สานพลังสร้าง SMART Rider วินมอเตอร์ไซค์.. ขับขี่ปลอดภัย

อาชีพวินมอเตอร์ไซค์ส่งผู้คนถึงที่หมาย ไรเดอร์ส่งของเป็นอาชีพสุจริตส่งเสริมรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่ขณะเดียวกันก็เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากต้องเร่งรีบในการทำรอบให้ทันเวลา การส่งงานให้รวดเร็ว มีโอกาสสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต บาดเจ็บ ..ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเมื่อเกิดความสูญเสีย ครอบครัวล่มสลาย โอกาสไปต่อลำบาก  โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นสูญเสียโอกาสทั้งๆ ที่เป็นความหวังของทุกคนในครอบครัว

การรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ ขับขี่ปลอดภัย จึงเป็นทางเลือกและทางออกที่หลายฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน โดยเมื่อกลางเดือนมกราคมศกนี้ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.)  ร่วมกับ สสส., โรงเรียนทักษะพิพัฒน์, บริษัท โดยเอสซีจี สกิลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด, ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.), บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด, ผู้แทนกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและไรเดอร์และภาคีเครือข่าย จัดแถลงข่าว “ความร่วมมือเพื่อสร้างการขับขี่ที่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์” ที่ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร และประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน มีการเติบโตอย่างรวดเร็วของอาชีพใหม่ๆ ในการตอบสนองการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ หนึ่งในนั้นคือรถจักรยานยนต์รับส่งอาหาร หรือไรเดอร์  (Rider) ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยคือ การเกิดอุบัติเหตุทางถนน  ข้อมูลศูนย์วิจัย ธ.กสิกรไทยแจงตัวเลขการบริการ Food  Delivery ก่อนโควิดจำนวน 35-45 ล้านครั้ง ปี 2564 การสั่งอาหารเพิ่มขึ้น 120 ล้านครั้ง มากขึ้นถึง 3 เท่าตัวในเวลา 2 ปี

“กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและรับส่งอาหารมีพฤติกรรมเสี่ยง อาทิ การขับขี่ที่ต้องรีบเร่งทำรอบในการรับส่งอาหารให้ทันตามความต้องการของลูกค้า การดูหน้าจอโทรศัพท์ขณะขับขี่ การไม่ชินเส้นทาง สภาพอากาศ และความเหนื่อยล้า รวมถึงเกิดจากพฤติกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ปลอดภัย ขาดทักษะขับขี่เชิงป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะทักษะคาดการณ์ประเมินความเสี่ยงเมื่อขับขี่ที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ ถึงเวลาแล้วที่ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน แพลตฟอร์มต่างๆ และภาคประชาสังคม ในการยกระดับการทำงานสู่กลไกการขับเคลื่อน โดยมีอนุกรรมการด้านการจัดการความปลอดภัย ภายใต้ ศปถ.กทม.ขับเคลื่อนความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ มีระบบข้อมูลที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงของอุบัติเหตุ ตลอดจนจัดให้มีการเรียนรู้เรื่องทักษะขับขี่ที่ปลอดภัย รวมถึงสื่อสารสาธารณะในเรื่องความเสี่ยง เพื่อเผยแพร่ความรู้การขับขี่ที่ปลอดภัย และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์” นายณรงค์กล่าว

น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าวว่า เราต้องร่วมกันสานพลังการสร้างความตระหนักรู้  เมื่อวินมอเตอร์ไซค์ ไรเดอร์เกิดอุบัติเหตุ 58% เป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อพลาดเกิดความสูญเสีย “ล้มคนเดียว ล้มทั้งครอบครัว” หลายครอบครัวประสบปัญหาต้องลาออกจากงานเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงจากอุบัติเหตุบนท้องถนน  ชวนผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์สวมหมวกกันน็อกให้เต็มท้องถนน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในกลุ่มไรเดอร์ วินมอเตอร์ไซค์อย่างแท้จริง

ขอเชิญชวนพี่วินมอเตอร์ไซค์ ไรเดอร์ เป็นต้นแบบสุภาพบุรุษบนท้องถนน ขับขี่รถปลอดภัยด้วยการสวมหมวกกันน็อก ร่วมมือบูรณาการสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่รถรับจ้าง รร.ทักษะพิพัฒน์ร่วมดำเนินการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทกลางผู้ประสบภัยและ สสส.”

น.ส.รุ่งอรุณกล่าวพร้อมย้ำด้วยว่า สสส.ตระหนักถึงอุบัติเหตุในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและไรเดอร์ จึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ 1.แผนขับเคลื่อนการจัดการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์ ผ่านยุทธศาสตร์ไตรพลัง ร่วมกับภาคีเครือข่าย 2.จัดการระบบสารสนเทศ เครื่องมือความรอบรู้เฉพาะสุขภาพ (Persona  Health) นวัตกรรมกลไกสู่การดูแลสุขภาพในยุคดิจิทัล โดยใช้ AI มาวิเคราะห์ ประมวลผลความแตกต่างในแต่ละบุคคล 3.นโยบายและแนวทางสนับสนุนการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์

อาทิ สนับสนุนโครงการสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเชิงลึก สนับสนุนโครงการหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน สร้างการขับขี่ที่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ สนับสนุนแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในระดับจังหวัด (สอจร.) เพื่อมุ่งให้เกิดการสวมหมวกนิรภัย 100% ลดความเสี่ยง ลดการเจ็บตายจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการร่วมผนึกกำลังกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และผู้ประกอบการ/ธุรกิจรับส่งอาหาร ถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการทำงาน เนื่องจากการใช้ความเร็ว ใช้โทรศัพท์ดูแผนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการขับขี่เชิงป้องกัน การเฝ้าระวังและสะท้อนความเสี่ยง รวมถึงการจัดการระบบข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ แบบแผนการเกิดอุบัติเหตุ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงบทบาท และแผนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน  เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ เกาะติด และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและไรเดอร์ต่อไป

นายชลัช วงศ์สงวน ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย บ.เอสซีจี สกิลส์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า ด้วยค่านิยมขององค์กรเอสซีจีตระหนักเรื่องความปลอดภัย ขับรถส่งสินค้าไม่ให้ใช้มือถือ ต้องมีการวางแผนขนส่งตั้งแต่ต้นทาง หากจำเป็นต้องใช้มือถือต้องหาที่จอดรถ  ขณะนี้เอสซีจีมีรถบรรทุก 1.4 หมื่นคันเพื่อส่งสินค้าทั่วประเทศ มีรถมอเตอร์ไซค์อีกจำนวนหนึ่ง มี รร.ทักษะพิพัฒน์ให้ความรู้พัฒนาทักษะให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย หากศึกษาบริษัทญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างวินัย ภาครัฐมีมาตรการลดภาษีให้ภาคเอกชนเมื่อสร้างความปลอดภัย.

***

ภาพรวมสถานการณ์ความไม่ปลอดภัย

ในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์

ร้อยละ 30 ไรเดอร์ประสบอุบัติเหตุระหว่างทำงาน

ร้อยละ 40 เป็นการบาดเจ็บสาหัส บางรายถึงขั้นเสียชีวิต ร้อยละ 65.96 ของไรเดอร์ เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 1-4 ครั้ง  ร้อยละ 17.72 เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 5-10 ครั้ง

ร้อยละ 6.79% เกิดอุบัติเหตุ จำนวน 11-16 ครั้ง 

ร้อยละ 3.62% เกิดอุบัติเหตุ มากกว่า 16 ครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลกินเจ 2567 สสส. สานพลัง เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ชวนคนรุ่นใหม่ กินเจปลอดภัย ห่างไกล NCDs

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เทศกาลกินเจ เป็นเทศกาลแห่งการสั่งสมบุญกุศล ละเว้นเนื้อสัตว์ เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ถือเป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ แต่อาหารเจส่วนมากมีรสหวาน มัน และเค็มจัด จากการสำรวจการบริโภคโซเดียมในคนไทย ปี 2566 พบว่า

ขับเคลื่อนแอป "เณรกล้า โภชนาดี" แก้ปัญหาทุพโภชนาการ...สามเณร

พระสงฆ์และสามเณร เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคของพระสงฆ์ คือภาวะไขมันในเลือดสูง

“รองนายกฯ ประเสริฐ” ประชุมบอร์ด สสส. นัดแรก เห็นชอบแผนปี 68 มอบนโยบายเคลื่อนสุขภาพ 4 ด้าน “อายุคาดเฉลี่ย-ออกกำลังกาย-ยาเสพติด-ภัยออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2567 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี

“สุขภาวะเพศคือ สุขภาวะของประเทศไทย”

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่คุกคามคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราการคลอดในวัยรุ่น

เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ

นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ