ทีเอ็มบีธนชาต เปิดแผนขับเคลื่อนธุรกิจปี 2566 สู่ The Next REAL Change

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี สานต่อพันธกิจ The Bank of Financial Well-being มุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย ด้วยแผนขับเคลื่อนธุรกิจปี 2566 เดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย หรือ The Next REAL Change ให้กับชีวิตลูกค้าอีกครั้ง ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก มุ่งสร้างประโยชน์ให้กับลูกค้าผ่านการต่อยอดจุดแข็งจากการรวมกิจการ รุก Digitalization นำดิจิทัลเป็น กลไกขับเคลื่อนสำคัญ เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินและประสิทธิภาพของธนาคาร ผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่ พร้อมสร้างชีวิตทางการเงินของลูกค้ากลุ่มพนักงานเงินเดือน คนมีรถ คนมีบ้านให้ดีขึ้นรอบด้าน ด้วย Ecosystem Play เน้นการทำงานจากทั้งทีมภายในและความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำ

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า กว่า 3 ปี นับตั้งแต่เริ่มรวมกิจการระหว่างทีเอ็มบีและธนชาต จนมาเป็น ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ ธนาคารได้ประกาศถึงเจตนารมย์ที่จะเป็น The Bank of Financial Well-being หรือธนาคารที่มุ่งมั่นช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยทั้งประเทศ โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาความผันผวนทางเศรษฐกิจ ถึงแม้วันนี้ปัญหา COVID-19 เริ่มเบาบางลง แต่บาดแผลทางเศรษฐกิจที่ทิ้งไว้ยังคงอยู่ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงยืดเยื้อ คนไทยเองต้องประสบปัญหาเงินเฟ้อและดอกเบี้ยขาขึ้นที่กระทบต่อกำลังซื้อ ทำให้ประชาชนที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องหรือมีหนี้เดิมอยู่เกิดความยากลำบากทางด้านการเงินมากขึ้น ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนแตะระดับสูงถึง 86.8% ของ GDP ในไตรมาส 3/2565 จากสถานการณ์ที่ต้องเผชิญทำให้พันธกิจของธนาคารเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจะได้รับและคาดหวังให้ธนาคารสามารถทำให้เป็นจริงขึ้นได้ โดยตั้งแต่รวมกิจการ ทีเอ็มบีธนชาตได้ส่งมอบชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้ามากมายผ่านโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ อาทิ การได้ช่วยให้คนไทยกว่า 2 ล้านคนได้มีความคุ้มครองชีวิตและค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุฟรี ผ่านบัญชี ttb all free และได้ช่วยลูกค้าที่มีหนี้ทำการรวบหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง แม้เพิ่งเริ่มต้นแต่ได้มีลูกค้าร่วมโครงการราว 2,000 ราย ช่วยทำให้คนเหล่านี้ประหยัดเงินจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายรวมเป็นเงินกว่า 270 ล้านบาท

นายปิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับปี 2566 ยังคงเป็นปีแห่งความท้าทายอันเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ แต่จากความพร้อมของธนาคารที่สะท้อนได้จากความสำเร็จทั้งในแง่ธุรกิจ และการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้าของธนาคารที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งชี้วัดว่าธนาคารได้ดำเนินการมาถูกทาง หลังจากนี้ยังคงมุ่งสานต่อพันธกิจ ด้วยการสร้าง The Next REAL Change เดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายในรูปแบบใหม่อีกครั้ง ภายใต้กลยุทธ์หลัก 3 เรื่อง ได้แก่

1. Synergy Realization: การนำจุดแข็งและความแข็งแกร่งจากการรวมกิจการมาต่อยอดพัฒนาโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้า

หลังรวมกิจการทำให้ทีเอ็มบีธนชาตมีความแข็งแกร่งด้วยฐานลูกค้ากว่า 10 ล้านราย สะท้อนได้จากผลประกอบการปี 2565 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 14,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อนหน้า และได้รับผลประโยชน์ด้านค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการรับรู้ Cost Synergy ของการรวมกิจการ ทำให้อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลงจาก 48% ในปี 2564 มาอยู่ที่ 45% วันนี้ธนาคารถือว่ามีความพร้อมทั้งศักยภาพที่แข็งแกร่งและงบประมาณในการลงทุน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า

จากเดิมที่ธนาคารมีสินเชื่อรถ สินเชื่อบ้าน บัญชีเพื่อใช้ เพื่อออม และบัญชีเงินเดือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นและเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าในตลาด ปีนี้ทีเอ็มบีธนชาตจะต่อยอดจุดแข็งของกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปสู่สินเชื่อรถแลกเงิน (ttb cash your car) สินเชื่อบ้านแลกเงิน (ttb cash your home) สินเชื่อ ttb payday loan และกลุ่มผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถ ซึ่งโซลูชันเหล่านี้นอกจากจะมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นแล้ว ยังจะสามารถช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาสภาพคล่องภายใต้เศรษฐกิจผันผวนของปีนี้ได้ด้วย

2. Digitalization: การยกระดับประสบการณ์ทางการเงินและพัฒนาประสิทธิภาพของธนาคารผ่าน ttb touch เวอร์ชันใหม่

ธนาคารมีเป้าหมายนำดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า และขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนของธนาคาร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายก้าวสู่การเป็น Top 3 Digital Banking Platform

วันนี้ ธนาคารมุ่งยกระดับและขยายขีดความสามารถของ ttb touch ให้ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละรายได้อย่างรอบด้าน ซึ่ง ttb touch เวอร์ชันใหม่ได้เปิดตัวไปเมื่อไตรมาส 2/2565 และได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างมาก จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นถึง 46% และจำนวนรายการธุรกรรมบนแอปเติบโตขึ้น 25% ถึงแม้ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ttb touch เกิดปัญหาขัดข้องทำให้ทีมงานได้เร่งปรับปรุงแก้ไข และวางแผนพัฒนาความสามารถในการรองรับการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันนี้แอปมีความเสถียรและสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญด้วยศักยภาพของ ttb touch เวอร์ชันใหม่ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงโปรโมชันต่าง ๆ ให้กับลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 หรือ Segment-of-One ยกระดับการให้บริการลูกค้าได้ โดยธนาคารจะเดินหน้าพัฒนาองค์กรให้เป็น Digital-First Experience เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมส่วนใหญ่ได้เองผ่าน ttb touch เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในขณะที่พนักงานสาขาจะมีบทบาทสำคัญในการเป็น Trusted Advisor ให้คำปรึกษา แนะนำและให้บริการลูกค้าบนผลิตภัณฑ์และบริการที่ซับซ้อน

3. Ecosystem Play: การสร้างชีวิตทางการเงินของลูกค้าบัญชีเงินเดือน มีรถ มีบ้านให้ดีขึ้นรอบด้าน

ทีเอ็มบีธนชาตเดินหน้าสร้างการเติบโตด้วย New Business Model มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้ามนุษย์เงินเดือน กลุ่มคนมีรถ และกลุ่มคนมีบ้าน ซึ่งเป็น 3 กลุ่มหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญและมีฐานลูกค้าเป็นแต้มต่อ โดยธนาคารจะต้องเข้าไปอยู่ในชีวิตของลูกค้าตลอด Journey และช่วยให้ชีวิตของลูกค้าสามารถบริหารจัดการเรื่องสำคัญได้อย่างรอบด้าน โดยเน้นการทำงานจากทีมภายใน และร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำภายนอก (Partnership) โดยมี ttb touch เป็น

ตัวขับเคลื่อนให้ลูกค้าบริหารจัดการชีวิตได้อย่างครบวงจร อาทิ สำหรับคนมีรถจะสามารถบริหารจัดการทุกเรื่องเกี่ยวกับรถ เช่น จ่าย-เช็คยอดสินเชื่อรถ ต่อประกันภัยรถและพรบ. เติมเงิน-เช็คยอดบัตรทางด่วน Easy Pass ค้นหาโปรโมชันเกี่ยวกับการดูแลรถ สมัครสินเชื่อรถแลกเงิน แม้กระทั่งการขายรถแบบ e-auction ทุกอย่างสามารถทำบนฟีเจอร์ “My Car” บนแอป ttb touch ได้อย่างสะดวก

นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญและเร่งทำคือการเตรียมความพร้อมบุคลากร เพื่อให้สามารถร่วมกัน Transform องค์กรได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเพิ่มศักยภาพและจำนวนทีมงานด้าน Tech & Data ให้มากขึ้น ที่ผ่านมาธนาคารได้จัดตั้งทีมดิจิทัล ttb spark และ ttb spark academy เพื่อที่มุ่งเน้นเรื่องการสร้าง Talent รุ่นใหม่ที่มีความสามารถสอดรับกับโลกธุรกิจผ่านการขับเคลื่อนนวัตกรรมและดิจิทัลโซลูชัน โดยปัจจุบันมีทีมงาน ttb spark มากกว่า 400 คน ดูแลทั้งในส่วนของฝั่ง Tech และ Beyond Banking Business พร้อมผลักดันและพัฒนาแอป ttb touch ให้มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น ด้าน ttb spark academy ได้มีกิจกรรมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำและมีนักศึกษาเข้ามาฝึกงานด้วยอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้จัดกิจกรรม ttb hackathon: Financial Well-being for Thais ซึ่งมีผู้ร่วมสมัครมากกว่า 100 ทีม ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่เพื่อให้ Talent เหล่านี้สนใจร่วมงานกับธนาคารในอนาคต”

“สุดท้ายนี้ ด้วยศักยภาพของทีเอ็มบีธนชาตที่มีความพร้อมในทุกด้าน ณ วันนี้ ผนวกกับกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน จะสามารถทำให้ปีนี้ เราจะยังคงเดินหน้าไปสู่การเป็นธนาคารที่ Make REAL Change เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง” นายปิติ กล่าวสรุป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บัตรเครดิตฉบับเข้าใจง่าย ๆ สำหรับมือใหม่ พร้อมสิทธิพิเศษสุดคุ้ม

บัตรเครดิตคืออะไร มือใหม่ทำความเข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับสิทธิพิเศษ การสมัครออนไลน์ สมัครง่ายไม่ต้องไปที่ธนาคาร เตรียมพร้อมรับสิทธิประโยชน์สุดคุ้มแบบไม่มีค่าธรรมเนียม

บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free และวีซ่า ร่วมฉลองความสำเร็จ “วิว กุลวุฒิ” ฮีโร่เหรียญเงินโอลิมปิก 2024 เปิดตัวแคมเปญ Dare to Change ส่งต่อแรงบันดาลใจ จัดแบดมินตันบูทแคมป์ให้แก่กลุ่มเยาวชน

บัตรเดบิตวีซ่า ttb all free และวีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก ร่วมฉลองชัย “วิว กุลวุฒิ วิทิตศานต์” ฮีโร่เหรียญเงินแบดมินตันชายเดี่ยว โอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024

finbiz by ttb แนะ SME ที่มีแนวคิด ESG คว้าโอกาสทางธุรกิจ บนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันกระแส ESG กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ธุรกิจยุคใหม่จึงต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ โดยหลังจากประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายจะเป็นกลางทางคาร์บอน

finbiz by ttb แนะเทรนด์รักษ์โลก : โอกาสของธุรกิจเพื่อครองใจผู้บริโภค

ในยุคปัจจุบันที่ผู้คนกำลังตื่นตัวกับกระแสรักษ์โลกและความยั่งยืน กระแสนี้จะมีผลต่อธุรกิจอย่างไรและจะเป็นเพียงชั่วคราวหรือไม่ finbiz by ttb

ttb ห่วงหนี้ครัวเรือนไทยทะลัก 16.9 ล้านล้านในสิ้นปีนี้

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีของไทย ณ สิ้นปี 2567 จะอยู่ที่ 91.4% หรือราว 16.9 ล้านล้านบาท โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังคงน่าเป็นห่วงทั้งในมิติของปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเร็วและคุณภาพหนี้มีแนวโน้มด้อยลง