มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยเทคโนโลยีวิศวกรรม ณ โรงเรียนล่องแพวิทยา ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ช่วยเพิ่มพื้นที่ safety zone ปลอดฝุ่น PM 2.5 และช่วยปรับปรุงความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าในบริเวณโรงเรียน โดยโครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการจากพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่าโรงเรียนล่องแพวิทยาเป็นโรงเรียนที่มีตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตั้งที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลในบริเวณรอยต่อของ 3 จังหวัดคือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก ต้องใช้เวลานานอย่างมากในการเดินทาง จึงทำให้หลายครั้งประสบปัญหาในการพัฒนาพื้นที่หลาย ๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือระบบไฟฟ้าที่ไม่สามารถใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าได้ เนื่องจากติดบริเวณพื้นที่อุทยาน จึงต้องใช้พลังงานทดแทนจากน้ำและแสงอาทิตย์ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และระบบไฟฟ้าภายในโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกอาคารหลาย ๆ ส่วนใหญ่ค่อนข้างเก่า มีความเสื่อมสภาพจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรและส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้เข้าไปปรับปรุงระบบไฟฟ้าของโรงเรียน ทั้งหมด 23 อาคารด้วยงบประมาณจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัย และสอดรับการกับใช้งานร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่กระทรวงพลังงานจะเข้ามาติดตั้งเพิ่มเติมต่อไปอีกด้วย
และด้วยปัญหาฝุ่น PM 2.5 พื้นที่ภาคเหนือที่เกิดจากการเผาช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมโดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีค่าสูงมาก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคณะครูและนักเรียนในระยะยาว โรงเรียนล่องแพวิทยาเป็นพื้นที่ที่บุคคลากร ครู นักเรียนใช้เป็นทั้งที่เรียนหนังสือและอยู่อาศัยเป็นหอพัก ดังนั้นการสร้างพื้นที่ปลอดฝุ่นจึงจำเป็นอย่างมาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ติดตั้งเครื่องกรองฝุ่น ด้วยระบบผลิตอากาศสะอาด Positive Pressure จำนวน 37 เครื่อง ในตัวอาคารอนุบาลและหอพัก เพื่อปรับสภาพอากาศ และรับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 เพื่อบรรเทาปัญหา ช่วยให้คุณภาพชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การลงพื้นที่จะไม่มีความยั่งยืนเกิดขึ้นเลยหากปราศจากการมอบความรู้ เพิ่มทักษะความสามารถให้แก่คนในท้องที่ได้นำกลับไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดแผนการจัดอบรมให้ความรู้เเรื่องการดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ แก่นักเรียน และบุคลากร ให้ดูแล รักษา ซ่อมแซมได้เองเบื้องต้น พร้อมพัฒนาทักษะวิชาชีพไปในตัว เพื่อที่ว่าความรู้นี้จะติดตัว และสามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อากาศเมืองกรุงอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง-ส้ม
เพจกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
คนกรุงอ่วม! สภาพอากาศมีผลกระทบสุขภาพถึง 33 พื้นที่
เพจกรุงเทพมหานคร โพสต์กราฟฟิกพร้อมเนื้อหา
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เตือน 10 พื้นที่ใน กทม. พบค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เมื่อเวลา 07.00 น. พบค่าฝุ่นในพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ อยู่ในช่วง 23.1 - 50.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
คนกรุงเทพฯ สำลักฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม 63 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ณ เวลา 07.00 น. : ตรวจวัดได้ 34.3-74.3 มคก./ลบ.ม. พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 63 พื้นที่ คือ
'นฤมล' ลุยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เน้นสร้างแรงจูงใจเกษตรกรลดการเผา
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงาน ”Kick Off มาตรการ