วันที่ 6 มกราคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการว่า ตามที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว
ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้ความสำคัญและสั่งการให้กระทรวงแรงงานเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการฟื้นฟูประเทศรองรับนักท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งในส่วนของกระทรวงแรงงาน ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้สั่งการให้จัดหางานทุกจังหวัดนำโครงการ 3 ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) มาประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนระดับ ม.6 ปวช. ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับทราบและเข้าร่วม โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่ได้บูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ที่ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และความมั่นคงในชีวิตได้ศึกษาต่อในสาขาวิชาที่ต้องการ เพื่อให้ได้วุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น โดยได้รับบริการส่งเสริมสนับสนุนให้ทำงานในสถานประกอบการ ได้รับค่าจ้าง และสวัสดิการต่าง ๆ ตามกฎหมาย ซึ่งโครงการนี้ได้นำร่องที่จังหวัดชลบุรีไปแล้ว โดยได้ร่วมมือกับ ดร.ประเสริฐ กลิ่นชู นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย และวิทยาลัยภาคตะวันออก (อี.เทค) จังหวัดชลบุรี เพื่อให้นักเรียนได้เรียนออนไลน์กับวิทยาลัยอีแทค และทำงานไปด้วย สามารถมีรายได้ มีทักษะ มีวุฒิเพิ่ม ซึ่งประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จึงได้นำโครงการนี้มาขยายผลต่อไปยังจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น ภูเก็ต ระยอง กระบี่ พังงา เชียงใหม่ เชียงราย และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคท่องเที่ยวและบริการ
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า โครงการ 3 ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม) นี้จะเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ทั้งนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้งานทำ มีรายได้ มีวุฒิเพิ่ม ขณะเดียวกันสถานประกอบการเองก็จะมีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ และได้แรงงานที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการสามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ด้านสถานศึกษาเองสามารถกำหนดหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ กระทรวงแรงงาน จึงเชิญชวนสถาบันการศึกษา ร่วมโครงการ 3 ม. เพื่อส่งนักเรียน นักศึกษา มาทำงานแบบ On the Job Training ในจังหวัดที่มีธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มทักษะ สร้างรายได้ ระหว่างศึกษา ร่วมกับการสนับสนุนการทำงานแบบรับรายได้เป็นรายชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
เคาะ 'รองปลัดคลัง-อธิบดี กสร.' นั่งบอร์ดไตรภาคี ลุยขึ้นค่าแรง 400 ของขวัญปีใหม่
'กระทรวงแรงงาน' เตรียมเสนอชื่อ 'ตัวแทน กสร.-รองปลัดคลัง' นั่งบอร์ดไตรภาคี ขง ครม. 19 พ.ย. เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาท เป็นของขวัญปีใหม่