ก.แรงงาน ตะลุยเชียงใหม่ จัดโรดโชว์ประชาสัมพันธ์ มุ่งสร้างการรับรู้ คุ้มครองสิทธิ - สวัสดิการแรงงานต่างด้าวอย่างเท่าเทียม

วันที่ 2 มีนาคม 2566 นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ (Road Show) ของกระทรวงแรงงาน ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องสิทธิของแรงงานต่างด้าว ภายใต้กรอบแนวคิด “แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม” เพื่อส่งเสริมให้นายจ้างสถานประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย โดยมี นายเอกลักษณ์ อุ่นภักดิ์ จัดหางานจังหวัดเชียงใหม่กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ และลูกจ้างแรงงานต่างด้าว ร่วมให้การต้อนรับ ณ ศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร อนุญาตให้ทำงาน และออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) เลขที่ 138 หมู่ที่ 4 ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน โดยท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชนชาวไทย ซึ่งวันนี้ในส่วนของกระทรวงแรงงาน โดยกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้นำกิจกรรม นิทรรศการมาออกหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ และความเข้าใจนโยบายการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวของกระทรวงแรงงานและรัฐบาล เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องสิทธิของแรงงานต่างด้าว ภายใต้กรอบแนวคิด “แรงงานต่างด้าวและแรงงานไทยได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม” โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ไปสู่นายจ้าง สถานประกอบกิจการที่จ้างแรงงานต่างด้านในพื้นที่ รวมทั้งกำชับให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ให้ความสำคัญในการบูรณาการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกัน และคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย เช่น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การรักษาพยาบาล การได้รับสวัสดิการจากสถานประกอบการ อย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิม

นายเดชา กล่าวต่อว่า สำหรับการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบการจัดกิจกรรมในสถานประกอบกิจการครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในสิทธิความเท่าเทียมระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวที่จะให้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศไทย รวมถึงเป็นการแสดงออกของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลในการมุ่งมั่นส่งเสริม ป้องกัน มิให้นายจ้าง/สถานประกอบกิจการเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบกิจการของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้การจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยจาก Tier 2 ไปสู่ Tier 1 ตามความมุ่งหวังของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

โอกาสเดียวกันนี้ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงแรงงาน ยังได้เป็นประธานการประชุมหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามการบริหารจัดการ การนำเข้า ป้องกันและคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว ณ ห้องประชุมสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้กำชับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานให้ดำเนินการทำตามนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวอย่างเคร่งครัด
สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานต่างด้าวของจังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯ จำนวนทั้งสิ้น 150,731 คน แบ่งออกเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา 105,942 คน คนต่างด้าวชนกลุ่มน้อย บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน 39,350 คน คนต่างด้าวทั่วไป จำนวน 4,843 คน คนต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 596 คน คนต่างด้าววัญชาติ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจังหวัดเชียงใหม่ (ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ 13 ก.พ.66) จำนวน 104,076 คน มีแรงงานต่างด้าวยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงานจำนวนทั้งหมด 92,356 คน

“การใช้แรงงานที่ถูกกฎหมายจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะเกิดความมั่นคงด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่สำคัญจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการดูแลสิทธิให้ความคุ้มครองแก่แรงงานทุกคน ทุกกลุ่มตลอดจนจะช่วยต่อต้านการบังคับใช้แรงงานในรูปแบบต่างๆ รวมถึงป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอีกด้วย” นายเดชา กล่าวท้ายสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘พิพัฒน์‘ ลุยพอร์ตมัจฉานุท่าเรือซุปเปอร์ยอร์ชใหญ่สุดในเอเชีย สร้างแรงงานในธุรกิจเรือรายได้สูง รองรับฮับท่องเที่ยวระดับโลกฝั่งอันดามัน

วันที่ 9 มกราคม 2568 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวแสดงความยินดีในพิธีเปิดงานมหกรรมแสดงเรือนานาชาติแห่งประเทศไทย ลักซ์ซูรี่ไลฟ์สไตล์ ประจำปี 2568

ประกันสังคม เตือนนายจ้าง อย่าลืม!! ชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี 2568 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2568 และรายงานค่าจ้างประจำปี 2567 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคมมีการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจากนายจ้างเป็นรายปี โดยได้จัดส่งใบประเมินเงินสมทบประจำปี 2568 พร้อมแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี 2567 ให้นายจ้างทั่วประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา

"สิรภพ" เตรียมจัดกิจกรรม เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ เดิน-วิ่ง-ไถ “Child Run for Orphan Friends 2025 เพื่อเพื่อนกำพร้า” ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาและสุขภาพแก่เยาวชนใน อ.เบตง

นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานกิจกรรมกลางแจ้ง อำเภอเบตง จ.ยะลา เตรียมจัดงาน เดิน-วิ่ง-ไถ “Child Run for Orphan Friends 2025 วิ่งเพื่อเพื่อนกำพร้า”

ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ร่วมกับ REV RUNNR มอบรองเท้ากีฬาให้ ม.อ.ปัตตานี กว่า 1,200 คู่ เพื่อส่งเสริมกีฬาและการศึกษา พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจให้คนรอบข้าง

นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ผู้ริเริ่มและประสานงานโครงการกีฬาและการศึกษา เป็นผู้แทนบริษัท REV RUNNR ในเครือบริษัท เรฟ อีดิชั่น จำกัด มอบรองเท้ากีฬาจำนวน 1,195 คู่ มูลค่า 1,070,000

ประกันสังคม มอบเงินช่วยเหลือ ผู้รับเหมา ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตเหตุอาคารถล่ม ปราจีนบุรี แล้ว “พิพัฒน์” กำชับดูแลสิทธิประโยชน์ให้ทายาท

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ เหตุการณ์อาคารโรงงานถล่มในนิคมอุตสาหกรรม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทับคนงานของผู้รับเหมาที่กำลังปฏิบัติงาน เสียชีวิต 5 ราย พร้อมมอบให้สำนักงานประกันสังคม