ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้พิจารณากรณีการแจ้งผลการรวมธุรกิจเสร็จสิ้นแล้ว 2 กรณี เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ธุรกิจประเภทวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ที่จะจัดทำคำวินิจฉัย
เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป
ในส่วนของการดำเนินงานของคดีทางปกครอง ปัจจุบัน มีคดีที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเป็นคู่ความจำนวนทั้งสิ้น 14 คดี โดยมีกรณีคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เช่น คดีที่ตัวแทนผู้บริโภคฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่มีคำสั่งอนุญาตให้รวมธุรกิจ ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีคำขอให้ศาลออกคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยทุเลาการบังคับตามคำสั่งไว้ก่อน ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอดังกล่าว ซึ่งคำสั่งของศาลที่ยกคำขอทุเลาการบังคับนี้เป็นที่สุดตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในส่วนเนื้อหาของคดีหลักที่ยังโต้แย้งกันอยู่ คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองชั้นต้นที่ต้องติดตามผลแห่งคดีกันต่อไป นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษทางปกครอง ปรากฏว่านับตั้งแต่มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้านั้น มีการสั่งลงโทษปรับทางปกครองผู้ประกอบกิจการแล้วหลายราย โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ถูกลงโทษปรับเหล่านั้น ประกอบไปด้วยผู้ประกอบธุรกิจรถยนต์ ผู้ประกอบธุรกิจขนส่งผู้ประกอบธุรกิจรับซื้อผลไม้หรือที่เรียกว่า “ล้ง” โดยมี 11 ราย ที่ยังมิได้ชำระค่าปรับทางปกครองและบางรายได้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล โดยคณะกรรมการฯ ได้ใช้สิทธิตามกฎหมายฟ้องคดีเพื่อบังคับชำระค่าปรับทางปกครองด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งต้องติดตามผลคำพิพากษาของศาลปกครองต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวาระการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า มีความท้าทายในการปฏิบัติงานอย่างมาก ซึ่งต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ได้ร่วมมือกับศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Center) จัดการประชุมนำเสนอแผนงานการจัดตั้งศูนย์บริหารองค์ความรู้ด้านการแข่งขันทางการค้า (Competition Academy) และแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือกำกับดูแลการแข่งขันข้ามพรมแดน ทั้งนี้ การร่วมมือกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและหน่วยงานกำกับดูแล
ด้านการแข่งขันทางการค้าของต่างประเทศ ถือเป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญ เพราะนอกจากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลากหลายมิติแล้วยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ที่สนใจจะมาลงทุนในไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผุด 'ไกด์ไลน์' จัดระเบียบแพลตฟอร์มเอาเปรียบพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
“กขค.” เตรียมผุดไกด์ไลน์ จัดระเบียบธุรกิจดิจิทัล แพลตฟอร์ม รองรับการขยายตัวของการค้าออนไลน์ หลังพบแพลตฟอร์มกำหนดเงื่อนไขเอาเปรียบ
สำนักงาน กขค. ตัวแทนไทยประชุมกฎหมายแข่งขันทางการค้าบนเวทีโลก เสริมแกร่ง สร้างความเข้มแข็งให้การแข่งขันทางการค้าไทยมีมาตรฐานสากล
สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เข้าร่วมการประชุมในฐานะคณะผู้แทนประเทศไทย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลด้านกฎหมายและนโยบายการแข่งขันทางการค้า
นายกฯ แต่งตั้งประธานและรองประธาน บอร์ด กขค. คนใหม่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการ กขค. เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง นายไมตรี สุเทพากุล เป็นประธานกรรมการ และนายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์
ดีลใหญ่!! ผู้ขอรวมธุรกิจรุดแจงข้อมูลให้สำนักงาน กขค.
นายธีรวัฒน์ ทิพย์รัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลการรวมธุรกิจ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.) เปิดเผยว่า
สำนักงาน กขค. ร่วมกับ OECD และ KPC จัดการประชุมระหว่างประเทศ ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสภาพแวดล้อมการแข่งขัน ทางการค้าสำหรับหน่วยงานกำกับการแข่งขันในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก” (Workshop on Advocacy Strategies for Competition Authorities in Asia-Pacific)
สำนักงาน กขค. ร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และ ศูนย์นโยบาย OECD
คนดังแห่สมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการ กขค. คนใหม่
คนมีชื่อเสียงแห่สมัครชิงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) คนใหม่มากถึง 6 คน บอร์ดชุดใหญ่เตรียมลงมติคัดเลือก 31 ต.ค.นี้ จับตา “วิษณุ” อดีตกรรมการแข่งขันทางการค้า และ “เกรียงศักดิ์” ผอ.อคส. มีสิทธิ์ลุ้น