ลูกจ้างต้องรู้! สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 นั้น ถือเป็นสิทธิที่ช่วยคุ้มครองลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกจ้างยังคงสถานะผู้ประกันตนที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมได้อย่างครบถ้วนต่อเนื่องแล้ว ผู้ประกันตนยังคงได้รับเงินทดแทนจากกรณีว่างงานอีกด้วย

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง หรือ ลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างแล้ว สามารถรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ โดยผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน ดังนี้ กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละไม่เกิน 180 วันต่อปีปฏิทิน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ตามกำหนดระยะเวลา ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละไม่เกิน 90 วันต่อปีปฏิทิน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย
ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ จะต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป ซึ่งผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่าน https://e-service.doe.go.th เว็บไซต์ของกรมจัดหางานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้างหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง จึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน นอกจากนี้ผู้ประกันตนจะต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่าน https:// e-service.doe.go.th เว็บไซต์ของกรมจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง รวมถึงเป็นผู้มีความสามารถในการทำงานและพร้อมทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงานและผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณีดังต่อไปนี้ คือ ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรงละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

ทั้งนี้ การยื่นเรื่องรับขอเงินทดแทนกรณีว่างงาน ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สำหรับกรณีผู้ประกันตนชาวต่างชาติ/ต่างด้าว ไม่สามารถยื่นผ่านระบบได้ต้องติดต่อที่สำนักงานจัดหางานของรัฐได้ทุกแห่ง เพื่อขึ้นทะเบียนว่างงานและรายงานตัวตามตารางนัด ซึ่งผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามหากผู้ประกันตนลาออกจากมาตรา 33 แล้ว ยังสามารถรักษาสิทธิประโยชน์ได้ 6 กรณีจากประกันสังคมโดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง Line: @ssothai และเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

#Website: www.sso.go.th
#Facebook: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Instagram: sso_1506
#Twitter: @sso_1506
#YouTube: สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
#Hotline: 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
#LINE: @SSOTHAI
#TikTok: @SSONEWS1506

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" กระทรวงแรงงานมอบของขวัญปีใหม่ ให้ลูกจ้างนายจ้าง รวม 7 รายการ มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

วันที่ 24 ธ.ค.2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานแถลงข่าวของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568 โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงาน นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา

ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนทุกช่วงวัย โชว์ความสำเร็จการดำเนินงาน ปี 67

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดการแถลงข่าว ผลการดำเนินงานสำนักงานประกันสังคม ประจำปี 2567

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ

ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

"พิพัฒน์" ส่ง สปส. จับมือการยางแห่งประเทศไทย ดูแลชาวสวนยาง กว่า 1.5 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ ม. 40 สร้างคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเปิดโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความเชื่อมั่นประกันสังคมมาตรา 40 รุ่นที่ 2 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงแรงงาน

ประกันสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเปลี่ยน รพ. ปี 68 ผ่าน 4 ช่องทาง เริ่ม 16 ธ.ค.67 นี้

นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม แจ้งให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2568 ได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.

'พิพัฒน์' มอบ เลขา 'อารี' วางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง พร้อมยกระดับการให้บริการ เพิ่มความสะดวกแก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในเขตพื้นที่ทั้ง 10 อำเภอ

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ในวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567