เมื่อวันที่ 2 พ.ค. ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า วันที่ 2 พ.ค.นี้ กระทรวง อว. ตั้งมาครบ 4 ปี และได้ทำหน้าที่กระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส และกระทรวงแห่งอนาคต มาตลอด 4 ปี ตนเข้ามาทำหน้าที่ รมว.กระทรวง อว. 3 ปีเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งด้านอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในด้านการอุดมศึกษา กระทรวง อว. มีการปฏิรูปอุดมศึกษาที่ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในอาเซียนที่ปฏิรูปอุดมศึกษามากที่สุด เร็วที่สุด และที่สำคัญไทยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่อยู่ในระดับนำของการปฏิรูปอุดมศึกษา เพราะนั้นการปฏิรูปอุดมศึกษาของไทยขณะนี้ เป็นที่สนใจของประเทศตะวันตกมาก เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น เราทำหลักสูตรแซนด์บ็อกซ์ หรือ Higher Education Sandbox สร้างหลักสูตรจาก Demand Side เพื่อผลิตคนตามความต้องการของประเทศ ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก จัดตั้งธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เราปลดล็อกการจำกัดเวลาเรียนตรี - โท - เอก ไม่จำกัดเวลาจบ เรียนไป ทำงานไป เป็นต้น ปรากฎว่าต่างประเทศบอกประเทศไทยไปได้ไกลมาก
“กระทรวง อว. ต้องปฏิรูป เพราะโลกสมัยนี้สำคัญที่การศึกษา การศึกษาเป็นตัวสร้างงาน เป็นตัวปรับอาชีพ ปรับทัศนคติ ต้องอาศัยการศึกษาทั้งนั้น ที่สำคัญ คนจะเห่อปริญญาน้อยลงและคนจะไม่เต็มใจที่จะอยู่มหาวิทยาลัยนานเกินไป ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยแล้วเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย แล้วได้เงินตั้งแต่วันแรกที่เข้าเรียน การศึกษาจะไม่ถูกผูกขาดโดยครู อาจารย์ นักวิจัย แบบที่เราเคยเห็นมา ผมมีความเชื่อมั่นว่า 3 ปีที่ผมมาเราปฏิรูปเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว
ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าวต่อว่า ขณะที่ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตนพูดได้ว่าดีที่สุดในอาเซียน จะเป็นรองก็แค่สิงคโปร์ แต่สิงคโปร์ก็ไม่ได้นำเราทุกเรื่อง เช่น เครื่องฉายแสงซินโครตรอนซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับตรวจอนุภาคเล็ก ๆ ที่มีความชัดเจนยิ่งกว่าอิเล็กตรอนไมโครสโครป เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ภาคอุตสาหกรรมเคมี ซึ่งสิงคโปร์ไม่มี แต่ประเทศไทยมีเครื่องฉายแสงซินโครตรอน เรายังมีเครื่องโทคาแมค หรือ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” เครื่องแรกของประเทศไทยและมีที่ประเทศไทยเพียงที่เดียวในอาเซียน ที่จะสร้างพลังงานสะอาดแห่งอนาคตจากฝีมือนักวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อคนไทยจะเดินเครื่องในเดือน ก.ค.นี้ แน่นอนเราไม่ได้เครื่องดังกล่าวเพื่อความเท่ห์หรือทดลองเพื่อเอาไปอวดใครว่าวิทยาศาสตร์ของเราดี แต่ว่าทดลองเพื่อที่จะแปรเปลี่ยนมันให้เป็นพลังงานในเวลาไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า โดยทำร่วมกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประมาณ 20 แห่ง นอกจากนั้นเรายังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร ใหญ่และทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายขีดความสามารถด้านการศึกษาวิจัยดาราศาสตร์ให้มากกว่าที่ตามองเห็น สำหรับศึกษาดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นวิทยุ แล้วเรายังมีงานวิจัยระดับชั้นแนวหน้าของฟิสิกส์ระดับต่ำกว่าอนุภาคที่เรียกว่าควอนตรัมฟิสิกส์ ทำวิจัยร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ระดับนำของโลกที่โครงการ CERN ซึ่งประเทศชั้นนำของโลกเท่านั้นที่ได้เข้าไปอยู่ในโครงการวิจัยนี้ เช่นเดียวกับโครงการวิจัยที่ขั้วโลกใต้ ซึ่งมีไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ได้เข้าไปทำโครงการวิจัย เป็นต้น เพราะฉะนั้นด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยไปได้ไกลมาก
“นี่คือประเทศไทยใหม่ ต้องย้ำว่าประเทศไทยใหม่ เพราะคนไทยเองไม่ค่อยเชื่อว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศทางวิทยาศาสตร์ได้ แน่นอนบางทีเราส่งลูกไปเรียนวิทยาศาสตร์ เพราะลึก ๆ เราก็ไม่เชื่อว่าประเทศไทยจะทำวิทยาศาสตร์ได้ คนไทยนี่เก่งทางด้านวิทยาศาสตร์มาก ทำให้เวลานี้ ประเทศทั่วโลกอยากมาลงทุนด้วย เพราะด้านวิทยาศาสตร์เราเก่ง” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล