จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตด้วยระบบ Mental Health Check-in ในปี 2564 พบว่า สุขภาพจิตประชากรวัยทำงานตอนต้นช่วงอายุระหว่าง 20-29 ปี มีปัญหาภาวะเครียดสูงถึงร้อยละ 29.76 เสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 33.99 เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร้อยละ 19.19 และมีภาวะหมดไฟร้อยละ 15.22 ซึ่งโดยรวมเป็นอัตราส่วนของปัญหาด้านสุขภาพจิตที่สูงกว่าประชากรในวัยอื่นประมาณ 3 เท่า
นับเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึง “สานพลังสร้างนวัตกรรม สื่อสารสุข” ด้วยการสนับสนุนการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพจิตในรูปแบบที่น่าสนใจให้กลุ่มวัยทำงานผ่านช่องทางออนไลน์ มุ่งหวังให้เกิดแนวทางสร้างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกให้ประชาชน ให้มีความหวัง (Hope) มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง (Efficacy) มีความเข้มแข็งทางจิตใจ (Resilience) และสามารถมองโลกในแง่ดี (Optimisim) เป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนซับซ้อนผันผวน
ความร่วมมือโดย สสส.เป็นหลักในการขับเคลื่อนนั้น ได้มีการแถลงข่าวเมื่อต้นเดือนมกราคมนี้เอง พร้อมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และเพจ Understand เปิดตัว YouTube channel “บ่อจอย” เพื่อส่งต่อความรู้สุขภาพจิตในรูปแบบ Edutainment เพิ่มช่องทางการเข้าถึงประชาชนให้มากขึ้น
นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ขณะนี้พบว่าสุขภาพจิตคนวัยทำงานมีความตึงเครียด ซึมเศร้า ทำร้ายตัวเองสูงมาก อันเนื่องมาจากแรงกดดันทางสังคม การระบาดของโควิดส่งผลกระทบทางจิตใจสูง ดังนั้นต้องมีการสื่อสารสุขภาพจิตให้เข้าใจง่าย เชื่อมโยงกับตัวเองเสมือนหนึ่งเป็นหวัดแล้วกินยา เรื่องสุขภาพจิตนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว ทำให้เกิดการซึมซับอย่างปกติในชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องจับตามองเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้คนด้วย
บ่อจอย Channel เป็นขุมทรัพย์บ่อน้ำแห่งความสุข เป็นช่องทางนำเรื่องที่ไม่สนุกและเข้าใจยากในเชิงจิตวิทยามาเล่าใหม่ให้สนุก ส่งเสริมให้สังคมมีสุขภาพจิตที่ดีด้วยการสนับสนุนจาก AIS Understand อาทิ Kinjai (กินใจ) รายการในรูปแบบการพูดคุยสัมภาษณ์จิตแพทย์ประเด็นสุขภาพจิตง่ายๆ ในบรรยากาศสบายๆ ในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าสุขภาพจิตเป็นเรื่องใกล้ตัว พูดคุยได้ง่าย ลดความรู้สึกอคติต่อโรคจิตเวชและปัญหาด้านสุขภาพจิต ให้มีการยอมรับปัญหาด้านสุขภาพ การเข้าถึงบริการในการรักษาจิตเวชในแต่ละพื้นที่ของเมืองไทย
“เน้นกลุ่มเป้าหมายเยาวรุ่น ชี้ช่องแนะแนวเพื่อปรับใช้ในชีวิตเพื่อความสุข ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิต อยู่อย่างไรให้มีความสุข คาดหมายว่าจะมีผู้เข้าชมหลักล้านคน ดูแล้วเกิดปัญญามีสาระถึงกลุ่มเป้าหมาย สนุกกว่าการดูละคร” นายชาติวุฒิกล่าว และเปิดเผยอีกว่า
สสส.เร่งดำเนินการด้านการสร้างเสริมสุขภาพจิตด้วยวัคซีนใจ ให้ประชาชนมีสุขภาพจิตดี มุ่งเน้นสร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก่อนเจ็บป่วย โดยสนับสนุนการสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งระดับบุคคล สังคม และนโยบาย ด้วยการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ทันสมัย ตอบสนองต่อสถานการณ์สังคม ผลักดันนโยบายที่เน้นการเข้าถึงบริการพื้นฐาน รวมทั้งสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตให้ประชาชนตลอดช่วงวัย มีศักยภาพทางจิตใจ สามารถเข้าใจตนเองและบุคคลรอบข้าง มีความเข้มแข็งทางใจ ทักษะเชิงบวก สามารถจัดการอารมณ์ความเครียด มีความสามารถรับมือและจัดการปัญหาต่างๆ ได้ รวมทั้งเป็นส่วนสนับสนุนการดำเนินงานด้านอื่นๆ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมและวิถีชีวิตเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจิตของประชาชน
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า AIS Play ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตสนับสนุน 3 รายการดีๆ สู่ประชาชน ให้เป็นสะพานบุญร่วมกันทำสิ่งดีๆ ระหว่าง สสส. AIS Understand ทุกคนรู้จัก AIS Digital line ให้บริการพัฒนาระบบเครือข่ายการสื่อสาร เศรษฐกิจดิจิทัลของไทย การสร้างองค์ความรู้ ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากการพัฒนาบริการและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนและยกระดับการสื่อสาร และเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้เพื่อปลูกจิตสำนึก สื่อสารให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับทักษะพลเมืองในยุคดิจิทัลทุกแง่มุม ผ่านโครงการอุ่นใจไซเบอร์ ที่มีทั้งการย้ำเตือนเกี่ยวกับภัยไซเบอร์ และการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์
โดยความร่วมมือในครั้งนี้สอดคล้องเจตนารมณ์ดังกล่าวอย่างยิ่ง และเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะทางจิตให้แก่คนไทย ทั้งนี้ AIS ยินดีเป็นช่องทางเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวผ่านทาง AIS PLAY ซึ่งเป็น Streaming Platform โดยไม่คิดค่าบริการ Content ดูฟรีทุกเครือข่าย (คิดค่าบริการดาต้าตามแพ็กเกจการใช้งานของแต่ละท่าน) โดยสามารถรับชมได้ในทุกช่องทางทั้ง แอปพลิเคชัน AIS PLAY ดาวน์โหลดได้ที่ https://m.ais.co.th/lp ทั้ง Apple App store, Google Play Store รับชมผ่านกล่อง AIS PLAYBOX, SAMSUNG Smart TV, Apple TV และเว็บไซต์ aisplay.ais.co.th รวมถึง YouTube ช่องบ่อจอย หวังว่าช่องทาง AIS PLAY จะเป็นคอมมูนิตี้และพื้นที่ส่งต่อองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตให้แก่คนไทยในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัลอันดับ 1 ของไทย
นางสาวดลพร นิธิพิทยปกฤต ผู้ร่วมก่อตั้งเพจ Understand กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับ สสส.จัดทำโครงการพัฒนาและสื่อสารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพจิตเชิงบวกในวัยทำงานผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาพจิตเชิงบวกประชาชนวัยทำงาน นำไปสู่การมีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตผ่านทาง YouTube channel เนื่องจากเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่คนไทยในกลุ่มวัยทำงานใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถนำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพจิตที่มีความยาวและรายละเอียดได้มาก สามารถสื่อสารกับประชาชนผ่านทางการแสดงความคิดเห็นของผู้รับชมได้
โดย YouTube channel ช่อง “บ่อจอย” ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่ 1.รายการ iUV Day ดำเนินรายการด้วยวิธี Experimental psychology ที่เน้นใช้การทดลองทางสังคมกับกลุ่มตัวอย่าง 2.รายการ Imposter การสนทนารอบวง นำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพจิตผ่านการให้อาชีพต่างๆ มาพบกัน แลกเปลี่ยนมุมมองกัน โดยมีการแฝงตัวแบบ Imposter 3.รายการ Kinjai การพูดคุยกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยา นำเสนอการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต และสภาพปัญหาสุขภาพจิตของคนวัยทำงานในยุคปัจจุบัน ผ่านการพูดคุยประเด็นด้านสุขภาพจิตอย่างง่ายๆ ในบรรยากาศสบายๆ ในร้านอาหาร
“ปัจจุบัน YouTube channel จัดเป็นโทรทัศน์ดิจิทัลช่องหนึ่ง ซึ่งรายการที่นำมาจัดวางอาจมีความแตกต่างกันในแง่การนำเสนอ เนื้อหาสาระ เป้าหมายของสื่อ และกลุ่มของผู้รับชมได้ การที่มีช่องทางเช่นนี้จะช่วยทำให้สามารถถ่ายทอดเนื้อหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวชได้เป็นจำนวนมาก สามารถปรับเนื้อหาตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ให้มีความทันสมัยและแก้ปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นได้อย่างฉับไว ต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจาก สสส. ในการวางแผนขับเคลื่อนโครงการฯ และข้อมูลจากการแนะนำโดยบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิตจากกรมสุขภาพจิต และวันนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ทั้ง 3 รายการจะได้เผยแพร่ผ่านช่องทาง AIS PLAY อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน” นางสาวดลพรกล่าว
อนึ่ง YouTube channel “บ่อจอย” ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย มีผู้เข้าร่วมรายการ พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ จักรกฤต โยมพยอม หรือครูทอม คำไทย ติวเตอร์ภาษาไทยสุดเฟี้ยว คุณเอิร์ธ ตัวแทนผู้เข้าร่วมรายการ โดยมีพิชญ์สินี สมิทธิเนตย์ Learning Designer ของ Understand และทีมฝ่ายวิชาการของช่องยูทูบบ่อจอย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว
"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น
“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.
วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั
สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ
สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ
เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน
สสส.ชวนคนรักสุขภาพ ร่วม'เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง' กระตุ้น'นักวิ่งหน้าใหม่'ลงสนาม8ธ.ค.นี้
เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 11 พ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย จัดงานแถลงข่าว Thai Health Day Run 2024 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่ ครั้งที่ 12 ภายใต้แนวคิด “เมื่อคุณเริ่มวิ่ง หัวใจเต้นแรง” ในวันที่ 8 ธ.ค. นี้ ที่สะพานพระราม 8 โดย สสส. มุ่งจุดกระแสกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ในอนาคต ซึ่งจากผลสำรวจอายุคาดเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2567 ของ www.worldometers.info ระบุว่า ไทยมีอายุคาดเฉลี่ยอยู่ที่ 76.56 ปี อายุยืนเป็นอันดับที่ 78 ของโลก ขณะที่ข้อมูลจากฐานข้อมูลการตาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ปี 2561-2565 พบคนไทยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 164,720 ราย สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ ป่วยด้วยกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมและวิถีชีวิต