุยืนไปถึง 120 ปีด้วยซ้ำ ภายใต้การอายุยืนเช่นนี้การดูแลกายจิตวิญญาณจำเป็นที่จะต้องดูแลอย่างถูกวิธีสร้างทักษะคนให้สามารถที่จะเข้าใจได้ว่าจะมีชีวิตยืนยาวอย่างมีสุนทรียะได้นั้นต้องทำอย่างไร และ “Lifebrary” ของหอสมุดแห่งนี้นั้นได้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อไปตอบโจทย์เหล่านี้กับคนในทุกเจเนอเรชั่นด้วยการดูแล สร้างทักษะ ความรู้และความสามารถในการดูแล 7S หรือ 7 เรื่องที่ถือเป็นหัวใจของการใช้ชีวิตในศตวรรษใหม่ก็ว่าได้

“7S ที่ว่านั้นเริ่มจาก Skin ผิวพรรณเป็นตัวบ่งบอกเบื้องต้นเลยว่าเรามีสุขภาพกายใจเป็นเช่นไร ผิวพรรณที่ดี ดูดีมีออร่า ช่วยเปิดประตูต่าง ๆ มากมาย ทำให้เราได้รับโอกาสและสร้างความสดชื่นให้กับผู้คนที่พบเจอ Skin จะดีได้ต้องมี S ตัวที่ 2 มาซัพพอตนั่นคือ Sleep การนอนเป็นกิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นในทุกวันและการนอนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง คนจำนวนมากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะบกพร่องเรื่องการนอน รวมถึงการ power nap หรือการ งีบสั้น ๆ ในช่วงเวลากลางวัน 5-10 นาทีหลังอาหารกลางวันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย มาถึง S ตัวที่ 3 เรียกว่า Stress คือ การจัดการความเครียดของเราให้ได้ดี ถ้าเราเครียดจะส่งผลต่อ Sleep และ Skin การดูแลเรื่อง Stress ทั้งด้านกายและใจจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ต่อด้วย S ตัวที่ 4 ถือว่าสำคัญมากคือ Sex ซึ่งเป็นเรื่องที่เราปฎิเสธไม่ได้และไม่ใช่เรื่องแต่ที่เพียงว่าทำให้ถูกวิธีและปลอดภัยเท่านั้น แต่ Sex เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายเกิดความสุขทั้งกายและใจ และยังส่งผลต่อ S ตัวอื่น ๆ อีกด้วย ขณะที่ S ตัวที่ 5 คือ Sensibility ผลจากการรับรู้ของอวัยวะรับกลิ่น จะส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงพฤติกรรม ตามมาด้วย S ตัวที่ 6 Syndrome เรามักจะใช้รวม ๆ เรียกโรคที่ไม่ได้เกิดจากตัวเชื้อโรค แต่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดูแลเรื่อง Syndrome ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้มีสุนทรียะในการใช้ชีวิตได้อย่างยืนยาว และ S ตัวที่ 7 สุดท้ายคือ Soul หรือ Spirit เพราะว่าเอาเข้าจริงแล้วหัวใจของการมีชีวิตที่ดีและยืนยาว ต้องดูแลจิตใจให้ดีด้วย และเมื่อทำได้ครบทั้ง 7S ก็จะมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีสุนทรียะ โดย“Lifebrary & 7S” ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะลุกขึ้นมาเตรียมพร้อมที่จะตอบโจทย์นี้ให้กับทุกคนในสังคมในทุกเจเนอเรชั่น” รศ.ดร.พิภพกล่าว

ขณะที่ รศ.ดร.อัญณิฐา ดิษฐานนท์ ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการพัฒนาและปรับตัวอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ก้าวล้ำ ทันสมัยของเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม หรือความสอดคล้องต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ โดยในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด เป็นหอสมุดแรกที่มีการส่งหนังสือ Book Delivery ไปให้กับนักศึกษา คณาจารย์ หรือผู้ใช้บริการต่างๆได้สามารถอ่านหนังสือได้ในช่วงดังกล่าว และปัจจุบันมีการพัฒนาบน platform ของ Line ให้นักศึกษาหรือผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือเราในห้องสมุดผ่านทาง Line application ได้ มีการปรับปรุงให้เกิดนวัตกรรมบริการ (Service Innovation) ในทุกมิติของการเข้ามาใช้บริการหอสมุด และในปีนี้เป็นก้าวใหม่ 'Library of Life' เป็นห้องสมุดเพื่อชีวิตสำหรับทุกคน ทุกช่วงวัย ทุกจังหวะชีวิตที่จะได้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องราวต่างๆ ผ่านโครงการ 'Life brary and 7S' ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องตลอดทั้งปี และยังมีกิจกรรมดีๆ อีกมากมายหลังจากนี้ เพื่อจะตอบสนองผู้ใช้บริการให้มากยิ่งขึ้น

“หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญชวนทั้งศิษย์เก่า ประชาชนทั่วไป และบุคคลที่สนใจ เข้ามาใช้บริการหอสมุดฯ ของเราได้ เรามีทั้งสื่อที่เป็นทั้งดิจิทัล สื่อที่เป็นสารสนเทศต่างๆ วารสาร หนังสือที่เป็น Catalog ใน edition ต่างๆ อยากให้เข้ามาใช้บริการ เราพยายามพัฒนาบริการต่างๆ ล่าสุดเราก็มีการพัฒนานวัตกรรมบริการสำหรับผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุดให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยสามารถ ยืม-คืน หนังสือ จ่ายค่าปรับต่างๆ ผ่านทาง Line application ของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้แล้ว” ผอ.หอสมุดฯ มธ. กล่าวเชิญชวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ้านแสนอยู่ดี' ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตร นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อคนทั้งมวล

แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ หากแต่มีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม

ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม

'ธรรมศาสตร์' จัดงานครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย

“ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์” นำอ่านประกาศสันติภาพ 16 สิงหาคม 2488 ในงาน “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดรำลึกปฏิบัติการกอบกู้ชาติของ “ขบวนการเสรีไทย” จน

90 ปี สถาปนาธรรมศาสตร์ ก้าวสู่ 'มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครบรอบปีที่ 90 พร้อมมอบรางวัลเข็มเกียรติยศ ให้แก่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีต รมว.คลัง และ อดีต รมว.คมนาคม ในฐานะผู้ประกอบคุณงามความดีต่อสังคมและประเทศชาติ ขณะที่

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ คือผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองไทยไปอีก 5 ปี

อาจารรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ระบุ สว. ชุดใหม่ ยังมีอำนาจมากเกินไป และจะเป็นผู้กำหนดภูมิทัศน์การเมืองประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า