นวัตกรรมดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม ลดเครียดคนดูแล-สร้างสุขคนป่วย

สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) อยู่ภายใต้กะโหลกหน้าผาก เสมือนหนึ่งเป็น CEO ขององค์กรควบคุมการคิด การตัดสินใจ อารมณ์ การแสดงออกและการกระทำของมนุษย์ โดยทำงานร่วมกับสมองส่วนอื่นๆ โดยมีวงจรเส้นใยประสาทเชื่อมต่อถึงกันทั้ง Motor Cortex การเคลื่อนไหว Sensory Cortex ความรู้สึกต่างๆ Parietal  Lobe การรับรู้ การรู้จักโลก การคิดคำนวณ Temporal  Lobe ความจำ การเข้าใจและภาษา

นั่นหมายความว่า ชุดกระบวนการทางความคิด (Mental Process) ช่วยให้เราวางแผน มุ่งใจจดใจจ่อจดจำคำสั่ง จัดการงานหลายๆ อย่างที่ประดังเข้ามาจนสำเร็จได้  จัดลำดับความสำคัญของงานไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง

แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ โอกาสที่จะสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรม และกระทบชุดกระบวนการทางความคิดโดยตรงและโดยอ้อม

ดังนั้น การเรียนรู้ ป้องกัน เยียวยา ตลอดจนอยู่ให้เป็นกับภาวะสมองเสื่อม จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นมิติที่มองข้ามไม่ได้ เพราะสังคมผู้สูงวัยในประเทศไทยนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันมีจำนวน 13% ของประชากรทั้งหมด

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสังคมและสุขภาพ และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงนามบันทึกข้อความตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่องการพัฒนาหลักสูตร และการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth  Academy) โดยตระหนักถึงการให้ความรู้และสร้างเครื่องมือสำหรับการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมนั่นเอง 

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส  สสส. กล่าวว่า ปี 2566 ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ  จึงพัฒนาหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disabilities in Alzheimer's Disease (RDAD) เพราะข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2555 ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 8.1% ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยผู้ดูแลมักมีปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ

“การพัฒนาหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมจาก South Carolina ถูกพัฒนาให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย  นำไปปฏิบัติได้จริงในทุกกลุ่มวิชาชีพ เหมาะทั้งกับญาติ ผู้ดูแลและ อสม. ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรด้านสุขภาพอย่างเดียว ทำให้สังคมผู้สูงวัยเกิดความพร้อมในด้านต่างๆ ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายขบวนการสร้างเสริมสุขภาพ  นอกจากเป็นหลักสูตรแล้ว Thaihealth Academy มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมภาคเอกชนและภาครัฐในเขต กทม.” นางเบญจมาภรณ์กล่าว

ผศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผอ.สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ ThaiHealth Academy กล่าวว่า สสส.พัฒนาหลักสูตรร่วมกับภาคีเครือข่ายขยายไปยังชุมชน โดยมีคณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม สร้างผลสัมฤทธิ์ในการเข้าไปดูแลผู้ป่วยสูงอายุ โอกาสที่ผู้สูงวัยจะป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม จึงเป็นงานที่ท้าทายว่าเราจะออกแบบอย่างไรให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ได้รับการดูแลอย่างดีจากครอบครัว ไม่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโรงพยาบาล เป็นการตอบโจทย์การดูแลสังคมผู้สูงวัยอย่างเป็นรูปธรรม

“หลักสูตรตอบความต้องการสังคมผู้สูงวัย ความทุกข์ของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมจะได้รับคำตอบนำไปปฏิบัติ  ทุกวันนี้ผู้สูงอายุมีปัญหาสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ 10% ของผู้สูงอายุในเมืองไทยเจ็บป่วยที่ต้องพึ่งยาต้านการซึมเศร้า ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองเสื่อม มีปัญหาความทรงจำเสียไป จำไม่ได้ว่ากินอาหารแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีความก้าวร้าว ใช้คำพูดรุนแรง ยืมของแล้วไม่คืนเจ้าของ ขณะนี้ยังไม่มียารักษาทำให้สมองฟื้น คือสมองเสื่อมแล้วเสื่อมเลย แต่เราจะต้องสร้างกระบวนการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ไม่ให้เกิดปัญหากับคนอื่น”

ผศ.นพ.เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย คณบดีแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าการสานพลังพัฒนาหลักสูตร และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดัน ให้หลักสูตรถูกพัฒนาขึ้นจริง ในเนื้อหาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หรือหลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่นิสิต/นักศึกษา ร่วมขับเคลื่อนสุขภาวะด้านสุขภาพชุมชน ดังวิสัยทัศน์ และอัตลักษณ์จิตอาสาเพื่อสังคม ของคณะแพทยศาสตร์ ม.มหาสารคาม เป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชนต่อไปในอนาคต

มหาวิทยาลัยมหาสารคามก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์  มุ่งหวังให้เป็นเลิศด้านเวชศาสตร์ครอบครัวมากที่สุดในเมืองไทย นิสิตที่เรียนจบแล้วมีองค์ความรู้ที่โดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์ครอบครัว สร้างเครือข่ายทางด้านชุมชน ผลงานวิจัยตอบสนองต่อชุมชนและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะปัญหาสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ความพิการในผู้สูงอายุ การดูแลรักษา ต้องนำองค์ความรู้สถาปัตย์ วิศวกรรมนำมาตอบสนองปัญหาสมองเสื่อม การสร้างนวัตกรรมสำหรับผู้สูงอายุ การสร้างหอพักผู้ป่วยหลังใหม่เป็น Wellness Center ดูแลผู้สูงอายุเป็นคนไข้หลัก มีอาสาสมัครเข้ามาทำงานเป็นทีม

***

ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

หัวหน้าโครงการสร้างความร่วมมือ

เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ

มูลนิธิสังคมและสุขภาพ ร่วมกับ โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด (Harvard Medical School) ม.South Carolina ดำเนินงานโครงการวิจัยเรื่องการสร้างความร่วมมือเพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมสูงอายุ พัฒนาเป็นหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมด้วยโปรแกรม Reducing Disabilities in Alzheimer's Disease (RDAD) เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อรับมือกับพฤติกรรมทางกายที่ผิดปกติ และลดภาวะความพิการในผู้ป่วย ซึ่งจะส่งผลต่อการลดความเครียดของญาติ หรือผู้ที่ดูแลไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ รศ.ดร.พญ.ศิรินาถ  ตงศิริ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา ม.มหาสารคาม ควบคุมงานวิจัยเพื่อนำมาปรับใช้ การให้บริการด้านสุขภาพเป็นเรื่อง Long Term Care ขยายผลไปยังอำเภอใกล้เคียงทุกอำเภอใน จ.ขอนแก่น 4 จังหวัดในเขต 7

การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมด้วยการให้กำลังใจ ดร.ลินดา เทอรี พยาบาลที่วอชิงตัน ซีแอตเติล ใช้เทคนิค RDAD เข้ามาดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเรื้อรังทั้งหลายในโลก  ดูแลง่ายๆ หลายขั้นตอน แม้จะเป็นสังคมตะวันตกแต่ก็นำมาใช้ในชนบทไทยได้ “คุณหมอศิรินาถเขียนมาปรับใช้ RDAD ให้เหมาะสมกับสังคมวัฒนธรรมไทย ให้เข้ากับ Long Term เพื่อดูแลคนไข้สมองเสื่อม ทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ GTO เป็นเครื่องมือนำมาใช้ได้อย่างดี ทำให้คนไม่เก่งสามารถทำงานได้ด้วยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ฝึกอบรมพัฒนาทักษะ”

ตำราที่ใช้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ก็นำมาปรับใช้ควบคู่กับงานวิจัยในเมืองไทย ขณะนี้เริ่มต้นที่ จ.มหาสารคาม อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ และภาคกลาง มีการนำเคสคนไข้เล่าเรื่องเป็นองค์ความรู้ที่นำมาถอดบทเรียน ข้อสังเกตผู้สูงวัยสมองเสื่อมจะไม่ลืมเรื่องดนตรี ปกติสมองมนุษย์มีหลายส่วน เมื่อเสื่อมแล้วเสื่อมเลย สมองส่วนที่ชื่นชมอยู่ส่วนหน้า ส่วนสมองที่เกี่ยวกับสัญชาตญาณยังอยู่ดี การใช้ดนตรีบำบัดสมองเสื่อม ร้องเพลงคาราโอเกะได้ดีไม่ลืม

ผู้สูงวัยสมองเสื่อมบางคนชอบปลูกต้นไม้ แต่ญาติไม่ให้ทำ หรือผู้สูงวัยบางคนชอบทอเสื่อกระจูด แม้ในขณะทำมือจะสั่นเส้นจูดไม่เสมอกัน ทอเบี้ยว หักงอไม่สวยงาม นำไปขายไม่ได้ ญาติพี่น้องไม่ให้ทำ ทั้งๆ ที่เมื่อผู้สูงวัยทำแล้วจะเพลิดเพลิน เป็นการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน

สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้

เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต