เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จ.นนทบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และภาคีเครือข่าย จัดประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน : ประชากรกลุ่มเฉพาะ ครั้งที่ 2 “2nd Voice of the voiceless: the vulnerable populations” ก้าวสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม รับฟังทุกเสียงอย่างเท่าเทียม ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันขับเคลื่อนให้คนในสังคม ได้รับความเป็นธรรมทางสุขภาพ มีสิทธิสวัสดิการเท่าเทียมกัน ภาคีเครือข่ายประชากรกลุ่มเปราะบางในสังคมไทยกว่า 3,800 คน ที่ร่วมงานครั้งนี้ จะเป็นเสียงและพลังสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายให้ครอบคลุมประชากร 10 กลุ่ม ที่ สสส. ทำงานสร้างเสริมสุขภาวะ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้บ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ แรงงานนอกระบบ ประชากรข้ามชาติ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ผู้ต้องขัง และมุสลิม ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ มีความก้าวหน้าเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำหลายมิติ ทั้งการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย ศักยภาพภาคีเครือข่าย นวัตกรรมต่างๆ ให้เกิดการมีสิทธิและเข้าถึงบริการสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ เช่น ส่งเสริมให้คนพิการได้รับการจ้างงาน มีรายได้ กว่า 7,000 คน สร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ สร้างเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ส่งเสริมการมีอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อย ตั้งหลักชีวิต มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ
“ขอเป็นกำลังใจให้ภาคีเครือข่าย จากทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ที่สานพลังสร้างเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มเฉพาะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและยั่งยืน งานครั้งนี้มีการเสนอนโยบาย 9 การเปลี่ยนแปลงสู่การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางสุขภาพ ได้แก่ 1.การเข้าถึงบริการสุขภาพที่เป็นธรรม 2.การจัดสวัสดิการสังคมแบบถ้วนหน้า 3.การเสริมพลังประชากรกลุ่มเฉพาะ 4.เสริมพลังเครือข่ายภาคประชาสังคม 5.การมีส่วนร่วมของชุมชนในการฟื้นฟูศักยภาพความเข็มแข็งประชากรกลุ่มเฉพาะ 6. การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต 7.การลดความรุนแรง 8.การเข้าถึงบริการสาธารณะที่เป็นมิตรสำหรับทุกคนตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน 9.การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย โดย สสส. ยืนยันว่า จะสนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้อง ทำให้เสียงที่ตกหล่น เสียงที่คนอื่นไม่ได้ยินจากประชากรกลุ่มเฉพาะให้ดังขึ้นและถูกนำไปพัฒนาชีวิตทุกคนในสังคม” ดร.สาธิต กล่าว
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำยังคงทวีความรุนแรง ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำของผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ ไม่ได้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่วนบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ยังเกิดจากต้นน้ำ คือ ปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) เป้าหมาย 10 ปีของ สสส. มีวิสัยทัศน์เพื่อให้ทุกคนบนแผ่นดินไทยมีวิถีชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สนับสนุนต่อการมีสุขภาวะที่ดี ส่งเสริมประชาชนมีสุขภาวะที่ดี ลดปัจจัยเสี่ยงหลัก และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยทุกแผนของ สสส. ไม่เพียงมุ่งผลในประชากรในภาพรวม แต่ยังจะต้องคำนึงถึงการลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มประชากรต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะประชากรบางกลุ่มที่มีทั้งความเปราะบาง มีความเสี่ยง หรือต้องการกระบวนการพิเศษในการเข้าถึงการสร้างเสริมสุขภาพ และไม่ได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมสุขภาพตามมาตรการและนโยบายภาพรวม ยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกลุ่มประชากรเฉพาะ ทำให้มีความเปราะบางมากขึ้นทั้งจากด้านเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม
“สสส. พบว่าระบบบริการสุขภาพมีผลต่อสุขภาวะเพียง 10% เท่านั้น แต่ปัจจัยที่มีส่วนกำหนดสุขภาพว่าดีหรือไม่ดีมากที่สุด คือ วิถีชีวิตและพฤติกรรม 51% รองลงมาคือชีววิทยามนุษย์ 20% และสิ่งแวดล้อม 19% ต้องยอมรับว่าการทำให้สุขภาพดีเปรียบเหมือนการเข็นครกขึ้นภูเขา ที่ต้องอาศัยหลายภาคส่วนร่วมมือกัน งานเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน ครั้งที่ 2 มีเป้าหมายรวบรวมเสียงสะท้อนจากมุมสำคัญ ทำให้ทุกเรื่องที่ต้องดีขึ้น ควรดีในทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่บางกลุ่ม และสื่อสารประเด็นลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพในช่วงทศวรรษต่อไปในการทำงานของ สสส. เน้นการสร้างผลลัพธ์ทางสุขภาพ ขยายผลต้นแบบงานสร้างเสริมสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะ ให้เกิดการนับเราด้วยคน คือทำอย่างไรให้ทุกคนมีสิทธิ มีเสียง มีสวัสดิการ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทุกภาคส่วน ผ่านการผลักดันนโยบาย ผ่านกระบวนการเรียนรู้ และการสื่อสาร รวมถึงสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ที่ก็ต้องคำนึงถึงการลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลในกลุ่มประชากรที่ขาดโอกาสควบคู่ไปด้วย” ดร.สุปรีดา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต