เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม เกิดจากการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายทำงานเพื่อพัฒนาชุมชนในทุกมิติ โดยเฉพาะประเด็นที่ไม่ได้รับความสนใจหรือความเป็นธรรมจากภาครัฐ เครือข่ายองค์กรชุมชนมีหลากหลายครอบคลุมกว่า 7,000 ตำบล ทั้ง 77 จังหวัด มีประชาชนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการประมาณกว่า 10 ล้านคน มีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เช่น ปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัย ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาหนี้สิน ปัญหาด้านสิทธิมนุษยธรรม ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาความรุนแรงในสังคม การขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน เป็นต้น
จุดยืนหลักของเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม คือการสนับสนุน ผลักดันให้ประชาชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง ตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิชุมชนในการสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียม อันเป็นอำนาจที่แท้จริงของประชาชนชาวไทย ขบวนองค์กรชุมชนจึงมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในอันที่จะพัฒนาไปสู่ชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองได้ เพื่อเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างระบบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาลร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียม
ผลงานการขับเคลื่อนของเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคม
1. การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เป็นองค์กรที่จัดตั้งตาม พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงองค์กรชุมชน และทุกภาคส่วนในตำบลมาทำงานแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในตำบล ปัจจุบัน ได้มีการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลแล้วประมาณ 7,795 ตำบล มีองค์กรชุมชนซึ่งจดแจ้งแล้วประมาณ 156,280 องค์กร ผู้แทนของชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิรวม 254,945 คน
2. การแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย ทั้งในเมืองและชนบท ปัจจุบัน เกิดการสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัย “โครงการบ้านมั่นคง” รวม 127,920 ครัวเรือน ใน 1,832 ชุมชน 77 จังหวัด ประกอบด้วย บ้านมั่นคงในพื้นที่เมือง 108,848 ครัวเรือน และพื้นที่ชนบท 19,072 ครัวเรือน
3. กลุ่มองค์กรชุมชนด้านสวัสดิการชุมชน ภายใต้หลักคิด “ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” โดยรัฐร่วมสมทบเข้ากองทุนสวัสดิการชุมชนในอัตราเท่ากับที่ชุมชนสมทบ รวมทั้งการสมทบจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น คือ 1 : 1 : 1 ปัจจุบันมีกองทุนสวัสดิการชุมชนประมาณ 5,913 ตำบล (กองทุน) สมาชิก 4 ล้านคน เงินกองทุนประมาณ 20,412.35 ล้านบาท
4. กลุ่มองค์กรชุมชนด้านเศรษฐกิจราก คือ ระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นที่ต้องสามารถพึ่งตนเองเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีคุณธรรม มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาทุกด้าน มีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (Community Business Model Canvas : CBMC) ทั้งด้านการผลิต แหล่งทุนสนับสนุน รวมถึงระบบการตลาด เทคโนโลยีดิจิทัล
5. การป้องกันและต่อต้านการทุจริตโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรชุมชน : เปลี่ยนภาคประชาชนเป็นพลังพลเมือง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรชุมชนใน 17 จังหวัด 171 ตำบล 3,078 คน ในการหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสำนึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต
ข้อเสนอต่อพรรคการเมือง
1.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ตั้ง สรร.ชุดใหม่จากการเลือกตั้งทั้งหมดสนับสนุนความเป็นอิสระของท้องถิ่น ให้ทุกจังหวัดที่มีความพร้อมสามารถเลือกตั้งผู้ว่าได้ เพิ่มงบประมาณให้กับท้องถิ่น ถ่ายโอนอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการทรัพยากรของตนเองได้ เพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นสามารถจัดการกับภัยพิบัติทุกรูปแบบ
2. ปฏิรูปที่ของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสร้างที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านมั่นคง เช่น ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้คนจนเมืองมีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับวิถีชีวิต
3.ปฏิรูประบบที่ดินทั้งประเทศ บังคับใช้ One Map เร่งรัดการพิสูจน์สิทธิ์ จัดตั้งธนาคารที่ดินขยายกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ประชาชน ผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้าแบบรวมแปลง ปฏิรูปฐานข้อมูลที่ดินอย่างเป็นระบบ ออกโฉนดเอกสารสิทธิ์ให้กับเกษตรกร ดึงที่ดิน สปก ออกจากมือนายทุน พิสูจน์สิทธิ์ที่ดินทันที เพิกถอนสภาพที่ดินของรัฐที่ประกาศทับพื้นที่ชุมชนที่อยู่มาก่อน
4.พัฒนาการเกษตรของไทยอย่างเป็นระบบ ลดต้นทุนการผลิตในทุกมิติ พัฒนาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ปลดล็อกกฎหมายที่ล้าหลัง เช่น ผลักดันสุราก้าวหน้า ตัดวงจรสินค้าเกษตรที่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เปลี่ยนเป็นประเทศเกษตรอินทรีย์อาหารปลอดภัยให้เพิ่มขึ้นปีละ 25 % ใช้เทคโนโลยีทำการเกษตรในทุกขั้นตอน ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวแบบครบวงจร
5.พรรคต้องประกาศนโยบายต่อต้านและกำจัดทุจริตทุกรูปแบบทั้งในภาคการเมือง ภาครัฐ และภาคเอกชน พรรคต้องไม่เสนอหรือแต่งตั้งให้บุคลากรของพรรคที่เคยและหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบให้มีตำแหน่งทางการเมือง
6.จัดทำระบบการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทุกบาท ทุกขั้นตอน มีระบบการแจ้งเตือนการทุจริตโดยอัตโนมัติผ่านแอปฟลิเคชั่น พรรคต้องจัดให้มีกลไกและเครื่องมือในการติดตามและรายงานการดำเนินงานของรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ หน่วยงานรัฐ ในกระบวนการยุติธรรม และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่เกี่ยวกับปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบต่อสาธารณะ
7.ต้องผลักดันให้สภาผ่านร่าง พรบ.ข้อมูลข่าวสาร ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลโครงการและงบประมาณของหน่วยงานรัฐต่อสาธารณะ และประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
การติดตามนโยบายของพรรคการเมืองหลังเลือกตั้ง
เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนและประชาสังคมจะติดตามนโยบายเมื่อพรรคการเมืองได้เข้าร่วมรัฐบาล โดยวิธีการดังนี้
1.ยื่นหนังสือติดตามนโนบายที่เคยสัญญาไว้ก่อนการเลือกตั้ง
2.จัดขบวนไปทวงถามนโยบายที่เคยสัญญาไว้ก่อนการเลือกตั้ง ณ ทำเนียบรัฐบาล
3.การรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการดำเนินการตามนโยบายที่ได้หาเสียงเอาไว้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พรรคการเมืองฟังไว้! กกต.เคลียร์แล้วรับบริจาคหวยได้
กกต.ตอบพรรคประชาชน รับบริจาคสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ และถ้าถูกรางวัล ต้องชี้แจงตามขั้นตอนถึงแหล่งที่มาตามระเบียบและกฎหมายพรรคการเมือง
ไปอีกพรรค! ราชกิจจาฯ ประกาศสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่อง พรรคเสมอภาคสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง
ดร.เสรี ถามพรรคการเมืองฝ่าย ‘อนุรักษ์นิยม’ จะรวมกันกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า ส้มเลือ
'ปิยบุตร' อัดเพื่อไทย! ทำเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจการเมือง ช้าออกไปอีก 10-20 ปี
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่าแทนที่พรรคการเมืองจะรวมพลัง “ยึด” อำนาจการออกใบอนุญาตที่ 2 ของ
'นิพิฏฐ์' เตือนมหันตภัยการเมือง ประเทศถูกล็อกด้วยพรรคการเมือง 2 พรรค
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ โพสต์เฟซบุ๊กว่า การเมืองที่ถูกล็อคด้วยพรรคการเมือง 2 พรรค
'รวมแผ่นดิน' เปลี่ยนชื่อใหม่พรรคก้าวอิสระ 'มาดามหยก' นั่งหัวหน้า 'แว่น สิริรัตน์' โฆษก
นายมาโนช อุณหกาญจน์กิจ รองหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน เป็นประธานจัดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2567 สืบเนื่องจาก นายมนตรี พรมวัน ลาออกจากหัวหน้าพรรค เพื่อไปลงเลือกตั้งท้องถิ่น ทำให้ต้องมีการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค