ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแห่งความสุข ป้องกันซึมเศร้า"ไทย"ติดอันดับโลก

จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทยประจำปี 2560 ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่าวัยรุ่นไทยอายุ 10-19 ปี มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 44 มีอัตราการป่วยด้วยโรคซึมเศร้าร้อยละ 18 และพบว่าวัยรุ่นฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้าประมาณปีละ 4,000 ราย ถือเป็นอันดับ 3 ของโลก อีกทั้งผลจากการสำรวจข้อมูลสุขภาวะนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างปี 2557-2559 พบว่าแนวโน้มนิสิตที่มีปัญหาทางสุขภาวะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 23% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปี 2563 มีจำนวนผู้เข้ารับบริการปรึกษาเกี่ยวกับด้านสุขภาวะด้านต่างๆ รวม 531 คน โดยผ่านช่องทางการให้บริการด้านต่างๆ ที่เป็นทางเลือกแก่ผู้รับบริการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19        จำนวนผู้เข้ารับบริการจำแนกตามประเด็นปัญหาปี 2563 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) การเรียน จำนวน 184 คน คิดเป็น 35% 2) ส่วนตัว จำนวน 127 คน คิดเป็น 24% และ 3) สุขภาพจิต จำนวน 79 คน คิดเป็น 15%

ในปี 2564 มีจำนวนผู้เข้ารับบริการปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาวะด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึง 50% โดยมีจำนวนผู้เข้ารับการปรึกษารวม 1,046 คน สามารถจำแนกตามประเด็นปัญหา โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ 1) ส่วนตัว จำนวน 234 คน คิดเป็น 22% 2) การเรียน จำนวน 226 คน คิดเป็น 22% และ 3) รับคำแนะนำเบื้องต้นด้านสุขภาวะ จำนวน 189 คน คิดเป็น 18%

ทั้งนี้ ไม่เฉพาะปัญหาสุขภาวะทางจิตเท่านั้น แต่สำหรับปัญหาสุขภาพทางกาย โดยเฉพาะโรคอ้วนในประเทศไทย ปี 2557 ถึงปัจจุบัน ยังพบว่าคนไทย 19.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34.1 มีภาวะ “อ้วน” หรือคนที่เดินเข้ามา 3 คน จะมีคนที่มีภาวะอ้วน 1 คน และมีคนไทยที่มีรอบเอวเกิน “อ้วนลงพุง” กว่า 20.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 37.5

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. (สำนัก 8) กล่าวว่า สสส.ต้องการสร้างองค์กรสุขภาวะที่ดี เป็นต้นแบบมาตรฐานขับเคลื่อนให้เป็นตัวอย่างของนานาชาติ การขับเคลื่อนในเชิงนวัตกรรมทางวิชาการตีพิมพ์เป็นเอกสารขับเคลื่อนเป็นนโยบายของประเทศ พร้อมยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล วางแผนระบบเครือข่ายการสร้างมหาวิทยาลัยแห่งความสุข สร้างโมเดลมหาวิทยาลัยต้นแบบของอาเซียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิจัยนำร่องสุขภาพกายเน้นโรค NCDs นำความรู้ส่งผ่านนิสิต นักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัย พัฒนาเป็นนวัตกรรมเก็บข้อมูลและส่งต่อเข้าถึงบริการสุขภาพ ขับเคลื่อนเป็นนวัตกรรมเชิงธุรกิจ ทำเป็นริสต์แบนด์ ม.เชียงใหม่ เชิญชวนมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือร่วมกันทำวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนชุมชน สถานประกอบการภาคเหนือ

ล่าสุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็เป็นอีกสถาบันที่เปิดตัวโครงการต้นแบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพครบวงจร (Happy University Prototype @KU หรือ Kasetsart University) ซึ่งนายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า

“มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีศักยภาพทำงานอย่างเป็นระบบ ในการสร้างผลงานด้านความยั่งยืน (SDGs) ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นับเป็นงานที่ท้าทายมาก โครงการแยกและใช้ประโยชน์จากขยะของคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ม.เกษตรศาสตร์จัดประกวดโครงการ Best Suggestion Awards ด้วยแนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงส่วนต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มีการจัดทำ

1.โครงการรณรงค์เพิ่มการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มเพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความตระหนักโดยมีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดปริมาณขยะพลาสติก ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.โครงการขยะรีไซเคิลกล่องยูเอชที ภาควิชาวิศวกรรมเคมีรวบรวมเข้าโครงการสนับสนุนการคัดแยกจัดเก็บขยะรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ใช้แล้ว ส่งให้กองยานพาหนะอาคารและสถานที่ มหาวิทยาลัยเกษตรฯ ส่งมอบให้โครงการหลังคาสีเขียว   มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

3.โครงการคัดแยกขยะหลอดพลาสติกมาทำความสะอาด เพื่อรวบรวมส่งให้มูลนิธิพัฒนาป่าตอง จ.ภูเก็ต นำไปทำหมอนสับปะรดรักษ์โลก เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียงและคนพิการ จ.ภูเก็ต ขยายต่อโครงการด้วยแนวคิด Zero Waste ขยะเหลือศูนย์ที่โรงอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์"

นายพงษ์ศักดิ์กล่าวด้วยว่า ม.เกษตรศาสตร์จะเปิดคณะแพทยศาสตร์ในปีการศึกษาใหม่ ด้วยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ รพ.พระมงกุฎเกล้า ในการฝึกงาน

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวหลังเปิดตัวโครงการต้นแบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยแห่งความสุขเพื่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพครบวงจร ว่าขณะนี้มหาวิทยาลัยมีจำนวนนิสิตและบุคลากรในภาพรวมประมาณ 92,800 คน จำแนกเป็นนิสิตและบุคลากรทุกระดับชั้นจำนวน 83,000 คน และ 9,800 คน จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาบุคลากรและนักศึกษาให้มีสุขภาวะที่ดี และพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบ ร่วมกับวิทยาเขตทั้ง 5 ได้แก่ วิทยาเขตบางเขน, วิทยาเขตกำแพงแสน, วิทยาเขตศรีราชา, วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี

“โมเดลความสุขด้วยการจัดกิจกรรมชมรมให้นิสิต เล่นดนตรี กีฬา กิจกรรมฝึกการพูด ฯลฯ การทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข ใช้ความเป็นพี่น้องเป็นต้นแบบ มีการเต้นแอโรบิก ฟิตเนส โรงอาหารที่นี่เป็นต้นแบบอาหารราคาถูกเพียง 10-20 บาทก็อิ่มได้ มหาวิทยาลัยเกษตรฯ แต่ละสาขามีเอกลักษณ์โดดเด่นเรื่องความสวยงาม ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์บานที่วิทยาเขตกำแพงแสน   อินทนิลที่วิทยาเขตสกลนคร ความสุขของวิทยาเขตแต่ละแห่งเผื่อแผ่ถึงประชาชนที่เข้าไปเที่ยวด้วย เป็นความภาคภูมิใจของเรา ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยยังให้ทุนเรียนดีแก่นิสิตหลายพันคน เปิดโอกาสให้นิสิตทำงานเป็น part time ระหว่างการเรียนเพื่อมีรายได้ บางวิชาจัดสรรเป็นหน่วยกิตเมื่อทำงานภาคปฏิบัติ”

กระบวนการสร้างผู้นำสุขภาวะผ่านการอบรมนักสร้างสุข การพัฒนาทักษะชีวิตนอกตำราให้แก่นิสิต นักศึกษา ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม การพัฒนา good health and wellbeing ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมทั้งการสร้าง happy heart เพื่อร่วมส่งเสริม  ป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านสุขภาวะ มุ่งเน้นการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต สังคม  และทางอารมณ์ ในภาพรวมทั้งบางเขนและวิทยาเขต ให้มีมาตรฐานและคุณภาพเท่าเทียมกัน เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี (Wellbeing) ของประชาคม ตลอดจนส่งเสริมให้นิสิต บุคลากร มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านร่างกายและสุขภาวะ ตระหนักถึงการวางแนวทางในการป้องกัน ส่งเสริม สุขภาพกาย และสุขภาพจิตนิสิตและบุคลากร ให้มีสุขภาวะที่ดี มีความพร้อมทั้งในการศึกษาเล่าเรียน การทำงาน และดำเนินชีวิตเหมาะสมกับช่วงวัยอย่างมีความสุข

การดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ สำรวจความสุขบุคลากร และนิสิต โดยใช้เครื่องมือวัดความสุขระดับบุคคล (Happinometer) ร่วมกับข้อมูลสุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อใช้เป็นข้อมูลการออกแบบกิจกรรม การติดตามและวัดผลการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หลังการดำเนินการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุข-พัฒนาผู้นำสุขภาวะให้แก่ผู้แทนบุคลากรและผู้แทนจากนักศึกษา อบรม เพื่อเป็นผู้นำร่วมออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับความต้องการ (Happy 8/ ประเด็นสุขภาพ สสส.7+1)

-ส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับประเด็นสุขภาพ เป้า 10 ปี สสส. (2565-2574) อาทิ กิจกรรมทางกาย การบริโภคผักและผลไม้ ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต ยาสูบ สุราและสิ่งเสพติด สิ่งแวดล้อม รวมทั้งปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ หรือสอดคล้องกับแนวคิดความสุข8ประการ อาทิ Happy Body,  Relax, Brain, Family, Heart, Soul, Money หรือ Society

-​สนับสนุนการพัฒนานิสิตให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ชีวิตการทำงาน และสนับสนุนกิจกรรมสุขภาพอื่นๆ ดังนี้ 1.KU Happy Brain: จัดกิจกรรม Hackathon เพื่อให้นักศึกษาร่วมออกแบบกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมสนับสนุนการสร้างพื้นที่ทดลองดำเนินกิจกรรมจริง พร้อมมีทีมพี่เลี้ยงสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มนิสิตที่เข้าร่วม​.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต