ก.แรงงาน เร่งเสริมทัพ upskill แรงงานป้อนอุตสาหกรรมดิจิทัลปีละกว่า 2 หมื่นคน

ปลัดกระทรวงแรงงาน สั่งการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งฝึกทักษะแรงงานป้อนอุตสาหกรรมดิจิทัล ตั้งเป้าปีละกว่า 2 หมื่นคน ลั่น ! อยู่ไหนก็เรียนรู้ได้

นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดแรงงานกำลังขาดแคลนมนุษย์ไอทีเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทุกคนต้องทำงานจากบ้านโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยซึ่งหลายองค์กรต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลมาเสริมทัพทำให้ตลาดแรงงานเกิดการแข่งขันสูง เช่น อาชีพพัฒนาซอฟต์แวร์ พัฒนาเว็บ ระบบข้อมูลและฐานข้อมูล Internet of Things ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลและการตรวจสอบ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลขั้นสูง แรงงานที่สามารถปรับตัวเรียนรู้และวิวัฒนาการได้เร็วที่สุด จำเป็นต้องอาศัยการแปลและการเรียนรู้จากข้อมูล (DATA) และจากเหตุผลดังกล่าว ทำให้แรงงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ เพิ่มทักษะเพื่อยกระดับความสามารถต่อยอดในสายงาน หรือตำแหน่งงานที่กำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบันเพื่อความอยู่รอด ทั้งนี้ ได้สั่งการให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งดำเนินการอัพสกิลให้แก่แรงงานเพื่อรองรับความต้องการแรงงานด้านดิจิทัลได้อย่างทันท่วงที

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวต่อไปว่า ในปี 2566 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนากำลังแรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลจำนวน 23,214 คน มอบหมายให้หน่วยงานของกรมดำเนินการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่แรงงาน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบเป้าหมายพัฒนากำลังแรงงานป้อนอุตสาหกรรมดิจิทัลทั่วประเทศ จัดฝึกทั้งในรูปแบบ Online และ Onside อาทิ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 29 ฉะเชิงเทรา เปิดฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างโอกาสและสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัล ระยะเวลาการฝึก 18 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 2 สุพรรณบุรี หลักสูตร และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานเลย การใช้งาน Internet of Things ในงานอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม เป็นต้น หลักสูตรฝึกอบรมด้านดิจิทัล 5 อันแรกที่มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมมากที่สุดในปี 2566 ได้แก่ การใช้โปรแกม Microsoft Excel Advance การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อธุรกิจออนไลน์ การพัฒนาโปรแกมภาษา JavaScript ด้วย NodeJS การใช้งาน Google application เพื่อเชิงธุรกิจ และการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวในงานแอพพลิเคชั่นประมวลผลด้วยภาษา Python

ในปี 2567 เป้าหมายในการพัฒนากำลังแรงงานด้านดิจิทัล จำนวน 27,754 คน โดยเน้นอาชีพใหม่ดิจิทัลที่จะเกิดขึ้น เช่น นักพัฒนาซอฟแวร์ อาชีพพัฒนาเว็บ อาชีพพัฒนาสื่อดิจิทัล อาชีพด้านความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลและการตรวจสอบ และกลุ่มอาชีพด้านระบบข้อมูลและฐานข้อมูล เป็นต้น

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกมาเรียนที่หน่วยงาน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (DSD Online Training) โดยลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ DSD Online Training มีหลักสูตรให้เลือกเรียนหลากหลายซึ่งหลักสูตรที่ได้รับความนิยมมากสุด 5 อันดับ ได้แก่ เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โปรแกรม Microsoft Excel การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยกูเกิลแอปพลิเคชัน เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โปรแกรม Microsoft Word Microsoft Excel Intermediate และ Microsoft Word Intermediate เมื่อจบการอบรมแล้วจะได้รับวุฒิบัตรผ่านออนไลน์อีกด้วย หรือสมัครฝึกอบรมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล DiSDA มีหลายหลักสูตรให้เลือกทั้งผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้สนใจขยายธุรกิจสู่ออนไลน์ ให้เป็นมือใหม่ขายของออนไลน์รายได้ปัง เช่น เริ่มต้นสร้างธุรกิจอย่างง่าย ๆ ด้วย Facebook หาสินค้าให้ตรงใจ เสริมช่องทางการขายด้วย Instagram เพิ่มการรับรู้แบรนด์ด้วย TikTok ปิดการขายยังไงให้ขายดี และจัดการหลังร้านแบบมืออาชีพ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจต้องการฝึกอบรม สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DiSDA) สถาบันและสำนักพัฒนาฝีมือแรงงาน ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์” หารือมูลนิธิเพื่อการพัฒนาดิจิทัล ร่วมมือพัฒนาทักษะและสมรรถนะดิจิทัลแรงงาน สร้าง มาตรฐานฝีมือแรงงาน ด้าน AI

วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 11.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาดิจิทัล และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อหารือ

เร่งขยายผลแก๊งพาคนไทยไปเก็บผลไม้ที่ฟินแลนด์ผิดกฎหมาย

'คารม' เผยกรมการจัดหางาน เร่งขยายผลขบวนการนำพาคนหางานเก็บผลไม้ป่าฟินแลนด์ผิดกฎหมาย ย้ำขณะนี้ยังชะลอจัดส่งแรงงานไทยทำงานเก็บผลไม้ป่า แนะผู้สนใจไปทำงานต่างประเทศปฏิบัติตามกฎหมาย

“พิพัฒน์”ต้อนรับทูตโอมาน ส่งแรงงานนับพันคน พร้อมชวนลงทุนด้านท่องเที่ยวและพลังงานในประเทศ

วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายอิสซา อับดุลเลาะฮ์ ญาบิร อัลอาลาวี (Mr. Issa Abdullah Jaber Al-Alawi)

ครม. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ ส่งแรงงานไทยไปเกาหลี ฉบับที่ 7

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้ 1.ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ด้านการส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี

“พิพัฒน์” ยกคุณภาพแรงงานฟาร์มสุกร ใช้แนวปฏิบัติสากล (GLP) มุ่งเพิ่มโอกาสการค้าในตลาดโลก

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU

สปส. เสริมแกร่งนักประชาสัมพันธ์ประกันสังคม สร้างการรับรู้ ดูแลสวัสดิการผู้ประกันตนให้ทั่วถึงรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาศักยภาพนักประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประกันสังคม โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์