Narrative therapy ศิลปะบำบัดใจ เรียนรู้สร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อตัวเอง

คนเราไม่ว่าจะเป็นเพศใด อายุแค่ไหน สถานะทางสังคมเป็นอย่างไร วุฒิการศึกษาระดับสูงขนาดไหน เมื่อเกิดความท้อแท้ หมดหวัง สิ้นกำลังใจ ย่อมต้องดิ้นรนพยายามที่จะหาหนทางในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยตัวแปรของแต่ละคน  

บางคนอาจจะเลือกการเข้าวัดฟังธรรม นั่งสมาธิ บ้างก็อาศัยเพื่้อนฝูงเป็นที่ระบายทุกข์ หลายคนพึ่งพาหมอดู และมากมายที่คิดว่าการบนบานศาลกล่าวจะช่วยบรรเทาความเจ็บไข้ได้ป่วยทางจิตใจได้

นวัตกรรมในการดูแลจิตใจของตัวเอง พัฒนาไปตามสังคมและการหมุนเปลี่ยนของกระแสวัฒนธรรมโลก วันนี้ เราจึงพบเห็นศาสตร์และศิลป์ ที่เรียกว่า  Narrative therapy  ศิลปะบำบัดใจ นั่นคือการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือหรือเป็นกระบวนการเยียวยาจิตใจ เสมือนหนึ่งเป็นสื่อกลางในการเปิดพื้นที่ หรือทางออก เพื่อการเยียวยาตนเอง

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรม:สร้างแรงบันดาลใจอย่างไรให้ตัวเองมีความSOOK  ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวทีกิจกรรม ฮอลล์5-7 ชั้นLG โดยมีวิทยากร ศักดิ์ชัย ศรีวัฒนาปิติกุล(ครูชัย) ณิชชารีย์    เป็นเอกชนะศักดิ์(น้องธันย์) ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณาDtac และยาสีฟันColgate พร้อมกับเปิดเผยว่า สสส.จะเปิดเวิร์คช้อป Narrative therapy ศิลปะบำบัดใจ กับครูชัย ..ในวันที่29 เม.ย.ศกนี้ ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ศักดิ์ชัย  ศรีวัฒนาปิติกุล(ครูชัย)นักเขียน ศิลปิน และนักบำบัดด้วยกระบวนการทางศิลปะ  กล่าวว่า    ด้วยประสบการณ์ทำงานด้านศิลปะสร้างความตระหนักรู้ เมื่อมีแรงบันดาลใจก็ย่อมมีพลังขับเคลื่อนในการดำเนินชีวิต เราทำงานใช้ชีวิตเมื่อมองถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เราเคยหลงลืมโลกภายนอก เราสนใจตัวเราเอง เริ่มต้นง่ายๆด้วยการทำงานศิลปะเพื่อการดำเนินชีวิต เกื้อกูลกัน เราจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างไร การรับฟังปัญหารับรู้ถึงความรู้สึก ทุกวันนี้เราอยู่กับผู้คนจำนวนมาก “ผู้ใหญ่ทุกคนเคยเป็นเด็กมาก่อน แต่น้อยคนที่จะจดจำช่วงเวลานั้นได้”

               การที่เราอยู่กับตัวเอง อยู่กับความคิดที่วุ่นวายคอยรบกวนจิตใจตลอดเวลา เมื่อเราดูYou tube ฝึกฝนตัวเองเพื่อมองเห็นคุณค่าในตัวเอง เติมความสุขทีละเล็กทีละน้อย การอ่านหนังสือเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ทำสิ่งใหม่ๆเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง เมื่อสถานการณ์วิกฤติก็ต้องหาทางเลือกใหม่ๆให้กับตัวเอง หากเราลองสำรวจดูตนเองแล้วก็จะพบกับความมืดและความสว่าง หรือความแตกต่างของตัวเรากับกรอบสังคม ขอเพียงให้เราเปิดใจยอมรับและเคารพตนเองเพราะว่า “ความต่างคือความงดงาม”เป็นองค์ประกอบสำคัญของทุกสรรพสิ่งที่บันดาลให้โลกใบนี้มีความสร้างสรรค์

 ครูชัยพูดเรื่อง Workshops ที่จะทำร่วมกับทาง SOOK by สสส. ที่ผ่านมา WORKSHOP Narrative therapy พิเศษ30ท่านเท่านั้น “จะเล่าให้ฉันฟัง” เวิร์คชอปศิลปะบำบัดใจ การกลับมาเชื่อมโยงตนเองเข้ากับการใช้ “ศิลปะในการดำเนินชีวิต” ผ่านกระบวนการศิลปะบำบัดใจที่ใช้เรื่องเล่าผสานเข้ากับการวาดเส้นตามความรู้สึกที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยให้เราสามารถค้นหาแรงบันดาลใจหรือค้นพบทางออกของตนเองได้  กระบวนการโดย ครูชัย-ศักดิ์ชัย ศรีวัฒนาปิติกุล นักเขียน ศิลปิน และนักบำบัดด้วยกระบวนการศิลปะ เจ้าของผลงาน:หนังสือ “คืนดีกับใจ” always with me 25แบบฝึกหัดสำรวจใจ กลับมาคืนดีกับ “เด็กน้อยภายในตนเอง”เพื่อค้นพบความสุขที่แท้ สมัครร่วมกิจกรรม1,490บาท ทุกท่านรับฟรี!หนังสือ “คืนดีกับใจ” วันเสาร์ที่29เม.ย.2566 เวลา 13.30น.-16.30น. ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.ซอยงามดูพลี สาทร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม f SOOK 081-7318270

ในการสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองมีความสุขนั้น ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือน้องธันย์ สาวน้อยคิดบวก ที่หัวใจแข็งแกร่ง ได้เปิดประเด็นว่า คนเรานั้นเมื่อทำงานนานๆย่อมหมดไฟ จำเป็นต้องสร้างพลังใหม่ในการสร้างแรงบันดาลใจ แม้แต่ชีวิตที่ต้องอยู่บนรถWheel Chairเมื่อเข็นรถออกไปดูสิ่งใหม่ๆเพื่อเปลี่ยนMind Setให้มีแรงบันดาลใจขับเคลื่อน ได้ทดลองสิ่งใหม่ๆที่เราไม่เคยมีประสบการณ์ เราก้าวเดินออกไปเปลี่ยนแปลงมุมมอง

“อุบัติเหตุเป็นจุดเริ่มต้น เราเป็นคนไข้ก็จริง แต่สามารถConsultให้กำลังใจคนไข้รายอื่นที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่หมดกำลังใจและรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเดียวกัน ในขณะที่เราเป็นคนไข้ แต่ร่าเริงเป็นเรื่องคนละขั้วกับคนไข้อีกรายหนึ่ง เมื่อได้เจอคุณป้าที่ป่วยเป็นมะเร็งได้แลกเปลี่ยนความคิดกันเป็นพันเป็นหมื่นเรื่อง แม้เราทั้งสองจะอยู่ในโรงพยาบาล(สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ)แต่ก็มีความสุขได้ เราช่วยเหลือคนอื่นได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้เป็นสิ่งของ  งานอาสาทำได้หลายอย่างผ่านการรับฟังเยอะๆจะช่วยคลายทุกข์ได้ การสร้างแรงบันดาลใจมีImpactได้เป็นอย่างดี  เมื่อมีจุดเริ่มต้น เป็นการเปิดโอกาสรับฟังสิ่งใหม่ๆได้”

น้องธันย์ กล่าวว่า "หนังสือคืนดีกับใจ" เป็นหนังสือที่เขียนจากชีวิตจริง เป็นหนังสือที่สร้างแรงบันดาลใจเป็นเครื่องมือ อ่านแล้วจะได้บทสรุปว่าเราจะทำอะไรต่อในชีวิต ความสุขจะสร้างได้อย่างไร ถ้าเราเข้าใจตัวเอง ต้องเริ่มจากการมองมุมดีของตัวเอง ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักมุมลบของตัวเองด้วย เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบรู้สึกใจฟูมาก หนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราตกผลึกในตัวเอง พรุ่งนี้เราจะต้องสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆให้เกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้อ่านได้ทุกเวลาเพื่อค้นพบตัวเองในการสร้างแรงบันดาลใจ เท่ากับว่าเราได้ใช้เครื่องมือกับตัวเองด้วย

“การรู้จักตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก อยากให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ วันนี้เรามีความสุขเกินครึ่งวัน ผ่านไปอีก1เดือน เราจะเพิ่มความสุขขึ้นมาได้อย่างไร ทำอย่างไรให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตลอด24ชั่วโมง”

ก่อนหน้านี้น้องธันย์เคยเข้าร่วมกิจกรรมSOOK Publishing ได้รับหนังสือที่ครูชัยเขียน1เล่มเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่รู้จักกับครูชัยผ่านทางZOOM ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้พบกัน หากจะถามว่าแรงบันดาลใจมากกว่าแรงผลักดันในชีวิต เมื่อวันใดวันหนึ่งเจอกับวิกฤติเป็นแรงขับเคลื่อนว่าเราจะเดินไปสู่จุดไหน การสร้างโอกาสในอนาคตเพิ่มมากขึ้น คนทุกคนต้องมีแรงบันดาลใจของตัวเอง ยิ่งในช่วงที่เราต้องเจอวิกฤตในชีวิต พบปัญหาอุปสรรค เราต้องมองข้ามอุปสรรคในชีวิต สร้างโลกใบใหม่สร้างรูปแบบใหม่ให้เราอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้

***

ศิลปะบำบัดคืออะไร?

ศิลปะบำบัด (Art therapy) คือ วิธีการเยียวยาด้วยการนำเทคนิคที่อาศัยการแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ การมองและตีความศิลปะ เพื่อช่วยให้คนได้ค้นหาและเปิดรับกับสภาวะอารมณ์ของตัวเอง, การรับรู้ (self-awareness), ดูแลจัดการความเครียด, ดูแลความภูมิใจ ความมั่นใจของตนเอง (self-esteem) และทักษะทางสังคม

สมาคมนักศิลปะบำบัดของอเมริกา (The American Art Therapy Association) ได้อธิบายเกี่ยวกับศิลปะบำบัดไว้ว่าเป็นวิธีการที่ใช้กระบวนการทางศิลปะ เพื่อเพิ่มสุขภาวะทางใจ ร่างกาย และอารมณ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผลงานที่สร้างสรรค์ได้ช่วยให้ผู้คนได้ค้นพบ แสดงออก และรู้จักกับทางเลือกใหม่ๆ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง รวมทั้งพัฒนาตนเองด้วย

กระบวนการศิลปะบำบัดสามารถรวมไปถึงการวาดภาพ, ระบายสี, การปั้น นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นไปได้อีกมากมายเช่นการใช้ดนตรี, ถ่ายภาพ, การแสดงและการละคร เป็นต้น ซึ่งการแสดงออกเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นความคิด อารมณ์ และการแสดงออกได้แตกต่างกันไป

คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้หรือทักษะเกี่ยวกับศิลปะเหล่านั้นก็สามารถทำกิจกรรมศิลปะบำบัดได้ และศิลปะบำบัดมีไว้สำหรับคนทั่วไป ความเข้าใจผิดอีกสิ่งหนึ่งคือผู้ที่จะมาทำกิจกรรมศิลปะบำบัดจะต้องเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช หรือมีอาการป่วยทางจิต หรือเป็นโรคซึมเศร้าเท่านั้น

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีเดย์ ส.ค. นี้ ลุยปูพรมสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 7 รามาฯ - สธ. – สวรส. - สสส. สานพลัง มหาวิทยาลัย 4 ภาค ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพกาย-ใจ

เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 2567 ที่โรงแรม แกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่นโฮเทล จ.นนทบุรี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

ผลักดันกม.ละเมิดในโลกออนไลน์ เยาวชนเผชิญภัยคุกคามพุ่งพรวด

มีความร่วมมือระหว่าง สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส. กับสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่างบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming