ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาระบบอาหารไม่สมดุล เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีในการเกษตรเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตจำนวนมาก และส่งผลผลิตขายที่ตลาดกลางโดยมีพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา ทำให้เกษตรกรถูกกดราคาผลผลิต มีปัญหาหนี้สะสมและปัญหาสุขภาพจากการใช้สารเคมี ปัญหาตกค้างในสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคต้องเผชิญกับสารเคมีที่ปนเปื้อนในอาหาร
นับเป็นประเด็นปัญหาสุขภาวะโดยรวมของสังคมไทยอย่างแท้จริง และถือเป็นความจำเป็นที่ภาคเกษตรต้องเรียนรู้และยอมรับการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง สู่การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างคุณค่า ความปลอดภัย และการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยราคาที่เป็นธรรม ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นทาง
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีพันธกิจในการสร้างสังคมสุขภาวะเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายตลอดจนชุมชนต่างๆ เดินหน้าสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยทางโภชนาการ รวบรวมฐานข้อมูลของประเทศเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในเชิงรุก และบูรณาการร่วมกันในการบริหารจัดการ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส.และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า มูลค่าผลผลิตทางอาหารเป็นตัวเลขหลายแสนล้านบาท การกินมีส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาพดี สสส.บูรณาการระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ครบวงจร มียุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ ได้แก่
1.ขับเคลื่อนการบูรณาการภายใต้แนวคิด “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 2.สาน เสริมพลังภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ร่วมกันต่อยอดและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3.ยกระดับต้นแบบและขยายผลงานอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับพื้นที่ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนเกิดความรอบรู้และเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้โมเดลธุรกิจที่เกื้อกูลสังคม นำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างสมดุลภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน
"สวนสามพราน" เป็นองค์กรต้นแบบในการขับเคลื่อนธุรกิจเกื้อกูลสังคม จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนบนฐานการค้าที่เป็นธรรม และเป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต สอดแทรกการใช้ระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ที่ครบวงจร ที่เริ่มจากการเตรียมการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ซื้อ/ขาย การจัดการขยะ มีการออกแบบให้สามารถเรียนรู้ใน 6 ด้าน คือ 1.ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม 2.อาหารและการเกษตร 3.ดูแลสุขภาพองค์รวม 4.พลังงานทดแทนชีวเคมี 5.ท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 6.เศรษฐกิจหมุนเวียน ฟื้นฟูระบบอาหารให้สมดุลระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค เชื่อมช่องทางการตลาด รวมทั้งพัฒนาให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย 193 คน ให้ได้การรับรองผลผลิตแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee Systems) และเตรียมยกระดับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลต่อไป
นายอรุษ นวราช กรรมการผู้จัดการบริษัท สวนสามพราน จำกัด นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) รวมทั้งนายชฤทธิพร เม้งเกร็ด ผู้จัดการโครงการมูลนิธิสังคมสุขใจ กล่าวถึงการขับเคลื่อนระบบอาหารเพื่อสุขภาวะครบวงจรว่า สวนสามพรานเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Inspire Learning for Change) เป็นองค์กรต้นแบบในการขับเคลื่อนธุรกิจเกื้อกูลสังคม และนำ BCG Model มาประยุกต์ใช้ในนโยบายด้านความยั่งยืน ขับเคลื่อนนวัตกรรม “สามพรานโมเดล” พื้นที่ศูนย์เรียนรู้มีชีวิตสอดแทรกการใช้ห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ เริ่มจากการเตรียมการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ซื้อ ขาย การจัดการขยะ
ผู้บริหารสวนสามพรานเล่าด้วยว่า ตนเองมาจากวงการโรงแรม มีส่วนก่อตั้งสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) ผลักดันเกษตรกรทำธุรกิจให้เป็น ผู้ประกอบการเกื้อกูลร่วมขับเคลื่อนห่วงโซ่ทั้งสังคม นำเสนอข้อมูลตามผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหารจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม สหรัฐฯ มีสมาคมเกษตรอินทรีย์ 30 ปีมาแล้ว มีสมาชิกหลายล้านคน แนะนำเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ ขณะเดียวกันก็ต้องมีการตลาดนำด้วย มิฉะนั้นก็พาเขาไปตกเหว การทำงานกับผู้บริโภคสิ่งที่ยากที่สุดคือ การโน้มน้าวให้ทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม การหยุดใช้สารเคมีจะส่งผลให้มีสุขภาพดีขึ้น เกิดความยั่งยืน เกษตรกรปลดหนี้ 7 แสนบาทภายใน 5 ปี ถ้าไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โรงแรมเป็นหุ้นส่วนที่ดีกับเกษตรกร ธุรกิจโรงแรมก็ดีขึ้น เกษตรกรมีฐานะดีขึ้น สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้น อาหารการกินก็ดีขึ้น มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมตลอดห่วงโซ่
หลังจากก่อตั้งสมาคม TOCA ได้ 3 ปี เกิดโควิด จึงจัดทำTOCA PLATFORM พบกันทางออนไลน์ มีการทำเอกสารบันทึกผลงาน การใช้วัตถุดิบอาหาร ลดคาร์บอนฟุตปรินต์ การท่องเที่ยวฯ สสปน.ให้การสนับสนุนการสะสมแต้ม ให้รางวัลสนับสนุนการไปเที่ยวโรงแรมที่เชียงใหม่ ภูเก็ต ร้านอาหารที่ปรุงด้วยวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ เกิดความเชื่อมั่นกับทุกฝ่ายด้วยความโปร่งใสในห่วงโซ่อาหาร
การทำงานต้องสร้างเครือข่ายสามพรานโมเดล ขับเคลื่อนโดยมูลนิธิสังคมสุขใจ ช่องทางการตลาดสุขใจเป็น Showroom ที่ต้องมาเรียนรู้ ตลอด 10 ปีขับเคลื่อน 150 ครอบครัว จำนวน 16 กลุ่ม เกษตรกรส่วนหนึ่งหยุดไปในช่วงโควิด เป็นการทดสอบความเข้มแข็' เกษตรกรส่วนหนึ่งยังพัฒนาตัวเองด้วยการทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตัวเอง ทำธุรกิจเป็นด้วยการแปรรูปสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่า
เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือ และเข้าถึงเข้าใจในเส้นทางความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร "สวนสามพรานโมเดล" ก็จะสามารถขยายเครือข่ายต้นแบบได้อย่างหลากหลายและเป็นระบบ ซึ่งหมายถึงอนาคตที่ยั่งยืนของระบบเกษตรปลอดภัยในประเทศไทยอย่างแน่นอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง