ก.แรงงาน ผลิตช่างโซล่าเซลล์ ช่วยลดค่าไฟเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ประชาชนจึงหันไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์หรือระบบเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบกิจการ ยังนิยมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าเช่นเดียวกัน การติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น นิยมใช้กันมากขึ้นในกลุ่มของภาคเกษตรกร สามารถประยุกต์ใช้เชื่อมต่อกับระบบรดน้ำ การควบคุมอุณหภูมิและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในการรับภาระค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จึงจัดอบรมให้ความรู้แก่แรงงานภาคการเกษตร ช่างผู้ประกอบอาชีพรับติดตั้งโซล่าเซลล์ ให้มีความรู้และทักษะฝีมือ สามารถนำไปปรับใช้กับการประกอบอาชีพ หรือให้บริการแก่ลูกค้าที่ต้องการใช้ระบบพลังงานทดแทน ทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว และสร้างอาชีพให้แก่แรงงานได้อีกด้วย

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเสริมว่า ในปี 2566 มีผู้ผ่านการฝึกอบรมการติดตั้งโซล่าเซลล์แล้วจำนวน 2,432 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน 2566) ที่ผ่านมาในปี 2565 มีผู้ผ่านการฝึกอบรม 3,748 คน ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้จัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องในหลักสูตร การติดตั้งและบำรุงรักษาระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องมีความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ทฤษฎีไฟฟ้า ความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานทดแทน การออกแบบ การติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ การใช้งาน และการตรวจซ่อมและบำรุงรักษา ใช้ระยะเวลาการฝึกอบรม 30 ชม. นอกจากนี้ ยังมีหลายหลักสูตรที่เกี่ยวกับช่างโซล่าเซลล์ เช่น การทำตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสินค้าการเกษตร การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน เทคนิคการติดตั้งบำรุงรักษาโซล่าเซลล์และกล้องวงจรปิด เป็นต้น

“การทำงานในสายอาชีพช่างติดตั้งโซล่าเซลล์นั้น นับได้ว่ามีอนาคตอย่างยิ่ง เพราะตลาดยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก การใช้โซล่าเซลล์ จึงเป็นอีกทางเลือกของการใช้พลังงานทดแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าและส่งเสริมร่วมรณรงค์กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่างผู้ประกอบอาชีพจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ที่สนใจเข้าอบรมสามารถติดต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ ที่กำลังเปิดรับสมัคร เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 16 นครปฐม สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานพัทลุง สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเลย ซึ่งจะเริ่มฝึกอบรมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4” นางสาวบุปผา กล่าว

ทางด้านของนายธนะสิทธิ์ ธีรกุลธนาพันธ์ (โอม) อายุ 42 ปี เจ้าของร้านโอมน้ำฝนบ้านแอร์ จังหวัดจันทบุรี เป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมช่างโซล่าเซลล์กับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 32 จันทบุรี เล่าว่า ตนเองทำอาชีพรับติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าและอื่นๆ อีกหลายประเภท มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์บ้าง แต่ต้องการเรียนรู้หลักการที่ถูกต้องและต้องการมีใบรับรอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า ปัจจุบัน รับงานติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยเหมาค่าแรงในการติดตั้ง เฉพาะค่าแรงของโอมคิดวันละ 1200 บาท ส่วนลูกน้องคิดค่าแรงให้วันละ 500 - 600 บาท งานติดตั้งโซล่าเซลล์ มีเคยรับเหมาเป็นการติดตั้งบนหลังคาโรงงาน ขนาดตั้งแต่ 3,000 วัตต์ จะใช้เวลาติดตั้ง 4-5 วัน โดยมีทีมงานร่วมทำด้วย 4-5 คน คิดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งประมาณ 60,000 - 80,000 บาท "ผมคิดว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเพราะสถานการณ์ช่วงนี้ที่ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ประชาชนจะหันมาสนใจและติดตั้งโซล่าเซลล์มากขึ้นแน่นอนครับ" โอมกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย

รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย

"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ

มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่

'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่