“หมอเอก” เปิดพิรุธกฎหมายคุมยาสูบ แฉผู้มีอำนาจ “ชงเอง-กินเอง”

“หมอเอก” เปิดพิรุธกฎหมายคุมยาสูบ แฉผู้มีอำนาจ “ชงเอง-กินเอง” เผยคณะอนุฯกมธ. ชงคุมบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เล็งหารายได้ภาษีเพิ่มและปิดทางเข้าถึงเยาวชน


“หมอเอก” แฉปัญหาคุมยาสูบ เครือข่ายรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่แฝงนั่งกรรมาธิการทุกโต๊ะ ตั้งข้อสังเกตถึงผลประโยชน์ทับซ้อน ประกาศเดินหน้าดันบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายตามมติเห็นชอบรายงานของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข หลังเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมประชุมทำรายงานส่วนได้ส่วนเสียส่งเสนอรัฐ พร้อมโปรยยาหอมถ้าถูกกฎหมายรัฐได้ประโยชน์เต็มๆ จากตลาดบุหรี่ไฟฟ้า 2 หมื่นล้าน และแก้ปัญหาการเข้าถึงของเยาวชน

นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ (หมอเอก) ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เชียงราย เขต 1 พรรคภูมิใจไทย ในฐานะรองประธานอนุกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ปัญหาการควบคุมยาสูบในประเทศในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากกลุ่มคนที่มีเครือข่ายผลประโยชน์เข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้ เริ่มต้นจากการเข้าไปนั่งเป็นกรรมาธิการร่างกฎหมายคุมยาสูบในกระทรวงสาธารณสุข เมื่อร่างกฎหมายเสร็จ ก็ส่งต่อไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในสมัยนั้น หลังจากนั้นสภาก็ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายนี้ ซึ่งคนกลุ่มเดิมก็ได้เข้ามานั่งพิจารณาเรื่องนี้ด้วย ซึ่งถือเป็น conflict of interest อย่างหนึ่ง เพราะคนกลุ่มนี้ใช้อำนาจที่มีผลักดันและผ่านร่างกฎหมายที่ตนเองเป็นผู้เสนอเอง

“เมื่อกฎหมายผ่าน สนช. สิ่งที่เจอ คือ คนกลุ่มนี้ก็ได้เข้าไปนั่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในกฎหมายนี้ เมื่อได้นั่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิแล้วก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น 1.มีสิทธิ์ในการกำหนดทิศทางและนโยบาย และเมื่อได้กำหนดทิศทางที่ตัวเองต้องการได้แล้วก็ไปนั่งเป็น NGO ไปนั่งเป็นประธานมูลนิธิ นั่งเป็นเครือข่าย เมื่อได้สิทธิ์ในการกำหนดทิศทางก็จะกำหนดงบประมาณไปที่ NGO เรียกได้ว่าเป็นการยกเอง ชงเอง และกินเอง ซึ่งข้อมูลตรงนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังไม่ได้ตอบคำถามกับกรรมาธิการ ว่าคนกลุ่มนี้ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไรกันบ้าง”

เป็นที่น่าสังเกตว่าที่ผ่านมา ผู้ทรงคุณวุฒิบางรายที่มีบทบาททับซ้อนเหล่านี้เคยได้ไปร่วมคณะผู้แทนไทยในการประชุมยาสูบระดับโลกหลายครั้ง อาทิ การประชุมภาคีสมาชิกกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ พร้อมทั้งนำเสนอนโยบายและเห็นชอบเอกสารต่างๆ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ทั้งที่ควรจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องแก้ไขและทบทวนองค์ประกอบของคณะผู้แทนไทยก่อนการไปเข้าร่วมประชุมภาคีสมาชิกครั้งที่ 10 (COP10) ที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย. นี้ นอกจากนี้ ยังมีการใช้มีการใช้กฎหมายมาเล่นงานกับกลุ่มคนที่เห็นต่าง คนกลุ่มนี้พอเข้าไปนั่งเป็นอนุกรรมาธิการกฎหมายของคณะกรรมการควบคุมยาสูบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้กลุ่มคนที่เห็นต่าง อย่างเช่น สื่อมวลชน ถูกดำเนินคดี ทางกฎหมาย เช่นเดียวกับแพทย์หลายคน ที่ถูกร้องเรียนไปยังแพทย์สภา

สำหรับความคืบหน้าการทำรายงานบุหรี่ไฟฟ้าของคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) นั้น ขณะนี้รายงานดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการส่งต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ และบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นที่เรียบร้อย ภายหลังจากมีการศึกษาอย่างรอบด้านด้วยการเชิญบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเช่น ชาวไร่ยาสูบ ผู้สูบบุหรี่ ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า ประชาชนที่เคยโดนจับกุมจากการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มสื่อมวลชนที่ถูกกล่าวหาดำเนินคดีเกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับยาสูบอย่างไม่เป็นธรรม หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน นักวิชาการจากต่างประเทศ ผู้ที่ทำงานต่อต้านยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้า นักวิชาการต่อต้านยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้า เข้ามาร่วมให้ข้อมูล

​ส่วนข้อสรุปของผลการประชุมมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ 1.จุดเริ่มต้นของการศึกษาการควบคุมยาสูบในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถลดจำนวนผู้สูบได้อย่างที่ต้องการ ตามแผนปี 2557 และปี 2562 ที่ต้องการจะลดจำนวนผู้สูบให้ได้ประมาณ 16% จากจำนวนผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยที่มีประมาณ 10 ล้านคน หรือประมาณ 18-20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นอย่างนี้มาประมาณ 10-20 ปีได้แล้ว ​นอกจากนี้ ถ้าไปดูข้อมูลในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนิวซีแลนด์ จะพบว่า ถ้ามีเครื่องมือใหม่ๆ ที่อันตรายน้อยกว่า เข้ามาช่วยจะสามารถช่วยลดลดอันตรายการการสูบบุหรี่และลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงได้ ตามหลักการที่เรียกว่า Tobacco Harm Reduction (THR) ซึ่งหนึ่งในเครื่องมือที่ได้มีการนำมาใช้แล้ว คือ บุหรี่ไฟฟ้า จากข้อมูลวิชาการในต่างประเทศระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้คนเลิกบุหรี่มวนได้ดีว่าการใช้แผ่นนิโคติน และดีกว่ายาที่ใช้แบบดั้งเดิม ซึ่งหากมีการติดตามผลต่อไปอีก 6 เดือนจะพบว่า คนที่ใช้วิธีเลิกบุหรี่มวนด้วยการสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีเพียง 50% ที่ยังสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ ส่วนอีก 50% สามารถเลิกบุหรี่ได้ทั้งหมด จากความสำเร็จดังกล่าว ทำให้หลายประเทศมีจำนวนผู้ที่สูบบุหรี่ลดลงเป็นอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ​ข้อมูลที่ 2 ที่ได้จากการประชุม คือ มีข้อมูลทางวิชาการระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้านอกจากทำให้เลิกบุหรี่มวนได้แล้ว ยังมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน และข้อมูลที่ 3 การเข้าถึงของเยาวชนถือเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย ทำให้ทุกวันนี้การแบนบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยเหมือนการเปิดเสรีบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งปัจจัยนื้จะทำให้เด็กเยาวชนอายุ 10- 12 ปีขึ้น ไปซื้อบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเสรีถือเป็นเรื่องที่อันตราย

นพ.เอกภพ กล่าวต่อว่า ถ้ารัฐบาลเห็นด้วยเกี่ยวกับการทำเรื่องนี้ให้ถูกกฎหมายก็มีแค่ 2 เรื่องที่ต้องทำเท่านั้น คือ 1.ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ห้ามนำเข้า 2. ยกเลิกประกาศคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ในการห้ามขาย ห้ามให้บริการ ถ้าทำได้ตาม 2 ข้อนี้ บุหรี่ไฟฟ้าจะสามารถขายได้ นำเข้าได้ และทำให้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการควบคุมตาม พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบปี 2560 ซึ่งตรงนี้จะทำให้รู้ได้เลยว่าเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีห้ามซื้อบุหรี่ไฟฟ้า

นอกจากนี้ สิ่งที่ดีที่สุดที่ภาครัฐจะได้รับ คือ รายได้ของประเทศ จากผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่า ปัจจุบันตลาดบุหรี่ไฟฟ้ามีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท ถ้าทำให้ถูกกฎหมายสรรพสามิตจะสามารถเก็บรายได้เข้าประเทศ เพื่อให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดมีรายได้ต่อปีเหลือเพียง 200-300 ล้านบาทเท่านั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ชาวไร่ยาสูบที่โดนลดโควตาจากเดิมเคยได้โควต้า 100% ปัจจุบันปรับลดลงเหลือ 25% เท่านั้น ดังนั้น ถ้ามีบุหรี่ไฟฟ้า หรือมีผลิตภัณฑ์บุหรี่ใหม่ๆ เข้ามา และโรงงานยาสูบสามารถผลิตได้ การรับยาสูบหรือใบยาสูบก็จะเข้ามาช่วยเสริมบุหรี่มวน ถือเป็นการได้ประโยชน์ทุกฝ่าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' แจงไปตีกอล์ฟ ไม่มีอะไรต้องเคลียร์ 'อนุทิน' เป็นเรื่องธรรมดาลิ้นกับฟัน

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีปรากฎภาพตีกอล์ฟร่วมกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายสารัชถ์ รัตนาวะดี

ไม่ใช่อีแอบแล้ว แนวทางชัดขนาดนี้! 'สุขุม' อ่านเกม 'ภูมิใจไทย' ปมโหวตประชามติแก้ รธน.

ต่อประเด็นเรื่องการโหวตประชามติแก้ไข รธน. ที่พรรคภูมิใจไทย โหวตต่างจากพรรคแกนนำรัฐบาล ขณะที่พรรคร่วมบางพรรค ไม่ร่วมโหวต ซึ่งทาง สส.เพื่อไทย มองเป็นอีแอบ

'ทักษิณ' ขออย่าสนใจ 'อีแอบ' ยันคุยกับ 'ภูมิใจไทย' อยู่ตลอด

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยตบไหล่ผู้สื่อข่าว พร้อมกล่าวว่า “เดี๋ยวไว้เราเจอกันที่เชียงใหม่”

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

นายกฯอิ๊งค์ บอกไม่เป็นไร พรรคร่วมฯเห็นต่างกฎหมายประชามติ ไม่ใช่ปัญหาใหญ่

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมสส. -สว. ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงไม่เป็นเอกฉันท์