เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2566 ที่โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “21 ม.ค. รำลึก 1 ปี หมอกระต่าย สู่วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน” และ“หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” ครั้งที่ 12 เพื่อรำลึกถึง พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือหมอกระต่าย ที่ประสบอุบัติเหตุถูกรถบิ๊กไบค์ชน ขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลายจนเสียชีวิต นพ.อนิรุทธ์สุภวัตรจริยากุล พ่อของหมอกระต่าย กล่าวว่าการรณรงค์ 1 ปีที่ผ่านมา สื่อให้เห็นว่าการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้มีผู้เสียชีวิต เป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับครอบครัวที่สูญเสีย จึงไม่อยากให้เป็นเพียงกระแสอยู่ในวงแคบ ขอขอบคุณ สสส. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยากให้ทำเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง เหมือนเรื่องเหล้า - บุหรี่ ให้ผู้ใช้รถตระหนักถึงความสูญเสียจากอุบัติเหตุ และเคารพกฎหมาย“ผ่านมา 1 ปี เป็นความรู้สึกที่เร็วมาก ครอบครัวยังต้องปรับตัวกับความสูญเสีย และสู้ต่อในทุกๆ วัน พยายามใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์กับสังคมให้ได้มากที่สุด หลังสูญเสียลูกสาว ทำงานทุกวันเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตและจิตใจ ให้ก้าวเดินต่อไปได้ในทุกวินาที เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปตลอดกาล ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปสำหรับคนเป็นพ่อแม่” นพ.อนิรุทธ์ กล่าว
นพ.อนิรุทธ์ กล่าวต่อว่า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้วันที่ 21 ม.ค. เป็นวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน จึงอยากให้ภาครัฐเข้มข้นกับนโยบายเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน และทุกหน่วยงานเห็นความสำคัญของเรื่องนี้อย่างแท้จริง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีการปรับปรุงกายภาพถนนมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าสังคมเมืองหลวงเป็นสังคมหนาแน่น กฎหมายจราจรต้องเดินหน้าไปพร้อมกับบริบทที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการขับขี่ที่ไม่คำนึงถึงคนเดินเท้า เพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรม นอกจากนี้ต้องปลูกฝังเด็ก-เยาวชน ผ่านระบบการศึกษา และผู้ปกครอง ครู ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย สมาชิกวุฒิสภา และประธานคณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินและความปลอดภัยทางถนน วุฒิสภา กล่าวว่า การเสียชีวิตคุณหมอกระต่าย เป็นความสูญเสียที่สะเทือนใจต่อสังคม สะท้อนความเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน ที่ไม่สมควรเกิดขึ้นอีก จากข้อมูล 3 ฐานรวบรวมโดยกระทรวงสาธารณสุข 10 ปีย้อนหลัง พบการเสียชีวิตของคนเดินเท้าเฉลี่ย 1,000 ราย/ปี เกือบ 50% เกิดจากรถจักรยานยนต์ 1 ใน 3 เกิดขึ้นในเขตเมือง โดยเฉพาะ กทม. คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินฯ สสส. และภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรม “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” มาอย่างต่อเนื่องทุกเดือนตลอด 1 ปีนับตั้งแต่เกิดเหตุ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 12 เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นจริงในสังคมอย่างยั่งยืนผ่านกลไกของวุฒิสภา โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจากทุกฝ่าย
“ที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนร่วมกันหลายภาคส่วน โดยเฉพาะ สสส. มูลนิธิเมาไม่ขับ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.)และภาคีเครือข่ายอีกกว่า 100 องค์กร มุ่งมั่น เร่งรัด ติดตาม และวิเคราะห์สถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน แสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่าย และยื่นข้อเสนอแนะ เพื่อแก้ไขปัญหาต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง สื่อสารผ่านสื่อหลัก และเครือข่ายสังคมออนไลน์ วันนี้เป็นข่าวดีของชาวไทยที่รัฐบาลได้ยกระดับความสำคัญ ให้วันที่ 21 ม.ค. ของทุกปี เป็นวันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน จึงนับเป็นวันสำคัญของประเทศไทยอีกวันหนึ่ง”และชวนคนไทยทุกคนช่วยกันส่งแสงทั้งแสงเทียนไฟหน้ารถไฟจากโทรศัพท์มือถือApplication จุดเทียนเป็นเวลา1นาทีเพื่อรำลึกถึงคุณหมอกระต่ายและส่องแสงเพื่อให้ประเทศไทยของเรามี“วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน”อย่างแท้จริงนายสุรชัย กล่าว
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่าจากการรณรงค์ “หยุดสูญเสีย หยุดรถ ให้คนข้ามทางม้าลาย #ความดีที่คุณทำได้” อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีนั้นด้วยความมุ่งหมายที่อยากให้มีวัฒนธรรมของการ “หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย” และเน้นย้ำถึง “การลดความเร็วรถในพื้นที่เขตเมืองและชุมชน” และ “ขอให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง”เชื่อว่าการทำงานร่วมของทุกหน่วยงานที่ผ่านมา 1 ปี เกิดผลเป็นที่น่ายินดี เพราะเห็นความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในพื้นที่ กทม.ค่อนข้างมาก อาทิ การปรับปรุงพื้นที่ทางข้ามทางม้าลายให้ชัดเจนขึ้นและมีการติดตั้งสัญญาณไฟสำหรับคนเดินข้ามถนนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลของ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ชี้ชัดว่า ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่เป็นคนเดินเท้าในปี 2565 ลดลงถึง12% จากปี 2564 โดยลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้ถึง 81 ชีวิตถือว่าการทำงานร่วมของทุกภาคส่วนไม่สูญเปล่าและจะเป็นแสงสว่างให้กับประเทศไทยที่จะมีถนนที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นเหมือนเช่นในวันนี้ที่ทุกคนมาร่วมส่งแสงเพื่อรำลึกถึงคุณหมอกระต่ายและส่องแสงไปสู่ “วันความปลอดภัยของผู้ใช้ถนน”
สสส.คณะกรรมการบูรณาการกู้ชีพฉุกเฉินฯ มูลนิธิเมาไม่ขับโดย นพ.แท้จริง ศิริพานิช และภาคีเครือข่าย มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันต่อเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทางถนน โดยเน้นไปที่การทำให้ สังคมและประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมกันทำให้พื้นที่ทางม้าลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยของคนข้ามถนนและผู้ขับขี่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีวินัยจราจรเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย 100% ให้เกิดขึ้นจริง ตามนโยบายของ ศปถ. เมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่จะช่วยดึงยอดการเสียชีวิตและความสูญเสียของกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในบ้านเราลงให้ได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนอย่างยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าดาวดับคู่
สื่อสภาตั้งฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' – 'เนวิ(น)เกเตอร์' สภาสูง 'วันนอร์' รูทีนตีนตุ๊กแก – ประธานวุฒิฯ 'ล็อกมง' – ผู้นำฝ่ายค้านฯ 'เท้งเต้ง' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าคู่ 'ดาวดับ' ยกขันหมาก 'พท.-ปชป.' เหตุการณ์แห่งปี
"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
สภาสูง ยั๊วะ รัฐบาล ข้ามหัว เทตอบ 5 กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯนินจา’ หนีสภา
‘สภาสูง’ ยั๊วะ รบ.ข้ามหัว เทตอบ 5กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯ นินจา’ หนีสภา ‘หมอเปรม’ อาลัย ‘แพทองโพย’ ไร้รับผิดชอบ แขวะใส่ชุดนอนตรวจทหาร หิ้วผัวใต้ออกงาน
ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567