เยี่ยมเยือน"ผู้สูงวัย"ติดเตียง สร้างสุขภาวะ...จากใจถึงใจ

ผอ.รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบลนำทีมนสช.นำคณะสสส.ดูงานเยียวยาผู้สูงวัยติดเตียง ผอ.รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)บ้านคลองเมืองใหม่ พร้อมทีมนักส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน(นสช.)ใช้ซาเล้งเข้าถึงบ้านผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ให้คำปรึกษาเยียวยาทั้งใจและกายคลายกังวล ชมรมธรรมะหรรษาสามวัยและธนาคารผ้าอ้อมเข้าถึงทุกครัวเรือนด้วยงบสสส.สป.สช.พม.  รับฟังเทคนิคการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนคลองวัว  ปลูกผักที่ชอบบ้านละ5ชนิด เหลือกินแบ่งขายให้คณะดูงานจากหน่วยงานต่าง ๆ สร้างรายได้

นายนิพนธ์ เงินคงพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)บ้านคลองเมืองใหม่นำทีมเจ้าหน้าที่และพยาบาลนักส่งเสริมสุขภาพจิตชุมชน(นสช.)นั่งรถซาเล้งเพื่อเข้าเยี่ยมครอบครัวผู้ป่วยถึงบ้านหลายครัวเรือนโดยการสนับสนุนของสสส.สป.สช.พม. มีผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม กรรมการบริหารแผนคณะที่2 สสส. นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส.พร้อมทีมงานมาดูงาน ในระหว่างทางทีมงานสาธารณสุขบอกเล่าว่าในชุมชนบ้านคลองเหมืองใหม่ ชาวสวนปลูกมะพร้าวน้ำหอม ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ส้มโอได้ชื่อว่าอุดมด้วยวิตามินซีและชาวจีนยกย่องให้ส้มโอไทยมีรสชาติอร่อยสร้างชื่อเสียงระดับโลก ขณะเดียวกันสวนผลไม้ที่นี่มียุงทุกชนิดชุกชุมมาก ต้องฉีดพ่นน้ำยากำจัดลูกน้ำยุงลาย ตัดวงจรโรคไข้เลือดออก ทั้งยังแจกทรายอะเบทเพื่อใส่ลงไปในน้ำคูคลอง 

ทีมที่เข้าไปดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงติดบ้าน จะใช้งบประมาณจากกองทุนสป.สช.ที่ได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งจากสสส. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)เป็นงานบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ภายในบริเวณบ้านไม้สักหลังใหญ่ เลขที่90/29 หมู่4 อ.อัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามร่นรื่นด้วยไม้ใหญ่ไม้เลื้อยไม้ผล คุณพ่อประเทือง เพิ่มวัฒนา ปราชญ์ชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเมืองอัมพวาวัย86ปี ปลูกใบไม้สีทอง หรือ ย่านดาโอ๊ะ นำมาบรรจุใส่กรอบรูป เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคล ใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือน ต้นยอเป็นผักออร์แกนิก ลดอาการปวดและอักเสบ ปวดศีรษะ ปวดเก๊าท์ ป้องกันร่างกายติดเชื้อ ปลูกผักพื้นบ้านกว่า40ชนิด รวมทั้งมีอ่างเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ป

คุณพ่อประเทือง เพิ่มวัฒนา มีอาชีพทำสวนมะพร้าว น้ำตาลมะพร้าว และทำสมุนไพรน้ำลูกยอจำหน่าย รวมทั้งปลูกพืชสมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณพ่อประเทืองแต่งงานเมื่ออายุ28ปีกับคุณแม่เนื่อง ทองอยู่คง ผู้หญิงอัมพวาวัย26ปี ทั้งสองมีบุตร6คน เป็นหญิง4 ชาย2 มีหลานทั้งหมด5คน ยึดถือหลักสร้างตัวด้วยลำแข้งตัวเอง “ผมทำสวนตลอดชีวิต เกิดมาก็ช่วยพ่อแม่ทำสวน เรียนจบป.4ร.ร.วัดปรกสุธรรมารามก็ทำสวน เพิ่งจะหยุดทำเมื่อปีกว่ามานี้เอง เพราะลูกๆขอร้องให้หยุดพักผ่อน  สมัยก่อนพ่อทำน้ำมันงา กระชายดำ น้ำลูกยอจำหน่าย ม.มหิดลเข้ามาดูงานที่นี่บ่อยๆ พ่อก็เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการเกษตรและสมุนไพรไทย ทุกวันนี้ได้รับเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุเดือนละ1,000บาทจากรัฐบาลทุกเดือนและยังมีเงินเก็บใช้จ่าย ลูกๆก็เข้ามาเยี่ยมกันตลอด ซื้อข้าวซื้อของมาให้อย่างที่เห็นๆ”

สมัยก่อนพ่อประเทืองเคยสูบบุหรี่ แต่เลิกบุหรี่มาหลายปีแล้ว คนสมัยก่อนพระสงฆ์ก็สูบบุหรี่จากใบจาก ใบตอง ฆราวาสก็ติดบุหรี่ตามๆกันมา เพียงแต่ไม่ดื่มเหล้าเมายาแต่อย่างใด ยึดถือหลักเลี้ยงลูกโดยไม่กู้เงิน ที่สำคัญก็คือไม่สร้างหนิ้สินให้เกิดความเดือดร้อนกับสมาชิกในครอบครัว ชอบทำบุญสุนทานการกุศล แจกเงินแบ่งที่ดินให้ลูกไว้แล้ว เหลือเงินก้อนหนึ่งฝากแบงค์ไว้ใช้ยามจำเป็น พอมีเงินช่วยเหลืองานมูลนิธิพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปกติไปงานอุทยานร.2ทุกปี เป็นกรรมการสหกรณ์นิคมสหกรณ์ประมง

คุณพ่อประเทืองเล่าว่าลูกชาย2คนมีเหย้ามีเรือนแล้ว คนหนึ่งเป็นนายทหารยศสิบโทอยู่นครศรีธรรมราช ย้ายมาอยู่ราชบุรี ลูกชายอีกคนทำสวนเกษตร ซื้อที่ดินเพิ่มรอบบ้านหลังนี้ ปลูกบ้าน มอบหมายให้ภรรยาเข้ามาดูแลเรื่องอาหารการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ภายในบ้านไม่ขาดตกบกพร่องแต่อย่างใด ถึงเราจะเป็นฆราวาสก็ได้รับการปฏิบัติอย่างดี  ลูกสาว3คน กัญญารัตน์,วาสนา,กนกวรรณได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏ ปริญญาโทนิด้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลูกสาว2คนทำงานบริษัทต่างประเทศประจำในเมืองไทย อีกคนหนึ่งทำงานที่เมืองคุนหมิง จีนแผ่นดินใหญ่ ลูกสาวทั้ง3มีครอบครัวแล้ว ส่วนลูกสาวอีกคนช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านเป็นชาวสวน ลูกสาวคนนี้ไม่ได้แต่งงาน มีอยู่วันหนึ่งตกจากต้นมะพร้าว ป่วยจนเดินไม่ได้ นอนติดเตียงมาแล้วกว่า20ปี ขณะนี้อายุ50กว่าปีแล้ว พักรักษาตัวอยู่ที่บ้านหลังเดียวกัน มีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เข้ามาเยี่ยมเยียนถึงบ้านอย่างใกล้ชิดเป็นประจำ

นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงาน คือชมรมธรรมะหรรษาสามวัยและธนาคารผ้าอ้อมผู้ใหญ่เพื่อผู้สูงอายุติดเตียงและผู้พิการ “ผอ.โรงพยาบาลพาทีมเข้ามาเยี่ยมที่บ้านนี้อยู่บ่อยๆ วันก่อนพ่อก็บริจาคให้ไป2หมื่นบาท เพราะเขาดูแลลูกสาวที่นอนติดเตียงเป็นอย่างดี ปกติผมแข็งแรงมีเพียงปัญหาต่อมลูกหมากโต ไม่เป็นเบาหวาน กินยาปวดข้อปวดเข่าที่มีส่วนผสมของสเตียรอย เลือดออกเยอะมากเมื่อถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลแม่กลอง  หมอก็ให้แอดมิด เพื่อเอ็กซ์เรย์ ต้องใส่ท่อลงไปในลำคอเพื่อรักษา พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหลายวัน ไม่ปรากฏอาการเลือดออกอีกเลย ผมเป็นคนตกต้นมะพร้าวและหกล้มบ่อยมากเป็น20ครั้ง แต่ไม่เคยกระดูกหักหรือขาหักแต่อย่างใด เรื่องต้นไม้ต้นไร่เมื่อตกลงมาแล้วเหมือนถูกลองของ ตกทุกครั้งก็ไม่เคยเป็นอะไร ขณะนี้เพื่อนๆน้องๆก็เสียชีวิตกันไปหลายคนแล้ว น้องชายเป็นนายทหารยศพันเอกพิเศษมณฑล  เพิ่มวัฒนา เสียชีวิตตอนอายุ64ปี ที่รพ.พระมงกุฎฯ เป็นนายทหารเสนารักษ์ เขาเคยเดินทางไปเกาหลี สอบได้ที่1ไปเรียนหนังสือที่สหรัฐฯ ทำงานอยู่ที่ราชบุรี ส่วนน้องสะใภ้ชื่อวิไลเป็นอาจารย์อยู่ที่นนทบุรี เกษียณอายุแล้วไม่มีลูก”

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส.กล่าวว่าเป็นความเข้มแข็งของนายนิพนธ์ เงินคงพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)บ้านคลองเมืองใหม่และทีมงานทำงานจนได้รับรางวัลระดับประเทศ ที่นี่มีผู้สูงอายุ1,166คนจากจำนวนประชากรกว่า4,000คน ป่วยเรื้อรัง800คน ติดเตียง39คนและติดบ้านที่จะต้องบริหารจัดการดูแลคุณภาพชีวิต อนาคตเพิ่มขึ้นเป็น40%ถ้าไม่วางแผนสุขภาพผู้สูงอายุไม่ให้เจ็บป่วยเรื้อรัง บุคลากรจะทำงานหนักมาก การบริหารต้องพึ่งพาชุมชนในการสร้างภาคีเครือข่าย ติดตามประเมินผล ลิ้นจี่โมเดลเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี

ณภัทร จาตุรัส

จากนั้นคณะทั้งหมดเดินทางไปดูการผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนคลองวัว  นางณภัทร จาตุรัส(อุ่นหนองหิน) หรือ เล็ก ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านคลองวัว หมู่ที่5 ต.เมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วัย65ปี ทำหน้าที่วิทยากร  เธอเล่าว่าเป็นคนหลังสวน ชุมพร มาเป็นสะใภ้อัมพวา30ปี มีบุตรชาย2คน บรรยายสรุปว่า ชุมชนได้รับเงินสนับสนุนจากสำนัก6สสส.จำนวน5หมื่นบาท เพื่อปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือนหมู่ที่5 มีสมาชิก196ครัวเรือน คณะกรรมการหมู่บ้านคือรากฐานของแผ่นดิน ด้วยกลยุทธที่จะทำให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วยการออกวิทยุเสียงตามสายว่า ใครเข้าประชุมจะได้หมูครึ่งกิโลกลับไปทำกับข้าวที่บ้าน การประชุมกลุ่มออมทรัพย์สัจจา คณะกรรมการมาจากตัวแทนอสม.สภาอบต.กรรมการหมู่บ้านกลุ่มอาชีพต่างๆ จะทำให้เก็บข้อมูลนำมาถอดบทเรียนได้เป็นอย่างดี

แต่เดิมชาวบ้านกลุ่มนี้ซื้อผักที่ตลาดนัดแต่เมื่อปลูกพืชผักสวนครัวภายในบ้านครัวเรือนละ5ชนิดบนแคร่ หรือท่อแป๊บน้ำที่ทิ้งไว้ จะทำให้ประหยัดค่ากับข้าว บางบ้านเลี้ยงปลาดุกตัวใหญ่5กก.  ปลูกผักกาด ถั่วพู มะเขือม่วง มะเขือยาว กะหล่ำปลี  คะน้า หัวปลี สะเดา ใบยอ หยวกกล้วย มะรุม สายบัว ได้ผักปลอดสารพิษรับประทานได้อย่างปลอดภัย หมอให้ความรู้ว่าถ้าคนเรากินสารเคมีตกค้างจะลงไปพอกที่ตับ ชันโรงหรือผึ้งจิ๋วผลิตเกสรและน้ำหวานใช้ถนอมอาหาร “ไม่ได้เป็นการพูดด้วยปาก  แต่มีไลน์กลุ่มให้แกนนำถ่ายคลิปวิดิโอ มีการทำน้ำมันมะพร้าวสะกัดร้อนเข้าโครงการห่วงโซ่อาหาร มหาวิทยาลัยเคยทำงานวิจัย พี่เล็กเก่งแต่พูด นำเรื่องที่ชาวบ้านทำไว้มาเล่าสู่กันฟัง เปิดอู่อาหารชุมชน”

การทำงานกับชุมชนให้สนุกแม้จะอยู่ในบ้านช่วงโควิดระบาด ใช้เวทีเกษตรให้ความรู้การทำธนาคารเมล็ดผัก เราจะเก่งงานคนเดียวไม่ได้  การปลูกผักก็ให้แนวคิดเราชอบกินผักอะไรก็ปลูกผักที่เราชอบกิน ใช้ปุ๋ยหมักไม่ใส่สารเคมี งบประมาณสำนัก6ให้มา1ปี 30โครงการละ5หมื่นบาท เป็นเวลา1ปี  ลงไปที่จังหวัด ทางจังหวัดก็แจ้งมาให้สมัครเข้าไป ด้วยการเขียนโครงการ ถอดบทเรียน3วัน3คืนก็ต้องเข้าไปในชุมชน การมีส่วนร่วมในการทำตลาดปลอดสารพิษ ถ้าผักดีจริงจะต้องมีการต่อยอดไม่ใช่ทำแบบไฟไหม้ฟาง กงสุลจีนเคยตามมาดูงานขอซื้อสูตรไปปลูกในประเทศลาว สูตรน้ำหวานจากดอกมะพร้าว มูลนิธิชัยพัฒนา ธ.ชาติเข้ามาดูฐานเรียนรู้สนับสนุนซื้อผลผลิตจากชาวบ้านคนละ2พันบาทรวมเป็นเงิน3หมื่น-7หมื่นบาท

“ลุงตู่(พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)ส่งทีมมาดูงาน นายอำเภอจากปักษ์ใต้ อีกคนไม่ได้บอกว่ามาจากสำนักงานเลขาธิการ พี่เล็กก็พูดแบบชุมชน มีคนจากสภาพัฒน์ สำนักงบประมาณอัดเสียงพี่เล็ก พี่เล็กพูดว่าชาวบ้านของยายเล็กไม่ตอบโจทย์ รัฐบาลให้เงินมาซ่อมหลังคา รัฐบาลยังเข้าไม่ถึง ไม่เข้าใจ ไม่พัฒนา ตอนประชุมครม.เปิดเสียงเทปยัยเล็กพูดฉอดๆในที่ประชุมเรื่องงบประมาณ

หลังจากนั้นนายกลุงตู่ดอดมาเองแบบเงียบๆ เพราะช่วงนั้นมีม็อบ3นิ้ว  ให้เวลาพี่เล็กพูดนำเสนอ1ชั่วโมง เป็นที่โจษจันกันว่ายัยเล็กมันแย่งไมค์นายกตู่พูด เพื่อให้ท่านได้รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน จริงๆแล้วมีหน่วยงานแนวหน้าเข้ามาก่อนนายกฯ1วัน เพื่อมารับทราบโครงการ ตอนนั้นเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคนเก่ามารับทราบเรื่องการขอซ่อมหอกระจายข่าว ผู้ว่ารับปากว่าจะให้งบประมาณ2.5หมื่นบาท ไม่ต้องบอกไปทางจังหวัด เรื่องทุกข์ร้อนก็เลยไมได้บอก ผู้ว่าเกษียณไปแล้วได้ผู้ว่าคนใหม่ 8เดือนมาแล้ว ก็ยังไม่ได้งบประมาณมาซ่อมหอกระจายข่าว ตอนหลังนำเรื่องปรึกษาไปยังโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯทรงให้ทหารมาซ่อมให้ด้วยสนนราคา2.4หมื่นบาทเสียงดังฟังชัดดีแล้ว รับสั่งด้วยว่าถ้ามีการซ่อมเสร็จแล้วให้พูดอัดเทปบันทึกไว้แล้วส่งไปหอกระจายข่าวให้ทรงรับทราบ

“พี่เล็กเป็นที่ปรึกษาโครงการอัมพวา ปีที่แล้วก็ติดโควิดพันธุ์เดลตา ให้ไปอยู่ศูนย์พักคอย เข้าไลน์กลุ่มอาจารย์หมอสอนให้ทำตัวอย่างไรเมื่อป่วย ให้ออกกำลังกายตอนเช้า ตากแดด หายดีใน14วันไม่ลงปอด ไม่ไอ  ใครๆก็เรียกพี่เล็กทั้งกลุ่มทั้งๆที่บางคนก็อายุ76ปีแล้ว  ยาฟ้าทะลายโจรมีการวิจัยตัวยา94%ดีที่สุด ให้เก็บไว้ใช้ในหมู่บ้านเพื่อรักษาผู้ป่วย”นางณภัทร จาตุรัส(อุ่นหนองหิน)กล่าวในที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต