ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. สานพลัง สถาบันอาศรมศิลป์ การเคหะแห่งชาติ มูลนิธิสังคมสุขใจ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมบูรณาการ “แลกเปลี่ยนเรียนรู้งานส่งเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่” อ.พุทธมณฑล และ อ.สามพราน จ.นครปฐม โดยมีคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 และ 5 สสส. และภาคีเครือข่าย เข้าร่วมกว่า 100 คน เรียนรู้การพัฒนานวัตกรรมและกลไกพื้นที่สุขภาวะเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย มุ่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตามบริบทของพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ ทั้งรูปแบบชุมชนเมือง 6 แห่ง และชนบท 6 แห่ง พร้อมจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในชุมชน ลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ (NCDs)
“การกินมีส่วนสำคัญในการสร้างสุขภาพดี สสส. บูรณาการระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ครบวงจร มียุทธศาสตร์หลัก 3 ข้อ 1. ขับเคลื่อนการบูรณาการภายใต้แนวคิด “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ 2. สาน เสริมพลังภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ร่วมกันต่อยอดและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 3. ยกระดับต้นแบบและขยายผลงานอาหารเพื่อสุขภาวะในระดับพื้นที่ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนเกิดความรอบรู้และเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหาร พัฒนาและใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้โมเดลธุรกิจที่เกื้อกูลสังคม นำไปสู่การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างสมดุลภายใต้ระบบอาหารที่ยั่งยืน” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
นายประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ ประธานสาขาวิชาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ กล่าวว่า ชุมชนบ้านเอื้ออาทรพุทธมณฑลสาย 5 จ.นครปฐม เป็นต้นแบบพื้นที่สุขภาวะรูปแบบชุมชนเมือง ปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางให้ทุกกลุ่มวัยได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีถึง 138 คน จากสมาชิกกว่า 2,000 คน มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน จัดกิจกรรม “รักเฒ่ากัน” ร้องเพลงเต้นรำ ส่งเสริมอาชีพ รวมถึงจัดตั้งคณะทำงานดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางร่วมกับสาธารณสุขท้องถิ่น และจิตอาสาในชุมชน วางแผนดูแลผู้ป่วยติดเตียง ธนาคารอุปกรณ์ลดการเกิดอุบัติเหตุ และร่วมกับคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนานวัตกรรมเครื่องยกตัวผู้ป่วย และระบบ Tele-Health ดูแลผู้ป่วยทางไกล ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
นายอรุษ นวราช เลขาธิการมูลนิธิสังคมสุขใจ กล่าวว่า สวนสามพราน เป็นองค์กรต้นแบบในการขับเคลื่อนธุรกิจเกื้อกูลสังคมจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนบนฐานการค้าที่เป็นธรรม และนำ BCG Model มาประยุกต์ใช้ให้เกิดความยั่งยืน โดยพัฒนา “สามพรานโมเดล” ให้เป็นพื้นที่ศูนย์เรียนรู้มีชีวิต สอดแทรกการใช้ระบบห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ที่ครบวงจร ที่เริ่มจากการเตรียมการปลูก เก็บเกี่ยว แปรรูป ซื้อ/ขาย การจัดการขยะ มีการออกแบบให้สามารถเรียนรู้ใน 6 ด้าน 1. ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม 2. อาหารและการเกษตร 3. ดูแลสุขภาพองค์รวม 4. พลังงานทดแทนชีวเคมี 5. ท่องเที่ยวและเศรฐกิจสร้างสรรค์ 6. เศรษฐกิจหมุนเวียน ฟื้นฟูระบบอาหารให้สมดุลระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค เชื่อมช่องทางการตลาด รวมทั้งพัฒนาให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย 193 คน ให้ได้การรับรองผลผลิตแบบมีส่วนร่วมตามมาตรฐาน PGS และเตรียมยกระดับการรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร
พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"
การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ
สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้
เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี
เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่
กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก
เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง
โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง