ประชุมสุขภาวะคนข้ามเพศ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

เปิดเวทีประชุมวิชาการสุขภาวะของคนข้ามเพศครั้งแรกในไทย!! ระดมความคิดเห็น เกย์ กะเทย ทอม ดี้  ชายรักชาย หญิงรักหญิง ร่วมกำหนดทิศทางสุขภาพ-สิทธิประโยชน์พื้นฐาน หวังลดความเหลื่อมล้ำในสังคม  ลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพของประชา000000000กรที่มีความหลากหลายทางเพศ อันตรายจากยาฮอร์โมนบางชนิดที่ซื้อหามารับประทานเอง หรือการผ่าตัดแปลงเพศ

สถานการณ์การถูกเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และการถูกละเมิดสิทธิต่างๆ ในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) และเพศวิถี (Sexual Orientation) เลสเบียน เกย์ ไบเซ็กชวล บุคคลข้ามเพศ และคนที่มีลักษณะทางเพศทางชีววิทยาไม่ชัดเจน หรือเรียกโดยรวมว่า LGBTls สำหรับในสังคมไทยอาจจะมีการยอมรับพฤติกรรมรักเพศเดียวกันและบุคคลข้ามเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ความชิงชังและการมีอคติที่มีต่อกลุ่ม LGBTls ก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ อีกทั้งมีการเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มนี้แอบแฝงอยู่ในสังคม ชุมชน และองค์กรต่างๆ มีการกีดกัน ปฏิเสธ ไม่ให้ได้รับความก้าวหน้า หรือผลักออกนอกระบบ อีกทั้งนำเสนอว่าคนกลุ่มนี้เป็นพวกที่มีปัญหาเชิงลบ เป็นคนไม่ปกติ ถูกตีตรา เพราะมีความเบี่ยงเบนทางเพศ มีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ฯลฯ

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดการประชุมสุขภาวะของคนข้ามเพศ “ข้ามเพศมีสุข” ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 ที่ รร.แมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ ว่า งานนี้เสมือนหนึ่งเป็นงานรวมรุ่น “ผมอยู่กับงานโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคเอดส์มา 20 ปี ในวันแรกๆ เราต่อสู้กับยาต้าน HIV-AIDS ยุควิกฤติสุขภาวะทางเพศด้วยระบบวิธีคิดเชิงการแพทย์ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากลุ่มคนหลากหลายทางเพศเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV มากที่สุด ส่งผลทำให้มิติการใช้ชีวิตถูกผลักดันเข้าไปเกี่ยวข้องกับ HIV-AIDS ทั้งหมด" 

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า สสส.สนับสนุนเข้าใจเรื่องการมีสิทธิ เข้าใจสิทธิและรู้ด้วยว่าสิทธิเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด เราต่อสู้กันมาเรื่องความเหลื่อมล้ำ ใช้ยุทธศาสตร์การทำงานของ สสส.ด้วยคีย์เวิร์ดสำคัญคือ จะแก้ไขความเหลื่อมล้ำเพื่อให้คนทุกเพศทุกวัยเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของการบริการด้านสาธารณสุข โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะต้องไม่ตีตรา ไม่ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ด้วยกัน การจัดการปัญหาเพื่อให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่เข้าถึงได้อย่างเป็นมิตร ทำอย่างไรให้หลายโครงการดำเนินไปด้วยดี การรับถุงยางอนามัย ยาต้าน HIV-AIDS

ปัจจุบันนี้เมืองไทยได้รับการยอมรับแล้วว่า เป็นดินแดนที่ยอมรับเรื่องความแตกต่างหลากหลายทางเพศ แต่ก็ยังมีการถูกเลือกปฏิบัติด้วยความเชื่อและทัศนคติแง่ลบ รวมถึงมิติทางสุขภาพ สถานพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องความหลากหลายทางเพศยังมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ จากข้อมูลการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ประชากรที่มีความหลากหลายทางเพศเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ เช่น กลุ่มชายรักชาย ชายรักสองเพศ และหญิงข้ามเพศ พบความเสี่ยงสูงในการได้รับเชื้อ HIV,  มะเร็งทางทวารหนัก และโรคตับอักเสบ A และ B ส่วนหญิงรักหญิง และหญิงรักสองเพศ เสี่ยงเป็นโรคอ้วนสูง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อ (NCDs) อื่นๆ รวมทั้งในบุคคลข้ามเพศที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงร่างกายเพื่อให้เป็นเพศที่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ส่วนใหญ่จะมีการใช้ฮอร์โมน ทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ฮอร์โมนเกินขนาด ใช้ผิดประเภท และใช้อย่างผิดวิธี โดยเฉพาะจากการซื้อหาตามท้องตลาดโดยไม่มีแพทย์ให้คำแนะนำ

“สสส.มุ่งหวังลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาพในกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ สนับสนุนโครงการ 'ส่งเสริมสุขภาวะและลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนข้ามเพศในประเทศไทย' จึงอยากเชิญชวนคนทำงานเรื่องสุขภาวะของคนข้ามเพศ คนข้ามเพศ ทั้งภาคประชาสังคม หน่วยงานภาคีผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชน มาร่วมกันออกแบบการสร้างระบบบริการด้านสุขภาวะแบบองค์รวม ที่เป็นธรรมและเข้าถึงได้ของบุคคลข้ามเพศในอนาคต ซึ่งเชื่อว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงาน หรือชีวิตของคนข้ามเพศ จะช่วยเปิดมุมมอง พัฒนาบริการและการเข้าถึงอย่างได้มาตรฐานและเป็นมิตร รวมทั้งสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ทำอย่างไรในการสื่อสารทำความเข้าใจให้ความรู้ทางประสบการณ์ข้ามเพศคุยกันได้ เพื่อความเข้าใจกันอย่างถ่องแท้” นายชาติวุฒิกล่าว

นางชนาทิพย์ มารมย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามเจตนารมณ์การดำเนินงานของ สปสช.เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  เพื่อนำความเห็นต่างๆ มาขับเคลื่อนในระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้คุ้มครองสิทธิ์ ช่วยให้เข้าถึงสิทธิ์ และไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ์ ซึ่งในส่วนของเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ แม้จะเพิ่งร่วมงานกันอย่างจริงจังในปี 2566 นี้ แต่ที่ผ่านมาเคยทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงเชื่อว่าเมื่อทำงานร่วมกันในฐานะภาคีอีกด้านหนึ่ง จะช่วยรวบรวมความเห็นในแง่มุมสุขภาพและบริการ ที่ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศต้องการนำมาเสนอเป็นสิทธิประโยชน์ในอนาคตได้ ทั้งเรื่องการเข้าถึงยาฮอร์โมนบางชนิด ดีกว่าไปซื้อหามารับประทานเองแล้วเกิดอันตราย หรือแม้แต่การผ่าตัดแปลงเพศ เรื่องเหล่านี้ก็จะได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือกันต่อไป

ณชเล บุญญาภิสมภาร ตัวแทนคณะทำงานจัดงานประชุมสุขภาวะของคนข้ามเพศ ข้ามเพศมีสุขครั้งที่ 1 กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมเสียงของคนในชุมชน คนข้ามเพศ ภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคม ภาครัฐและผู้ให้บริการสุขภาพกับคนข้ามเพศที่เชื่อว่า “สุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับคนข้ามเพศ”  มาร่วมกันส่งเสียงให้คนกำหนดนโยบายให้ความสำคัญกับสุขภาวะของคนข้ามเพศ โดยงานประชุมนี้เปิดพื้นที่ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และถ่ายทอดสำหรับภาคีจากชุมชนคนข้ามเพศ คนทำงาน และผู้ให้บริการสุขภาพได้มาฟังเจ้าของชุดประสบการณ์ตรง เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนในการพัฒนาบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศ และลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในประเทศไทย จุดสำคัญของงานประชุมข้ามเพศมีสุขคือ การฉายภาพความร่วมมือจากภาคีหลายฝ่ายที่มีเป้าหมายเพื่อการหนุนเสริม และสนับสนุนบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับการข้ามเพศเป็นบริการที่เข้าถึงได้ง่าย มีคุณภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ และครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย

“เราพบปัญหาคนข้ามเพศรู้สึกโดดเดี่ยวเมื่อกลายเป็นคนไร้บ้าน และไม่อยากเป็นภาระของครอบครัว สุขภาพของคนข้ามเพศเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่ทุกคนจะเดินเข้าไปรับการบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน สำหรับคนข้ามเพศที่ทำงานด้านบริการ ยิ่งเด็กบางคนมาจากต่างจังหวัด ต้องทำให้เขารู้ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งเรื่องสุขภาพกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ ความมีคุณค่าเป็นหลักของชีวิต การที่จะทำให้คนหนึ่งคนมีสุขภาวะที่ดีคืองานของเราที่จะต้องครอบคลุมในทุกเรื่อง"

***

กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น รพ.รามาธิบดี

การมีสุขภาวะที่ดีของคนข้ามเพศเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน คนข้ามเพศมีจำนวน 0.7-1% ของประชากร (จำนวน 7 แสน - 1 ล้านคน) คนกลุ่มนี้ควรมีโอกาสได้รับสิทธิและความเคารพในฐานะที่เป็นมนุษย์ปุถุชน  แม้ว่าร่างกายและจิตใจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เกิดความคับข้องใจการใช้ชีวิตในสังคมว่าจะเป็นหญิงหรือเป็นชาย โดยเฉพาะการมองคนข้ามเพศว่าแปลกแยกจากสังคม  ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาวะ ปัญหาความรุนแรง สุขภาพจิต  ความเหลื่อมล้ำทาง กม. ขาดความเข้าใจจากสังคม

“หมอขอยกตัวอย่าง ด.ญ.ส้ม เป็น ด.ญ.ข้ามเพศ ก่อนเจอหมอเป็นเด็กเรียนดีได้เกรด 3.5 เมื่อมาพบหมอได้เกรด 1.8 เด็กตอบว่าสมองหนูคงไม่ดี ผิดๆ เพี้ยนๆ เรื่องเพศเรียนไม่รู้เรื่อง หมอบอกว่าที่ รร.แพทย์เราก็มีคนข้ามเพศ คนที่มีความหลากหลายทางเพศมาเรียน เด็กเล่าว่าหนูถูกครูเรียกว่าอีตุ๊ดควาย หนูคิดว่าสมองหนูไม่ปกติ เก่งไม่เท่าคนอื่น หมอดูแลส้มทางจิตใจ ทำให้เขาเชื่อมั่นในตัวเอง  เขาค่อยๆ เรียนดีขึ้นจากเกรด 1.8 เพิ่มเป็น 2.8 และ 3.2 ในวันสุดท้ายที่เจอกับหมอ หมอบอกว่าหมอจะไปเรียนต่อต่างประเทศ ส้มก็บอกว่าคุณหมอรอสอนหนูที่ รร.แพทย์ได้เลย หมอต้องขอบคุณ สสส.ที่เห็นความสำคัญของสุขภาวะของคนข้ามเพศ คลินิกแก้ไขปัญหาเกิดขึ้นใน กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา นครนายก ภาคตะวันออก เราต้องร่วมมือกันทำงาน สังคมต้องใช้ความกล้าหาญส่งเสียงเพื่อเข้าใจหัวใจคนอื่น ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นการสร้างความรักที่ยิ่งใหญ่”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง

โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด

เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน