กรมส่งเสริมการเกษตร แนะเกษตรกรเริ่มสำรวจสวน ป้องกันผลกระทบจาก “เพลี้ยไฟมังคุด”

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้บางพื้นที่โดยเฉพาะภาคตะวันออกเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลของมังคุดในระยะแตกใบอ่อนและระยะออกดอกแล้ว ซึ่งสภาพอากาศในช่วงนี้ร้อนจัด อุณหภูมิสูงและแห้งแล้ง เสี่ยงต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนมังคุดหมั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ โดยสังเกตยอดอ่อนหรือใบอ่อน หากมีอาการแห้ง หงิกงอ ใบไหม้ และดอกหรือผลอ่อนร่วง ส่วนผลที่ไม่ร่วงจะเห็นรอยแผลชัดเจนแสดงถึงการถูกทำลายโดยเพลี้ยไฟมังคุดเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยง ให้รีบกำจัดเพื่อป้องกันผลกระทบในวงกว้าง

สำหรับลักษณะของเพลี้ยไฟ ตัวเต็มวัยจะมีลำตัวยาว 0.6 มิลลิเมตร มีสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน เคลื่อนไหวรวดเร็ว มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 22 วัน โดยตัวเมียแต่ละตัววางไข่ได้เฉลี่ย 60 ฟอง ลักษณะไข่คล้ายเมล็ดถั่วสีขาว ขนาด 0.2 มิลลิเมตร โดยมักวางไข่ในเนื้อเยื่อของพืชบริเวณใกล้เส้นกลางใบ ใช้ระยะเวลา 6 - 9 วัน ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนเข้าไปดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชและเจริญเติบโตแพร่พันธุ์ต่อไป ส่งผลทำให้ยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อน แสดงอาการแห้งและหลุดร่วง ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตมังคุด รวมทั้งผลอ่อนที่ถูกเพลี้ยไฟเข้าทำลายตั้งแต่เล็กจะทำให้เกิดรอยแผลบนผลอ่อน และเมื่อผลพัฒนาขึ้นรอยแผลจะขยายใหญ่ จนเห็นลักษณะเป็นแผลขรุขระสีน้ำตาล หรือเรียกว่า ผิวขี้กลาก ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของมังคุดอีกด้วย

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของแนวทางการป้องกันและแก้ไข เกษตรกรควรหมั่นสำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยไฟตัวห้ำ ตัวอ่อนแมลงช้างปีกใสและแมงมุมชนิดต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้เพลี้ยไฟเจริญเติบโตเข้าทำลายแปลงปลูกได้ ซึ่งหากสำรวจสวนแล้วพบการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ไม่มากหรือไม่รุนแรงนัก ให้ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ทรงพุ่มของมังคุด โดยหมั่นพ่นน้ำในระยะออกดอกจนถึงระยะติดผลอ่อนทุก 2 – 3 วัน เนื่องจากเพลี้ยไฟจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีความชื้นสูง และสำหรับตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟนั้น เกษตรกรสามารถใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองขนาดใหญ่ ความกว้างประมาณ 24 นิ้ว ยาว 26 นิ้ว จำนวน 4 กับดักต่อต้น ติดตั้งในสวนมังคุดได้ตั้งแต่มังคุดเริ่มแตกใบอ่อน เพื่อทำลายตัวเต็มวัยไม่ให้ผสมพันธุ์และเข้าวางไข่ทำลายยอดอ่อนของต้นมังคุดได้ ทั้งนี้ หากเกิดกรณีเข้าทำลายในวงกว้างหรือรุนแรงแล้ว เกษตรกรควรพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง โดยใช้ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่ สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 20 มล./ น้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10%SC อัตรา 30 มล./ น้ำ 20 ลิตร หรือ อะบาเมกติน 1.8% EC อัตรา 50 มล./ น้ำ 20 ลิตร  เป็นต้น และควรพ่นสารแบบหมุนเวียนตามกลุ่มกลไกการออกฤทธิ์ โดยใช้รอบการหมุนเวียนทุก 14 วัน เมื่อพบการระบาด และเพื่อชะลอความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง รวมทั้งควรพ่นให้ทั่วถึงทั้งลำต้น มิเช่นนั้นแมลงจะเคลื่อนย้ายหลบซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นไม่ถึงได้ และจะต้องคำนึงถึงการปรับละอองฝอยหัวฉีดและระยะเวลาการพ่นด้วย ซึ่งสามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย

'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ

'มิสเตอร์เกษตร' วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ

‘มิสเตอร์เกษตร’ วอน รัฐบาลแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ แนะกรมการค้าภายใน ประสานรง.อาหารสัตว์รับซื้อมันเส้น

ดีเดย์ กระทรวงเกษตรฯ ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิเงินไร่ละ 1,000 บาท ให้ธนาคารแล้ววันนี้

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำคุณสมบัติของเกษตรผู้มีสิทธิได้รับเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000

ชาวนาลุ้น ‘ครม.’ อนุมัติเงินช่วยไร่ละ 1,000 บาท พร้อมโอนเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดเชียงใ

“นภินทร” ดึงจุดเด่น “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” เนื้อแน่นนุ่ม ไม่คาว วัตถุดิบชั้นดี GI รังสรรค์ใน ”Thai Select“ เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกร

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมลงพื้นที่เยี่ยมชมถิ่นกำเนิดของสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา ได้แก่ “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าของปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา