กยท.โชว์ฝีมือการทำงาน สร้างความพร้อมให้กับวงการยางพาราไทยทุกภาคส่วน เดินหน้าจัดระบบพร้อมรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยางได้ถึงแหล่งกำเนิด รับเทรนด์โลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และผลผลิตยางที่มาจากสวนยางบนที่ดินถูกกฎหมาย ไม่รุกเขตป่าสงวน
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิด ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ยางพารา ถือเป็นนโยบายสำคัญที่ กยท. กำลังมุ่งเน้นดำเนินการ เพื่อรองรับมาตรการต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากปัจจุบันเทรนด์โลก ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงประเทศผู้นำเข้ายางรายใหญ่ เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยางต้องผลิตมาจากสวนยางที่มีเอกสารสิทธิถูกกฎหมายของประเทศผู้ผลิตต้นทาง และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และผลจากที่ กยท. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้วันนี้ประเทศไทยมีความพร้อมมากเกี่ยวกับเรื่องนี้
“กยท. ได้ดำเนินการในมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการดำเนินงานที่จัดให้มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนแล้วถึง 8 ล้านคน พร้อมทั้งมีการทำข้อมูลพื้นที่ปลูก ที่ตรวจสอบได้ว่าพื้นที่ปลูกยางพารานั้น เป็นเอกสารในรูปแบบโฉนด หรือ เอกสารสิทธิ์อื่น ๆ ขณะที่ด้านผลิตภัณฑ์ยางก็สามารถทราบถึงที่มา แหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ยางนั้นว่าจากสวนยางของเกษตรกรรายไหนและตั้งอยู่ในพื้นที่ใด ด้วยความพร้อมด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่เกษตรกร และสถาบันเกษตรได้ดำเนินการร่วมกับ กยท. ทำให้ยืนยันได้ว่า เกษตรกรแต่ละคน สถาบันเกษตรกรแต่ละแห่ง ได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกยางอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับตลาดกลางยางพารา ที่เป็นแหล่งของการซื้อขายยางพารา แหล่งอ้างอิงถึงพื้นที่ปลูกยางพารา ซึ่งทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบย้อนกลับ” นายณกรณ์ กล่าว
นายณกรณ์ กล่าวอีกว่า จากการดำเนินงานของ กยท. ตลอดช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่า ผลผลิตของยางตั้งแต่ต้นกำเนิด จนมาถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
“จากนโยบายที่ส่งเสริมให้มีการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิด ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ยางพารา จะช่วยสร้างผลดี และประโยชน์อย่างมาก ทั้งต่อผู้ซื้อ ที่สามารถทราบถึงแหล่งกำเนิด ทำให้รู้ได้ว่า มาจากไหน มีกระบวนการจัดการแปลงอย่างไร นำไปสู่การสร้างผลตอบแทนที่จะได้รับมากขึ้น ส่วนด้านของผู้ผลิต ผู้ขาย ถือเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเรื่องของการส่งออก กยท.จึงขอยืนยันว่า นโยบายนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี” นายณกรณ์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กยท.เดินหน้าเพิ่มปริมาณยางEUDR 2ล้านตัน/ปี เปิดไฟเขียวMOUกับเอกชนเพิ่มมูลค่ายาง6,000 ล้านบาท
กยท.เดินหน้าส่งเสริมสวนยางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มปริมาณยางEUDR 2 ล้านตัน/ปี รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เปิดไฟเขียวขยาย MOUความร่วมมือทางด้านธุรกิจกับภาคเอกชน
กยท. ขยายตลาดยาง EUDR ต่อเนื่อง จับมือ ไทยรับเบอร์ฯ เซ็น MOU ซื้อขายน้ำยางสด 5 พันตันต่อเดือน
กยท. ทำได้จริงเปิดดีลซื้อขายน้ำยาง EUDR ต่อเนื่อง จับมือเอกชนรายแรก ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป เซ็น MOU ซื้อยางในราคาพรีเมี่ยม
กยท. มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก. ทุ่ม400ล. เปิดโรงงานยางแท่ง STR20 รองรับEUDRตรวจสอบย้อนกลับ100%
กยท.มั่นใจก่อนสิ้นปีนี้ราคายางทะลุ 100 บาท/กก.อย่างแน่นอน ย้ำชัดครั้งนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ประกาศเดินหน้าเอาจริงปราบยางเถื่อนตรวจสอบเส้นทางด้านการเงิน
กยท.ดีเดย์ซื้อปลาหมอคางดำ 1 ล้านกก. ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพิ่มผลผลิตให้ยางพารา
กยท.ดีเดย์ เริ่มรับซื้อปลาหมอคางดำแล้วเป็นวันนี้เป็นวันแรก ตั้งเป้าหมาย 1 ล้านกก. นำร่องในพื้นที่การระบาด 16 จังหวัด ราคา 15 บาท/กก.
ครบรอบ 9 ปี กยท. จัดใหญ่ “Thai Rubber, The Next Chapter” พร้อมผ่าผลงาน 4 ปี "ณกรณ์ ตรรกวิรพัท"
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดงานใหญ่ครบรอบปีที่ 9 โชว์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
จับตา...ราคายางครึ่งปีหลังสดใส ประเทศไทยประกาศพร้อมรับมือกฎเหล็ก EUDR
ภายหลังจากรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์