ฉลากเขียว..ยกระดับสินค้า "สร้างความตระหนักรู้" ชีวิตปลอดภัยมีทางเลือก

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI), สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), กรมการพัฒนาชุมชน (พช.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดตัวฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ รร.มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ  สสส. กล่าวว่า การทำ Sandbox เพื่อให้ SME มีบทบาทผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องนิ่งเฉยดูดายไม่ได้ ปัญหาฝุ่น PM 2.5คุกคามส่งผลให้ร่างกายเป็นโรคภูมิแพ้ มีอาการคัน เยื่อบุตาอักเสบ ปอดอุดกั้น มะเร็งปอด ต่อมต่างๆ ในร่างกาย ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน ทุกวันนี้เราทำห้องเรียนปลอดฝุ่น ห้องเรียนสู้ฝุ่น แต่จะทำอย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ เราต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ ต้นทางของปัญหาอย่างแท้จริง  การเปิดตัวฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำให้ชีวิตอยู่ในแบบแผนเดียวกัน เราต้องสร้างสินค้าจำนวนมากขึ้น เพื่อผู้บริโภคเข้มแข็งร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม 

หัวใจสำคัญประการหนึ่งในการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 และ มลพิษจากสิ่งแวดล้อม คือ การใช้กลไกผู้ผลิตสินค้าที่ใส่ใจในการผลิตที่ลดการสร้างมลพิษ  และกลไกผู้บริโภคที่ตื่นตัว มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหารอบด้าน โดยสะท้อนผ่านการทำงานของ สสส. ที่มุ่งเป้าในการแก้ไขปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมในหลากหลายรูปแบบและตอบสนองปัญหาอย่างเร่งด่วน ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคนี้ เป็นตัวอย่างสำคัญในการสานพลังผู้เกี่ยวข้องทุกระดับที่ตั้งใจ ใส่ใจ เต็มใจ ผนึกกำลังแก้ปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะคนไทยอย่างมีทิศมีทาง

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) กล่าวว่า สภาวะอากาศที่แปรปรวน ไฟป่าที่เกิดจากการเผา น้ำท่วมเกินครึ่งล้อรถ ลูกเห็บตกที่เชียงใหม่ หน่วยงานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นหน่วยงาน Think Tank คลังสมองที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ขณะนี้คนไทยและคนทั่วโลกประสบปัญหาฝุ่นควันพิษ PM 2.5 โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย มีค่าสูงกว่ามาตรฐานมากกว่า 10 เท่า ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวในเชิงสุขภาพ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทุกวันนี้ปลาทูได้รับไมโครพลาสติกจากน้ำ เป็นปัญหาเชื่อมโยงกับสุขภาพอนามัย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นวิกฤตใหม่ของโลก นับวันจะเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น ประเทศเมืองหนาวพบปัญหาร้อนขึ้น ประเทศที่เคยอยู่สบายก็ประสบปัญหาอยู่ไม่สบาย แต่ละประเทศต้องร่วมมือกันสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน การพัฒนาอย่างยั่งยืน BCG ทำให้เศรษฐกิจสมดุล การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม การมีฉลากเขียวเชื่อมโยงกับระดับที่ 1 เชื่อมโยงกับฉลากของโลกด้วย ถ้าผ่านการรับรองฉลากเขียวในเมืองไทยจะจำหน่วยได้ใน 30 ประเทศ ฉะนั้นสินค้า OTOP ก็สามารถยื่นขอฉลากเขียวได้ ขณะนี้ สสส.เข้ามาช่วยดูคุณภาพการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute) ผลักดันให้เกิดการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างๆ  ในสังคม เชื่อมโยงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งระดับประเทศและระดับโลก นอกจากนี้ยังศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลากเขียวใช้เวลาดำเนินการเพียง 6 เดือน

สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค หรือฉลาก CEC สถาบันฯ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน เนื่องจากที่ผ่านมาพบปัญหาผลิตภัณฑ์จากชุมชนที่ใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิต ไม่สามารถขอรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่เข้มงวด และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง จึงไม่สามารถเข้าถึงตลาดหรือไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค

“TEI สานพลัง สสส. และภาคีเครือข่าย พัฒนามาตรฐานฉลากที่ส่งเสริมการดำเนินการในระดับชุมชนอย่างเหมาะสม เพื่อรับรองความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคถึงความปลอดภัยเมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ มีกลุ่มเป้าหมายของฉลากนี้เป็นผู้ประกอบการโอท็อป วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ขึ้นทะเบียนกับ สสว. ซึ่งสถาบันฯ ได้ MOU กับ สสว.ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ขอการรับรองฉลากเขียวอยู่แล้ว จึงถือเป็นโอกาสดีสำหรับความร่วมระหว่างหน่วยงาน ในการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดและการรับรองฉลากใหม่ขึ้น เพื่อให้การรับรองกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ พัฒนาศักยภาพการผลิตและบุคลากร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงตลาดให้กับผู้ประกอบการ

ดร.วิจารย์ยกตัวอย่างข้าวแต๋น นาที่ปลูกข้าวต้องไม่มีการเผา การทำข้าวแต๋นลดผลกระทบ PM 2.5 น้ำมันทอดข้าวแต๋นไม่นำมาทอดซ้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ Green Product วิสาหกิจชุมชน OTOP SME ได้รับความร่วมมือจาก สสว. มีการลงนาม MOU กับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ผ้าที่นำมาย้อมสีที่ศรีสะเกษ ดินทุ่งกุลาร้องไห้ การสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม.

วัตถุประสงค์ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค

“ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค (Chumchon label for the protection of the environment and consumers หรือ CEC) เป็นฉลากใหม่ของประเทศ มี 5 วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการแสดงเจตนาเฉพาะอย่าง

1.ใช้สื่อสาร หรือจูงใจให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของการเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้บริโภค

2.สนับสนุนการยกระดับวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ พัฒนาไปสู่การวางจำหน่ายบนแฟลตฟอร์มชั้นนำของประเทศ

3.สร้างความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุรีไซเคิล หรือนำไปรีไซเคิลได้

4.ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ

5.สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ด้วยการรับประกันสินค้า มีข้อมูลสินค้า คำแนะนำที่ชัดเจน มีการทดสอบหรือควบคุมสินค้าเพื่อความปลอดภัยขณะใช้งาน” นายชาติวุฒิ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming

ระดมความคิด"ถก"กม.โลกร้อน ชี้ทุกประเทศต้องร่วมมือพิทักษ์โลก

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานสิทธิมนุษยชน ณ ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)