เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นายจูสต์ คอร์เธ่ ปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมคณะกรรมาธิการยุโรป ร่วมเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมระดับสูงด้านแรงงานระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ครั้งที่ 3 โดยมี นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนางสาวกาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ร่วมนำเสนอและตอบข้อซักถามในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้วย ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
นายบุญชอบ เปิดเผยว่า การประชุมระดับสูงด้านแรงงาน จัดขึ้นภายใต้ ข้อตกลงการบริหารจัดการสำหรับการประชุมหารือด้านแรงงาน (Labour Dialogue) ระหว่าง กระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทย และ กระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคมแห่งคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2561 โดยสหภาพยุโรปเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูงฯ ครั้งที่ 3 ในรอบ 3 ปี ภายหลังประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับสูงฯ ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับประเด็นด้านแรงงาน โดยเฉพาะการเคารพหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ การขจัดแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก สิทธิมนุษยชน การยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ และแรงงานในภาคประมง
ปลัดกระทรวงแรงงาน ยังได้ร่วมนำเสนอพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น มาตรการรับมือกับโควิด - 19 การกระจายวัคซีน ให้บริการรักษา Hospitel และโครงการ Factory Sandbox ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในรอบ 30 ปี นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีมาตรการเพื่อคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ เช่น การขยายอายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน การเข้าถึงวัคซีนและการรักษาอย่างเท่าเทียม รวมถึงกล่าวถึงผลการเป็นเจ้าภาพ APEC และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2566 ซึ่งอนุญาตให้ลูกจ้างสามารถทำงานที่บ้านได้ โดยได้รับความคุ้มครองอย่างครบถ้วน นอกจากนั้น การประชุมระดับสูงด้านแรงงาน ครั้งที่ 3 ที่ประชุมยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นด้านแรงงานต่างๆ ที่มีความสนใจร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมรองรับเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจนอกระบบ เสรีภาพในการสมาคม และการฝึกงานอีกด้วย
ด้าน นางแอนดริอาน่า สุโคว่า รองปลัดกระทรวงการจ้างงาน กิจการสังคม และการหลอมรวมทางสังคม คณะกรรมาธิการยุโรป ได้นำเสนอพัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพยุโรปที่น่าสนใจ เช่น การสนับสนุนเพื่อลดความเสี่ยงที่จะตกงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน พัฒนาการด้านค่าจ้างขั้นต่ำและรายได้ขั้นต่ำที่เพียงพอ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับงานแพลตฟอร์ม กรอบเพื่อการฝึกงานที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจเพื่อสังคม การทำงานทางไกล (Telework) และสิทธิในการที่จะตัดขาดการติดต่อ (right to disconnect)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)
"พิพัฒน์" รมว. แรงงาน มอบ "มารศรี" เลขาธิการ สปส. รุดตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างประสบเหตุถังแก๊สระเบิดโรงงานเหล็ก จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลาประมาณ 09.40 น. เกิดเหตุการณ์ถังแก๊สระเบิด และเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย
“พิพัฒน์” นำกระทรวงแรงงาน Roadshow Matching งานให้คนไทย เพิ่มโอกาสทำงานต่างประเทศ เปิดที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA
“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี