แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้เกิดธุรกิจการค้ากลับมาเปิดทำการ ส่งผลให้เกิดการจ้างงานได้เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นหากเกิดกรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเองเป็นประจำทุกเดือน ได้กลับเข้าไปเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ จะได้รับสิทธิประโยชน์จากสำนักประกันสังคมในฐานะผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยนายจ้างหรือสถานประกอบการจะเป็นผู้ดำเนินการหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมให้แก่ผู้ประกันตนเอง ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เริ่มทำงานวันแรกทันที
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 หรือมาตรา 40 ที่กลับเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ ไม่ต้องกังวลในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สมัครใจส่งเงินสมทบเอง หากได้งานประจำที่สถานประกอบการใหม่ นายจ้างหรือสถานประกอบการจะดำเนินการขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เอง แต่ถ้ากรณีผู้ประกันตนมาตรา 39 มีการค้างชำระเงินสมทบ แนะนำให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมที่สะดวก เพื่อตรวจสอบข้อมูลและชำระเงินสมทบงวดที่ค้างจ่าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วจะได้รับความคุ้มครองด้วยสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม นั่นคือกรณีว่างงาน
ทั้งนี้ หากเป็นกรณีของผู้ประกันตนมาตรา 40 ที่ประกอบอาชีพอิสระ ได้ทำงานประจำกับนายจ้างหรือสถานประกอบการ และเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ก็ไม่ต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เช่นกัน โดยนายจ้างหรือสถานประกอบการ จะดำเนินการแจ้งเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้และผู้ประกันตนไม่ต้องส่งเงินสมทบตามมาตรา 40 แต่หากวันใดออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และต้องการส่งเงินสมทบต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน หรือ สามารถส่งเงินสมทบมาตรา 40 ต่อได้โดยไม่ต้องสมัครใหม่อีกครั้ง
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการแจ้งเปลี่ยนมาตราของผู้ประกันตนในฐานะลูกจ้างใหม่นั้น เป็นหน้าที่ของนายจ้างหรือสถานประกอบการที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมได้ออกมาย้ำเตือนถึงนายจ้างเป็นประจำทุกปีถึงเรื่องการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างสัญชาติไทยหรือลูกจ้างชาวต่างชาติ/ต่างด้าว นายจ้างหรือสถานประกอบการ ต้องแจ้งให้สำนักงานประกันสังคมทราบอย่างละเอียด ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วนทั้ง 7 กรณีตามมาตรา 33 ทั้งนี้หากนายจ้างหรือสถานประกอบการ แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนล่าช้า ทางสำนักงานประกันสังคมจะออกหนังสือเชิญ เพื่อชี้แจงให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งหากนายจ้างยังมีเจตนาหลีกเลี่ยง ก็จะมีผลตามกฎหมาย โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้ประกันตนหรือนายจ้างมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ทาง Line@ssothai และทางเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th
Website: www.sso.go.th
Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Instagram: sso_1506
Twitter: @sso_1506
YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
LINE: @SSOTHAI
TikTok: @SSONEWS1506
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท
โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี
'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ
สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
นายกฯ อิ๊งค์สั่งแรงงงานเยียวยา 'ผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน' ที่เจอน้ำท่วมใน 41 จังหวัด
นายกฯ กำชับแรงงานดูแลผู้ประกอบการ-ผู้ประกันตน ม. 33 ,39,40 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมใน 41 จังหวัด มั่นใจเป็นส่วนหนึ่งเยียวยาผู้ประสบภัยได้อย่างตรงจุด
“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน