อธิบดีกรมการจัดหางาน เผยรายได้ที่แรงงานไทยในต่างประเทศกว่า 1 แสนคน ส่งกลับประเทศผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศไทย ในปี 2565 และ 2566 ยอดรวม 2 ปี สร้างรายได้เข้าประเทศ 299,077 ล้านบาท
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด คลี่คลาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกกลับมาสู่สภาพปกติ ตลาดแรงงานในต่างประเทศ มีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งแรงงานไทยโดยเฉพาะแรงงานประเภทฝีมือ และกึ่งฝีมือนับเป็นแรงงานคุณภาพที่นายจ้างในต่างประเทศต้องการตัว เนื่องจากแรงงานไทยมีทักษะฝีมือดี ขยัน มีน้ำใจ จนเป็นที่ยอมรับ โดยในปี 2565 และปี 2566 กรมการจัดหางานมีการอนุญาตให้แรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศ ทั้งสิ้น 113,186 คน แยกเป็นปี 2565 จำนวน 88,164 คน และปี 2566 (ณ เดือนมีนาคม)จำนวน 25,022 คน โดยประเทศที่แรงงานไทยเดินทางไปทำงานมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ไต้หวัน สาธารณรัฐเกาหลี อิสราเอล ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ตามลำดับ ซึ่งรายได้ที่แรงงานไทยในต่างประเทศส่งกลับบ้าน ผ่านระบบธนาคารแห่งประเทศไทย มีมูลค่าถึง 299,077 ล้านบาท
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อไปว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมการจัดหางานมีเป้าหมายจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 50,000 คน โดยมุ่งเน้นรักษาตลาดแรงงานเดิม ด้วยการส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่องกับงานภาคเกษตรในรัฐอิสราเอล ภายใต้โครงการ “ความร่วมมือไทย-อิสราเอล เพื่อการจัดหางาน (TIC) งานภาคอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น ผ่านองค์กร IM JAPAN และงานภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรม และการเกษตรในสาธารณรัฐเกาหลี ผ่านระบบ EPS ควบคู่การขยายตลาดแรงงานใหม่ที่มีแนวโน้มความต้องการแรงงานไทย อาทิ งานเกษตรตามฤดูกาลในสาธารณรัฐเกาหลี งานภาคก่อสร้างในอิสราเอล งานภาคก่อสร้างและภาคบริการทางการแพทย์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ในซาอุดีอาระเบีย เพื่อเพิ่มโอกาสการมีอาชีพ มีรายได้ ให้พี่น้องแรงงานไทย ลดปัญหาการว่างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจ และนำเงินกลับเข้าประเทศไทย
ทั้งนี้ แรงงานไทยที่ต้องการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 -10 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 หรือเว็บไซต์กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ doe.go.th/overseas โดยขอย้ำให้แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศด้วยวิธีที่ถูกกฎหมายเท่านั้น เพราะจะทำให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ได้ค่าจ้างที่เหมาะสม และยังได้รับการดูแลที่ดีตามสิทธิที่พึงมีด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่