'สกลธี' ลงพื้นที่คลองบางหลวงช่วยผู้สมัครฝั่งธนบุรี ชู 'Soft Power' พัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำ

เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2566 นายสกลธี ภัททิยกุล กรรมการบริหารและหัวหน้าทีมผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ลงพื้นที่คลองบางหลวงและย่านตลาดพลู พร้อมกับ น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กทม. เขต 32 เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช) เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า​แขวงบางด้วนและแขวงคลองขวาง) เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง) เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจีและแขวงบางยี่เรือ) หมายเลข 6 เพื่อพบปะประชาชน พร้อมชูนโยบายพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวริมคลอง

นายสกลธีกล่าวว่า ย่านนี้เป็นพื้นที่คลองเชื่อมต่อกัน 5 เขต 11 แขวง มีเสน่ห์มีวิถีชีวิตเป็นของตัวเอง ทั้งบรรยากาศ ชุมชน และวัดริมคลองบางหลวง การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้เป็นปัญหาบางอย่าง เช่น การประชาสัมพันธ์ การดูแลความสะอาด การเพิ่มเส้นทางเดินเรือ การปรับเปลี่ยนชนิดเรือให้เหมาะสมกับสภาพคลอง เพราะคลองบางแห่งเล็ก น้ำตื้น ทั้งนี้ กทม.มีงบประมาณจำกัด รัฐบาลกลางต้องเข้าไปช่วยโดยใช้กองทุนประชารัฐ 3 แสนล้านบาทที่มีอยู่ สร้าง Soft Power พัฒนาการท่องเที่ยวให้ดีขึ้น ชาวบ้านมีงานทำในท้องถิ่น เศรษฐกิจเดินได้ด้วยตัวชุมชนเอง

นายสกลธียังกล่าวอีกว่า ช่วงโควิดที่ผ่านมาเศรษฐกิจซบเซาไปมาก ตอนนี้นักท่องเที่ยวกลับมาแล้ว หน้าของรัฐบาลต่อไปคือต้องเข้าบริหารจัดการให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งชุมชนเหล่านี้ให้ได้

“พื้นที่นี้เป็นเขตเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด ถ้าพี่น้องชาวเขตเลือกตั้งที่ 32 ให้โอกาสผู้สมัครคนนี้ ท่านจะได้คนรู้พื้นที่จริง มีความตั้งใจ ช่วยเหลือประชาชนมาตลอด ก็ฝากผู้สมัครท่านนี้ด้วย”

ด้าน น.ส.บุณณดา สุปิยพันธุ์ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เขต 32 หมายเลข 6 กล่าวว่า พื้นที่ตรงนี้ตนคุ้นเคยอยู่แล้ว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีแต่ยังขาดในเรื่องของแหล่งทุนอยู่ ตนเชื่อว่ากองทุนประชารัฐ 3 แสนล้านบาท จะมาตอบโจทย์ในการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนได้อย่างแน่นอน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร