สสส. สานพลัง ม.มหิดล – ภาคีเครือข่าย เดินหน้าเชิงรุก ผลักดันนโยบาย “พลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ”

สสส. สานพลัง ม.มหิดล – ภาคีเครือข่าย เดินหน้าเชิงรุก ผลักดันนโยบาย “พลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ” เพื่อสังคมสุขภาวะ สำรวจพบเด็ก-ผู้ใหญ่ มีปัญหารู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ติดจอเกิน 2 ชม. – ถูกหลอก – ส่งต่อข่าวลวง

เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย แถลงผลสำรวจ โครงการ “การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลในเด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียนและประชาชนไทย ยุค New Normal” นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อมีอิทธิพลกับทุกคน โดยเฉพาะสื่อดิจิทัลที่มีทั้งข้อมูลด้านบวกและลบ ทุกคนรับข่าวสารได้ตลอดเวลา เพราะเผยแพร่ได้ 24 ชม. ทำให้หลายปีที่ผ่านมา สสส. สานพลังภาคีเครือข่าย เดินหน้าสร้าง “ภูมิคุ้มกันสื่อดิจิทัล” ในคนทุกช่วงวัย เพื่อทำให้สังคมก้าวสู่การเป็น “พลเมืองรู้เท่าทันสื่อ” ที่มีทักษะ ร่วมรับผิดชอบ และช่วยกันพัฒนาระบบนิเวศสื่อสุขภาวะที่ดีและสมดุลได้ ผ่านความรู้ทางวิชาการ และพัฒนาข้อเสนอต่างๆ ขับเคลื่อนนโยบายกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

นางญาณี กล่าวต่อว่า การสำรวจสถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อฯ มีกลุ่มตัวอย่าง 9,506 คน ประเมินสมรรถนะ 4 ด้าน 1. เข้าถึงสื่อ อย่างปลอดภัย 2. วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมิน 3. สร้างสรรค์เนื้อหา 4. ประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลง ใช้วิธีการสำรวจแบ่งตามช่วงวัย คือ เด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี และเด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี ใช้แนวคิด Media Information and Digital Literacy (MIDL) ส่วนเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ ประเมินการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศอ้างอิงตามหลักการของยูเนสโก้ โดยข้อสรุปทั้งหมดจะนำไปใช้เป็นข้อมูลขับเคลื่อนนโยบาย ซึ่งตรงตามเจตนารมณ์ของ สสส. ที่ต้องการทำให้เรื่องนี้เป็นนโยบายระดับชาติที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพื่อสุขภาวะที่ดีของทุกคนบนแผ่นดินไทย

ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน หัวหน้าโครงการสำรวจสถานการณ์รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และการเข้าใจดิจิทัลของประชาชนไทยยุค New Normal กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กและประชาชนทุกวัยเข้าถึงและใช้สื่อมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ระบาดการสำรวจครั้งนี้พบว่า กลุ่มเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียนรู้เท่าทันสื่อในระดับดีมาก ส่วนประชาชนอยู่ในระดับดี แต่เมื่อเจาะลึกกลับพบปัญหาที่ฝังอยู่ คือ เด็กมีภาวะติดจอ อยู่กับโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์นานกว่า 2 ชั่วโมง, เด็กเสี่ยงถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีทางออนไลน์, ผู้ใหญ่ยังส่งต่อข้อมูลหรือเผยแพร่ข่าวลวง ถูกหลอก ถูกชักจูงใจจากภัยออนไลน์ จึงสานพลังกับ สสส. สร้างความเข้าใจและทำให้ทุกคนตระหนักถึงการรู้เท่าทันสื่อ ปีนี้ต้องการเสนอให้มีหน่วยงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มาเป็นกำลังหลัก ร่วมผลักดันเรื่องการรู้เท่าทันสื่อสู่ภาคนโยบาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลกินเจ 2567 สสส. สานพลัง เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ชวนคนรุ่นใหม่ กินเจปลอดภัย ห่างไกล NCDs

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เทศกาลกินเจ เป็นเทศกาลแห่งการสั่งสมบุญกุศล ละเว้นเนื้อสัตว์ เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ถือเป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ แต่อาหารเจส่วนมากมีรสหวาน มัน และเค็มจัด จากการสำรวจการบริโภคโซเดียมในคนไทย ปี 2566 พบว่า

ขับเคลื่อนแอป "เณรกล้า โภชนาดี" แก้ปัญหาทุพโภชนาการ...สามเณร

พระสงฆ์และสามเณร เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคของพระสงฆ์ คือภาวะไขมันในเลือดสูง

“รองนายกฯ ประเสริฐ” ประชุมบอร์ด สสส. นัดแรก เห็นชอบแผนปี 68 มอบนโยบายเคลื่อนสุขภาพ 4 ด้าน “อายุคาดเฉลี่ย-ออกกำลังกาย-ยาเสพติด-ภัยออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2567 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี

“สุขภาวะเพศคือ สุขภาวะของประเทศไทย”

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่คุกคามคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่น

เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ

นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ