นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้า
การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมี นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน
และนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประทศไทย จำกัด ร่วมลงพื้นที่โดยมี นายกำพล สิริรัตตนนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ ในวันที่ 27 มกราคม 2566 ณ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
.
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เร่งรัดผลักดันพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยง
การเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว โดยได้เร่งรัดเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม
เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ส่งเสริมภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการกระจายรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และสนับสนุนการค้าการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีให้ดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้
.
มิติการพัฒนาทางถนน
- การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง
1.1 โครงการขยายช่องจราจร แยกบ้านจาน–อำเภอเดชอุดม ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.2 โครงการขยายช่องจราจร อำเภอตระการพืชผล-อำเภอเขมราฐ และ ตอนบ้านแสนสบาย-อำเภอเขมราฐ ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.3 โครงการก่อสร้างขยายช่องจราจร แยกทางหลวงหมายเลข 2085-อุบลราชธานี ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.4 โครงการปรับปรุงทางหลวง อำเภอพิบูลมังสาหาร-ด่านช่องเม็ก ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.5 โครงการทางแยกต่างระดับ จุดตัด ทล.231 กับ ทล.23 (แยกดงอู่ผึ้ง) (พร้อมทางคู่ขนาน) ดำเนินการแล้วเสร็จ
1.6 โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ บ้านสวน–เขื่องใน, บ้านหนองผือ–อำภอเขมราฐ, ห้วยยาง–สองคอน, หนองผือ–นาไฮ, บ้านโคก–ธาตุกลาง, ม่วงสามสิบ – พนา,
ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี (กิจกรรมก่อสร้างเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวง) และถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี (กิจกรรมพัฒนาสะพานและระบบระบายน้ำ)
- การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท
2.1 โครงการสะพานข้ามลำห้วยร่องขุม อำเภอตระการพืชผล อยู่ระหว่างดำเนินการ
ผลการก่อสร้าง 91.81% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2566
2.2 โครงการถนนสาย อบ.3007 แยกทล.212-บ้านเหล่าเสือโก้ก อำเภอม่วงสามสิบ
อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 80.10% คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
2.3 โครงการถนนเชิงลาดสะพานข้ามลำมูลน้อย อำเภอเมือง อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 57.04% อยู่ระหว่างขออนุมัติขยายระยะเวลาการก่อสร้าง
2.4 โครงการสะพานแม่น้ำลำเซบก อำเภอดอนมดแดง อยู่ระหว่างดำเนินการ ผลการก่อสร้าง 50.84% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567
2.5 โครงการสะพานข้ามลำห้วยหลวง อำเภอนาจะหลวย อยู่ระหว่างการบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
- แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP
เป็นโครงข่ายคมนาคมที่ประกอบไปด้วยถนนมอเตอร์เวย์และทางรถไฟร่วมกัน
เน้นการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงผลกระทบการเวนคืนและการแบ่งแยกชุมชนเป็นหลัก โดยมีการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคอื่นของประเทศไทย ให้สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ส่งเสริมการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
.
โดยแผนการดำเนินการใน ปี 2564 แผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบแล้ว ปี 2565 หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่ กรมทางหลวง และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบในรายโครงการต่อไป โดยมีเส้นทางที่ผ่านพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ MR5: กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์)-อุบลราชธานี (สะพานมิตรภาพไทย-ล่าว แห่งที่ 6)
- การเชื่อมโยงการขนส่งสาธารณะ
การเชื่อมโยงระบบคมนาคมจากสถานีขนส่งผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีและระหว่างจังหวัด ได้แก่ การเชื่อมโยงระบบการขนส่งสาธารณะในจังหวัดอุบลราชธานี มีสถานีขนส่งรองรับ 2 สถานี คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเดชอุดม และสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสิรินธร
(ช่องเม็ก) การเชื่อมโยงระบบการขนส่งสาธารณะรถโดยสารต่างประเทศ มี 2 เส้นทาง คือ สายที่ 3 อุบลราชธานี-ปากเซ และสายที่ 10 กรุงเทพมหานคร-อุบลราชธานี-ปากเซ ทั้งนี้ยังได้มุ่งเน้นนโยบายการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยสำนักงานขนส่งจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ผู้ตรวจการตั้งจุดตรวจสอบรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และตรวจสอบรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พร้อมตรวจวัดค่าควันดำ ดำเนินการโครงการตรวจจับความเร็วรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกด้วยกล้องเลเซอร์
เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงดำเนินการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามโครงการตรวจเข้มข้น
รถโดยสารสาธารณะ Checking Point ทุกวัน ไม่มีวันหยุด เพื่อการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างปลอดภัย
.
มิติทางราง มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 308 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีใหญ่พิเศษ จำนวน 4 สถานี สถานีขนาดใหญ่ จำนวน 3 สถานี สถานีขนาดกลาง จำนวน 8 สถานี และสถานีขนาดเล็กจำนวน 20 สถานี อยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ และโครงการรถไฟทางสายใหม่ ช่วงอุบลราชธานี-ช่องเม็ก มีแผนของบประมาณปี 2567
เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น
มิติทางน้ำ มีการพัฒนาทางน้ำในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ โครงการขุดลอกแม่น้ำชี
กม. 55 + 00 ถึง กม. 60 + 00 อำเภอเชื่องใน และโครงการขุดลอกแม่น้ำชี กม. 195 + 00 ถึง กม. 200 + 00 อำเภอพนมไพร เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง การสร้างท่าเทียบเรือในแม่น้ำโขงบริเวณเทศบาลตำบล
บ้านด่านโขงเจียม อำเภอโขงเจียม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจาก สปป.ลาว รวมทั้งมีการบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย
.
มิติทางอากาศ ปัจจุบันท่าอากาศยานอุบลราชธานีสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 1,050 คน/ชั่วโมง ซึ่งการฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิด-19 มีแนวโน้มเป็นไปในทางที่ดีขึ้นในปี 2566 โดยคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเที่ยวบินใบปี 2566 ทั้งปี กว่า 5,254 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 1.5 ล้านคน เพื่อขยายขีดความสามารถของอาคารและผู้โดยสาร กระทรวงฯ มีแผนโครงการและแผนพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานี ได้แก่ โครงการงานก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ ที่สามารถรองรับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 2 ช่องจอด รถเช่าขับเอง จำนวน 30 ช่องจอด รถเช่าพร้อมคนขับจำนวน 5 ช่องจอด รถแท็กซี่จำนวน 28 ช่องจอด
และลานจอดรถยนต์ จำนวน 164 คัน โครงการปรับปรุงระบบสายส่งไฟฟ้าลงใต้ดิน โครงการงานซ่อมบำรุง
เสริมผิวทางวิ่ง ทางขับ และโครงการงานก่อสร้างทางขับและขยายลานจอดรถเครื่องบิน พร้อมระบบไฟฟ้าสนามบิน หากแล้วเสร็จจะสามารถรองรับลานจอดเครื่องบินจากเดิมจอดได้ 5 ลำ เพิ่มเป็นจอดได้ 10 ลำ
ทางขับจากเดิม 2 เส้นทางขับ เพิ่มเป็น 3 เส้นทางขับ และลานจอดรถยนต์รองรับได้เพิ่ม 230 คัน
ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะทำให้การเชื่อมต่อด้านคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องมีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชน และภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยต้องจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อแปลงโยบายไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินงานต้องคำนึงถึงปัจจัยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ และต้องสร้างความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนก่อนเริ่มการดำเนินโครงการ และควรคำนึงถึงเรื่อง Climate Change เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในอีก 25 ปีข้างหน้า ตามนโยบายของรัฐบาลควบคุมดูแลการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของโครงการ และมีมาตรการการป้องกันอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอย่างเคร่งครัด สำหรับการสำรวจและออกแบบก่อสร้างโครงการต่าง ๆ จะต้องพิจารณาด้านอุทกศาสตร์และไม่ให้กีดขวางทางระบายน้ำ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างยั่งยืน และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า รวมทั้งให้กรมเจ้าท่าดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการขุดลอก