ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. กล่าวถึงการรับประทานอาหารให้ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs ว่า กลุ่มโรค NCDs ดังกล่าว เช่น โรคเบาหวาน ไขมัน ความดัน มะเร็ง โรคปอด โรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมมีสาเหตุมาจาก 5 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่มลภาวะทางอากาศ และการบริโภค นอกจากนี้ โรค NCDs ยังเป็นสาเหตุการตาย 3 ใน 4 หรือ 75 % ของคนไทยในปัจจุบันด้วย ถือเป็นฆาตกรเงียบที่คอยทำลายสุขภาพที่คนทั่วโลกโดยไม่รู้ตัว
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า ใน 5 ปัจจัยเสี่ยงมีความสำคัญเท่ากัน เรื่องการกินให้ได้สุขภาพดีห่างไกลโรคต้องกินครบ 5 หมู่ กินอย่างพอดีไม่น้อยหรือมากเกินไป กินผัก ผลไม้ ให้ได้วันละ 400 กรัม ด้วยเทคนิคง่ายๆ แบ่งจานข้าวออกเป็น 4 ส่วน ครึ่งหนึ่งควรเป็นผัก และ 1 ใน 4 ส่วนควรเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ส่วนที่เหลือเป็นอาหารที่ให้พลังงาน เช่นข้าว ขนมปัง กินแบบนี้ทั้ง 3 มื้อรับรองว่ากินผักครบ 400 กรัมแน่นอน ทำให้ได้รับอาหารในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
“ปัญหาการกินที่ทำให้เกิดโรคที่สำคัญ ได้แก่ รสหวาน มัน เค็ม โดยเฉพาะความเค็ม ที่มีโซเดียมเป็นส่วนผสมส่งผลต่อสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ นำไปสู่โรคอื่นๆอีกมากมาย เรื่องเค็มถือว่าเป็นประเด็นที่ สสส.รณรงค์มาแล้วกว่า 10 ปี โดยจะเห็นข้อมูลตามสื่อสาธารณะมากขึ้น ซึ่งพิษภัยที่เกิดจากความเค็มไม่ได้น้อยกว่า ความหวานเลย แต่ที่ให้ความสำคัญคือภาพรวมการเลือกรับประทานอาหารในชีวิตปกติ อาหารแปรรูป การปรุงที่เกินพอดี องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าในแต่ละวันควรบริโภคโซเดียม ประมาณ 2,000 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา แต่โดยปัจจุบันเรามีการบริโภคโซเดียมอยู่ที่วันละ 3,600 มิลลิกรัม ทำให้ในแต่ละปีสูญเสียเงินจากการฟอกไต หลายพันล้านบาท จึงต้องช่วยกันรณรงค์ป้องกันตั้งแต่เริ่มแรกดีกว่าแก้ไขในภายหลัง”
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่าการรณรงค์ลดเค็มลดโรคในปีที่ผ่านมาเพื่อลดโรค NCDs และลดการบริโภคโซเดียม จากข้อมูลทางวิชาการพบว่าในน้ำซุป เป็นแหล่งโซเดียมที่สำคัญ จากการสำรวจพบว่าในน้ำซุป 1 ถ้วยมีโซเดียมประมาณ 1,500 มิลลิกรัม ไม่ว่า น้ำแกง น้ำพะโล้ น้ำซุปข้าวมันไก่ น้ำก๋วยเตี๋ยว ปีนี้เราจึงให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำซุป จึงได้ใช้แคมเปญว่า “ลดซด ลดปรุง ลดโรค” เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนรู้ถึงพิษภัยของความเค็ม และช่วยกันลดปริมาณโซเดียมลงโดยร่วมกับเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม รณรงค์ขับเคลื่อนสังคมด้วยองค์ความรู้ผ่านสื่อต่างๆเพื่อให้ข้อมูลและเตือนให้ประชาชนนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินในแต่ละวัน โดยใช้เครื่องปรุงที่ลดโซเดียม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นโรคแล้ว และกลุ่มที่ยังไม่เกิดโรค เราต้องป้องกันตนเองโดยรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ ลดหวาน มัน เค็ม ทานผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม
สำหรับเทคนิคการเลือกรับประทานอาหารลดโซเดียมคือการกินอาหารปรุงสด ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่าเราควรดูสลากโภชนาการ ชิมก่อนปรุง ลดการปรุงเพิ่ม กินน้ำซุปแต่น้อย และเพิ่มผักให้มาก ข้อแนะนำอีกอย่างไม่ควรนำเครื่องปรุงวางบนโต๊ะอาหารจะทำให้ลดการปรุงเพิ่มได้ ส่วนอาหารที่ไม่ได้ปรุงแต่มีโซเดียมได้แก่ ขนมปัง เค้ก ไอศกรีม ควรรับประทานอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามเพื่อความมั่นใจต้องอ่านสลากโภชนาการทุกครั้ง
“จากการณรงค์ที่ผ่านมาพบว่าปัจจุบันคนเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากทั้งเรื่อง หวาน มัน เค็ม ส่วนเรื่องของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมจะลดลงหรือไม่นั้นต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตามการเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมในวันนี้ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวแน่นอน หลังการรณรงค์จะมีการสำรวจเป็นระยะช่วง 3-5 ปี เมื่อก่อนพบคนไทยบริโภคโซเดียมถึง 4,000 มิลลิกรัมในปัจจุบันลดลงเหลือ 3,600 มิลลิกรัม หลังจากนี้หวังว่าจะลดลง 10-20 % เป็นอย่างน้อย เพราะการลดความเค็มแม้เพียงเล็กน้อยจะช่วยลดภาระสุขภาพที่อาจเกิดจากโรค NCDsได้“ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวย้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต