ผู้รับเหมาก่อสร้างไทยโวย การสร้างส่วนต่อขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ โซน c มูลค่า 30,000 ล้านบาทส่งสัญญาณแปลกๆว่ามีการล็อกสเปกเพื่อให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของคนในคณะรัฐบาลได้งานนี้ไปอีกครั้ง โดยกำหนด TOR ว่าต้องได้มาตรฐานอาคารสีเขียว LEED อย่างเดียว ไม่เอามาตรฐานอาคารเขียว TREES ของไทย ทั้งๆที่ในระเบียบการปฏิบัติ กลับระบุว่าให้ผู้รับจ้างต้องดำเนินงานก่อสร้างให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวไทย(TREES) หรือ ได้รับการรับรองมาตรฐาน TREES (Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainabiliy) เหมือนเกลียดปลาใหลกินน้ำแกง ทำให้บริษัทก่อสร้างหลายรายไม่สามารถเข้าแข่งขันได้
ผู้สื่อข่าวสายกระทรวงการคลังรายงานว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่นร 0505/38631 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 อนุมัติในหลักการโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ โซนC ของบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด(ธพส.) อันเป็นเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ กรอบวงเงินลงทุนรวม 30,000,000,000 บาท(สามหมื่นล้านบาทถ้วน) ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาแหล่งเงินทุนและวิธีการระดมทุนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงต้นทุนทางการเงิน ความเหมาะสม คุ้มค่า ภาระงบประมาณหรือภาระการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยทางบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด(ธพส.) เป็นผู้ดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อจ้างก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยาย โซน C ในส่วนของงานจ้างก่อสร้างอาคารด้านทิศใต้ เพื่อให้หน่วยราชการเข้าใช้พื้นที่เป็นสำนักงานแทนการเช่าพื้นที่เอกชน ซึ่งช่วยลดภาระงบประมาณ และเป็นการสร้างรายได้ให้รัฐเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน และการให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก ตลอดจนเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในศูนย์ราชการฯให้เต็มศักยภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 นายนาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ได้ประกาศร่างขอบเขตของงาน หรือ TOR (Term of Reference) รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรือแบบรูปรายการงานก่อสร้างอาคาร ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์(e-bidding) เลขที่โครงการ 641 072 065 22 ว่า ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานก่อสร้างอาคารสำนักงานที่มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 2,250,000,000 บาท (สองพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)พร้อมแสดงสำเนาสัญญาจ้างด้วย
โดยผลงานดังกล่าวจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นผลงานในสัญญาเดียวที่แล้วเสร็จตามสัญญา และมีการตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว
(2) เป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่ธพส.เชื่อถือและไม่ใช่ผลงานอันเกิดจากการรับจ้างช่วง
(3) เป็นผลงานที่จะต้องก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งอาคารสำนักงานตามสัญญา และก่อสร้างในประเทศไทย ซึ่งข้อที่4 เป็นข้อที่เป็นปมประเด็นปัญหาโดยระบุว่า
(4) ผู้ยื่นข้อข้อเสนอผลงานดังกล่าว ต้องมีผลงานการก่อสร้างอาคารสำนักงานที่สร้างใหม่ และได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED ไม่ต่ำกว่าระดับ Gold มีพื้นที่ก่อสร้างไม่น้อยกว่า 65,000 ตารางเมตรด้วย โดยให้นำสำเนาใบรับรองและเอกสารสัญญาผลงานอาคารสำนักงานที่ได้รับรองมาตรฐานมายื่นก่อนวันประกวดด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเรื่องนี้มีผู้รับเหมาก่อสร้างไทยหลายรายได้มีหนังสือท้วงติงไปที่นายนาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ว่าตามข้อกำหนดข้อ 4 ดังกล่าว ที่ระบุว่า ผลงานการก่อสร้างอาคารที่ได้รับรองมาตรฐาน LEED(Leadership in Environmental Desigh) ไม่ต่ำกว่าระดับ Gold ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินระดับนานาชาติที่แสดงถึงมาตรฐานในการก่อสร้างอาคารสีเขียว แต่ในข้อ 21 บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัดได้กำหนดว่า ให้ผู้รับจ้างต้องดำเนินงานก่อสร้างให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาคารเขียวไทย (TREES) หรือรับการรับรองมาตรฐาน (Thai s Rating of Energy and Environmental Sustainabiliy)
ดังนั้นบริษัทก่อสร้างไทยได้ท้วงติงว่า ผลงานก่อสร้างที่ได้รับมาตรฐานอาคารเขียวไทย TREES ก็ควรที่จะนำมาใช้เป็นผลงาน ในการยื่นผลงานตามข้อกำหนดได้เช่นกัน แทนที่จะใช้ผลงานก่อสร้างอาคารตามมาตรฐานเขียว (LEED)เพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวได้เจาะลึกไปดูข้อกำหนดเฉพาะงานข้อที่ 21. ก็กำหนดว่าผู้รับจ้างจะต้องดำเนินงานก่อสร้างให้เป็นไปตามข้อกำหนด ตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับอาคารก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่ หรือ TREES-NC(Thai s Rating of Energy and Environmental Sustainabiliy -New Construction) จริงๆ
ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าข้อกำหนดงานอยากให้ผู้ก่อสร้างกำหนดกรอบการทำงานตามสเปก TREES แต่เวลากำหนด TOR ต้องการแค่สเปก LEED เท่านั้น ดังคำภาษิตโบราณที่ว่า"เกลียดปลาไหลแต่อยากกินน้ำแกง"
ดังนั้นทำให้ เกิดคำถาม ซึ่ง นายนาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เท่านั้นที่จะต้องตอบคำถามนี้
แหล่งข่าว จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญงานก่อสร้างท่านหนึ่ง ให้ความรู้ว่าสำหรับอาคารที่ต้องการขอมาตรฐานอาคารเขียว (Green Building) ในประเทศไทยนั้น มีเกณฑ์การประเมินหลักๆ ที่นิยมอยู่ 2 เกณฑ์คือ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกจากสหรัฐอเมริกา และ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) หรือเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย
สถาบันอาคารเขียวไทย โดย TREES นั้นถูกออกแบบและกำหนดเกณฑ์การประเมินให้คล้ายกับ LEED แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนการประเมินบางหัวข้อเพื่อให้เกณฑ์การประเมินนั้นเหมาะสมกับประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ผุด READ Café สร้างพื้นที่สาธารณะส่งเสริมคนไทยรักการอ่าน
DAD ผนึก 2 หน่วยงาน OKMD – บางจาก เปิดพื้นที่อาคารจอดรถ D ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ผุดพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน READ Café
DAD จัดกิจกรรมไถ่ชีวิตโค-กระบือถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันแม่แห่งชาติ
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development จัดโครงการ ธพส. ร่วมใจไถ่ชีวิตโค - กระบือ
DAD จัดเต็มที่จอดรถให้สำนักงานอัยการสูงสุด
ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development เปิดเผยว่า ได้เข้าพบ นายสราวุธ ปิตุเตชะ
ผู้บริหาร พนักงาน DAD ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD
“กระทรวงการคลัง” ผุดอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย ซอยสุขุมวิท 11
DAD ได้สิทธิ์พัฒนาอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยของกรมสรรพากร ดีเดย์ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ 3 หน่วยงาน กรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และ ธพส. เตรียมผุดอาคารขนาด 17 ชั้น ซอยสุขุมวิท 11 มูลค่าโครงการเฉียด 1,000 ล้านบาท ระยะเวลาเช่า 15 ปี
ต้อนรับเข้าสำนักงานใหม่
วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด หรือ DAD Asset Development ดร.ธีธัช สุขสะอาด รองกรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ