“มหกรรมไทอีสานสานสุข โฮมแฮงเบิ่งแญงสุขภาวะ” ชูนวัตกรรม เคลื่อนงานสร้างสุขภาพเพื่อประชาชนอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2565 ที่ ม.ขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (ศปส.) คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น และภาคีเครือข่ายภาคอีสาน จัดงานวิชาการ และเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายสุขภาวะภาคอีสาน เวทีโชว์ แชร์ เชื่อม “มหกรรมไทอีสานสานสุข : โฮมแฮงเบิ่งแญงสุขภาวะ” รูปแบบ Hybrid ทั้ง Onsite และ Online ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ 20 จังหวัด มีผู้เข้าร่วมจำนวน 2,000 คน โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี ม.ขอนแก่น พร้อมด้วยดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง ผอ.ศูนย์ประชาสังคม และการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ เข้าร่วม

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ 4 ประเด็นนำร่อง 1. การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ 2. การพัฒนา และดูแลผู้สูงอายุ 3. เด็กและเยาวชน 4. การจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของไทย รวมไปถึงการเชื่อมภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่ เอื้อให้เกิดการแก้ไขปัญหาสุขภาวะทางสังคมร่วมกันอย่างมีพลัง โดยใช้เครื่องมือ Platform Online ไทอีสาน ควบคู่กับเวที Offline เผยแพร่นวัตกรรมองค์ความรู้งานสร้างเสริมสุขภาพ ใช้กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม พัฒนาสื่อเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพสู่สาธารณะ รวมทั้งเสริมแรง สร้างพลังภาคีเครือข่าย ให้สามารถปรับพฤติกรรม และสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ นับเป็นขบวนการขับเคลื่อนสังคม (Civil Society) ที่มีพลังหนุนเสริมการแก้ไขปัญหาสุขภาวะอย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ กล่าวว่า 21 ปี ที่ผ่านมา สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้นักสร้างเสริมสุขภาพจากทุกวิชาชีพมาเชื่อมประสานการทำงานเข้าด้วยกัน ผู้ที่จะมาทำงานสร้างเสริมสุขภาพในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรทางการแพทย์ แต่ทุกคนมีส่วนร่วมแก้ไขตั้งแต่ต้นน้ำ สร้างยุทธศาสตร์ ผลักดันการทำงานร่วมกัน ในพื้นที่ภาคอีสานมีภาคีเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก หลากหลายประเด็น ตามทักษะ ความสามารถ ความสนใจ และความแตกต่างตามบริบทพื้นที่ ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง เกิดการสร้างกลไกความร่วมมือ นวัตกรรมองค์ความรู้เสริมสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน พร้อมที่จะเผยแพร่ต่อยอด ขยายผล ซึ่งการจัดเวทีโชว์ แชร์ เชื่อมระดับภาค ก่อให้เกิดการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายข้ามพื้นที่ ข้ามประเด็น ขับเคลื่อนงานสุขภาวะอย่างมีพลัง ตลอดจนสื่อสารความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ สร้างพฤติกรรมการมีสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชน

“เวทีนี้ เป็นเวทีสำคัญของการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ โชว์ แชร์ เชื่อม เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมประสาน ถักทอ สังคมสุขภาพที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในยุคสังคมออนไลน์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือภาวะวิกฤตทางสุขภาพต่าง ๆ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้น การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต้องสานพลังความร่วมมือการทำงานกับทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นแนวทางการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามนโยบายของ สสส. ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งด้านความรู้ การสื่อสาร และการจัดการ ส่งเสริมให้ประชาชน เกิดการหนุนเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม หรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาสุขภาพ ตลอดจนร่วมสร้างค่านิยม ผลักดันนโยบาย มองไปสู่ทศวรรษหน้า เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างยั่งยืน” ดร.สุปรีดา กล่าว

ดร.สุปรีดา กล่าวต่อว่า ภาคอีสานเป็นพื้นที่ ที่ต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาวะ ข้อมูลจากข้อมูลการตาย จากข้อมูลมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน และ ข้อมูลประชากรกลางปี จากกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2563 พบว่า ในพื้นที่ภาคอีสาน จากการป่วยเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ NCDs เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ อาทิ ใน จ.มหาสารคาม มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานเป็นอันดับ 1 มากถึง 59.53 ต่อแสนประชากร ใน จ.เลย อัตราการเสียชีวิตจากโรคไตวายเรื้อรังเป็นอันดับ 3 ของประเทศ มากถึง 34.86 ต่อแสนประชากร ในประเด็นเด็ก และเยาวชน ที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ การเท่าทันปัจจัยเสี่ยง การดูแลสุขภาวะทางปัญญา และสุขภาพจิต นอกจากนี้ปัญหาขยะ เป็นเรื่องที่ต้องสร้างองค์ความรู้ ดูแลจัดการ เพื่อสร้างสุขภาวะทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างครอบคลุม

ศ.ดร.บัวพันธ์ พรหมพักพิง กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่นวัตกรรมการขับเคลื่อนสุขภาวะจาก 4 ประเด็นนำร่อง และขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ภายใต้โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสุขภาวะภาคอีสาน จากการทำงานที่ผ่านมาเกิดความสำเร็จ คือ 1. เกิดกลไกสนับสนุนการเชื่อมประสานภาคีสุขภาวะในระดับภาค หรือ Core team Esan 2. เกิดเครือข่ายคนทำงานสร้างเสริมสุขภาวะ ใน 4 ประเด็นนำร่อง เกษตรอินทรีย์ การจัดการขยะ เด็กและเยาวชน และผู้สูงอายุ 3. เกิดองค์ความรู้ บทเรียนในการทำงานเชื่อมประสานภาคีสุขภาวะทั้งในรูปแบบ area base และ issue base และฐานข้อมูลสนับสนุนการทำงานเชื่อมประสาน 4. เกิดช่องทางการสื่อสารข้อมูลทั้งในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ผ่านช่องทางออนไลน์ เชื่อมประสานเครือข่ายร่วมแก้ไขปัญหาแบบไม่ติดยึดเฉพาะพื้นที่ เฉพาะประเด็นของตัวเอง มุ่งแก้ไขปัญหาสุขภาวะของสังคมร่วมกันอย่างเข้มแข็ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจียระไนเพชร 3 องค์กรต้นแบบ สร้างเสริมสุขภาวะในที่ทำงาน

"ในอดีตเรารบกับเชื้อโรค มีการโจมตีด้วยเทคโนโลยี แต่วันนี้เรากำลังสู้กับกิเลสของมนุษย์ โรค NCDs เกิดขึ้นจากเราสร้างสุขเทียมเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตัวเอง เติมรสหวาน มัน เค็ม สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า

อึ้ง ! ความเหงา-โดดเดี่ยว ภัยเงียบที่ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพเทียบเท่าการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน หรือดื่มเหล้าวันละ 6 แก้ว

เวลา 09.00 น. วันที่ 1 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับธนาคารจิตอาสา ภาคีภาครัฐ และภาคเอกชน จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “เดือนการฟังแห่งชาติ” หรือ “National Month of Listening” เพื่อกระตุ้นให้สังคมเห็นความสำคัญของการดูแลความสัมพันธ์ด้วย

“รองนายกฯประเสริฐ” มอบนโยบาย สสส.สั่งด่วนยกระดับสร้างความปลอดภัยทางถนนในเด็กและเยาวชน 3 ด้าน “รถบัสปลอดภัย-สวมหมวกนิรภัย-ส่งเสริมวินัยจราจร”

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สสส.

“อย่าเพิ่งเชื่อ-อย่าเพิ่งแชร์-อย่าเพิ่งโอน” คาถาป้องกันแก๊ง Call Center

คนไทย 36 ล้านคน ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ ถูกหลอกให้ร่วมลงทุน พนันออนไลน์ ด้วยการเปิดบัญชีม้า ซื้อสินค้า-โอนเงิน-กู้เงิน ไตรมาสแรกปี 67

รพ.ศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ สานพลัง สสส. ประกาศความร่วมมือเข้มแข็ง ผสานองค์ความรู้-สร้างนวัตกรรมฐานข้อมูล เตรียมพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมสุขภาพ บรรจุในการเรียนการสอน ม.วลัยลักษณ์

ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิชาการ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน