“ThaiHealth Watch 2023: สังคมปรับ ชีวิตเปลี่ยน” 7 ทิศทางสุขภาพคนไทยน่าจับตา

สสส.เปิดเวที“ThaiHealth Watch 2023: สังคมปรับ ชีวิตเปลี่ยน” เผย 7 ทิศทางสุขภาพคนไทยน่าจับตา ห่วง!1ใน4ผู้ป่วย NCDs เสี่ยงลองโควิด-ซึมเศร้า  ปัญหาปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผู้คนบนโลกอยู่ในโซนสังเวยชีวิตสูดอากาศมลพิษมากไป ปีหนึ่งมีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน สังคมActive Aging Society  ผู้สูงอายุกว่า60%ขาดแผนเกษียณคุณภาพ เร่งสานพลังพัฒนานวัตกรรม Persona Health มิติใหม่แห่งการสร้างเสริมสุขภาพยุคดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสุขภาพ

ชีวิตที่ดีไม่ใช่แค่การมีชีวิตที่ยืนยาว แต่คือการมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน” จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี2566เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงองค์ความรู้3ส่วน Situationรายงานสุขภาพคนไทยปี2565โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล(วปส.)ร่วมกับ สำนักวิชาการและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เพื่อเข้าใจถึงสถานการณ์สุขภาพปัจจุบันและแนวโน้มภาวะโรคคนไทย Social Trend  กระแสความสนใจของคนไทยบนสื่อออนไลน์ในรอบ1ปี เพื่อเข้าใจความคิดของคนไทย Solution ข้อแนะนำเกิดจากการสานพลังความร่วมมือของสสส.และภาคีเครือข่าย

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสสส.กล่าวเปิดงานThaiHealth Watch2023หรืองานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี2566:สังคมปรับชีวิตเปลี่ยนว่าสสส.มุ่งสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ได้สานพลังภาคีเครือข่ายทางวิชาการ พัฒนานวัตกรรมThaiHealth Watch จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย เพื่อให้ข้อมูลและปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นใหม่ ภายใต้แนวคิดสังคมปรับ ชีวิตเปลี่ยน เพื่อทุกคนเดินหน้าเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ปรับตัวพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในสังคมอย่างเข้าใจและเท่าทันนำไปสู่สังคมสุขภาวะที่ยั่งยืนเมื่อวันที่20ธ.ค.2565

นางเบญจมาภรณ์กล่าวอีกว่าThaiHealth Watch2023 มี7ประเด็นทิศทางสุขภาพสำคัญ 1.ลองโควิด เมื่อไวรัสตัวร้ายจากไป แต่ทิ้งบางสิ่งไว้เป็นของฝาก พบผู้ป่วยติดเชื้อถึง50%มีภาวะลองโควิด ที่น่าห่วงคือ กลุ่มผู้ป่วยโรคNCDsกว่า1ใน4มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโควิดแล้วมีอาการภาวะลองโควิด โรคNCDsกลุ่มโรคที่คร่าชีวิตคนไทยกว่า1,000คน/วันหรือ4แสนคน/ปี NCDsมีผลจาก4โรคหลัก มะเร็ง หัวใจ หลอดเลือด เบาหวาน ทางเดินหายใจเรื้อรัง  ส่งผลต่อสุขภาพจิตที่กระทบการใช้ชีวิตในระยะยาว ผู้ป่วยหญิงมีอาการลองโควิดถึง70%ของผู้ป่วยลองโควิดทั้งหมด ส่วนหนึ่งทำงานประจำและมีลูกเล็กทำให้1ใน4ไม่สามารถกลับไปทำงานเหมือนเดิมได้

2.สานพลังคือทางออก เมื่อภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ พบกว่า99%ต้องสูดอากาศที่มีมลพิษ ฝุ่นPM2.5ไนโตรเจนไดออกไซด์ในระดับที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่าล้านคน/ปี(ข้อมูลจากWHOระบุถึงภูมิอากาศที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดคือเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา) รวมถึงวิกฤตโลกร้อน สหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าอีก80ปี ทั่วโลกจะเผชิญภาวะความเครียดจากความร้อนที่กระทบต่อร่างกายในทุกมิติ 3.ภาวะหมดไฟที่ลุกลาม รับมืออย่างไรให้สุขทั้งองค์กรและคนทำงาน รูปแบบการทำงานแบบลูกผสม(Hybrid Working) ทำให้พบ76%ของพนักงานบริษัทมีความเหงาที่ส่งผลต่อจิตใจเกิดเป็นกระแสการลาออกครั้งใหญ่ในระบบอุตสาหกรรม

นางเบญจมาภรณ์กล่าวต่อว่าเตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในประเด็นที่4.ผู้สูงอายุพร้อมแค่ไหน เมื่อไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ อีก5ปี จะมีผู้สูงอายุติดเตียงกว่า2แสนคน ติดบ้านอีกกว่า3.5แสนคน ในทางกลับกันพบกว่า60%ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน ต้องเร่งสร้างเสริมสุขภาวะทุกมิติ ทั้งการเงิน ที่อยู่อาศัย การดูแล เพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณที่มีคุณภาพ 5.ปลดล็อกความเข้าใจ ในวันที่ไทยปลดล็อกกัญชา พบ32%มีประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชา ผ่านอาหารเครื่องดื่ม รักษาโรค แต่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ว่ากัญชามีทั้งคุณประโยชน์และโทษ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เด็กเยาวชน ที่ใช้ผิดวิธี 6.บุหรี่ไฟฟ้า ภัยซ่อนเร้น ต้นเหตุจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน พบเด็กเยาวชน ได้รับข้อมูลทางสื่อออนไลน์เฉลี่ย3ครั้ง/สัปดาห์ต้องดูแลใกล้ชิดป้องกันการเพิ่มจำนวนของนักสูบหน้าใหม่

“ประเด็นที่7.มิติใหม่แห่งการสร้างเสริมสุขภาพคนไทย เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ พบกิจกรรมออนไลน์ยอดนิยมคนไทยคือ จองคิวปรึกษาแพทย์ถึง86.16% สสส.เห็นถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เร่งสานพลังภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับความรอบรู้ทางสุขภาพที่ถูกต้อง อาทิ เชื่อมเทคโนโลยีเมตาเวิร์สเข้ากับเกม สร้างเว็บไซต์ Empower Living เพื่อเสริมพลังสุขภาวะในกลุ่มเปราะบาง ล่าสุด พัฒนาแอปพลิเคชัน Persona Health สร้างระบบนิเวศทางสุขภาพที่รองรับทุกกลุ่ม มุ่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเฉพาะรายบุคคล ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊กศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสสส.และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealth-watch” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

ดร.ณัฐพันธ์ ศุภกา รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม สสส.กล่าวถึงอนาคตสุขภาพไทยในยุคการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ดิจิทัลกล่าวว่าเทคโนโลยีส่งผลต่อสุขภาวะ เรามีเทคโนโลยีdigital4มิติ สุขภาพกาย ใจ สังคม ปัญญา วิถีdigitalเข้ามารู้ชีวิตทางการแพทย์ ตรวจเลือด ซักถามประวัติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อนสุขภาพจากอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ นาฬิกา ทำให้วินิจฉัยสุขภาพกายเพื่อการซ่อมสุขภาพได้ เปิดข้อมูลให้หมอรักษา รวมทั้งมิติสุขภาพจิต หากมีการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพปัญญารู้เท่าทันรู้ทั่ว สุขภาพทางสังคม เราไม่ใช่ตัวคนเดียวเราเอาตัวเข้าไปอยู่ในสังคม แต่ละคนไม่เหมือนกัน เราสร้างความสัมพันธ์การแสดงออกเพื่อให้สังคมได้รับรู้ ทุกวันนี้ผู้คนใช้เวลา8-9ชั่วโมงในการเสพสื่อสู่สังคม กาย จิตเป็นเครื่องมือที่ออกแบบไปในทางที่ดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ  

ดร.ณัฐพันธุ์กล่าวว่าขอเปิดประตู3บานของสสส.ในการนำDigital Informationเข้ามาใช้ 1.ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ สติปัญญาแยกแยกเรื่องดีออกจากเรื่องไม่ดี 2.Personality สุขภาพแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับไลฟสไตล์ ต้องใช้ข้อมูลเฉพาะเจาะเพื่อเข้าใจตัวเราเองได้ 3.Polistic สุขภาพแบบองค์รวม สุขภาพจะดีหรือไม่ดีประมวลจากหลายด้าน การมีอุปกรณ์เพื่อเข้าสู่โลกdigital การใช้Notebook โทรศัพท์มือถือเพื่อรู้โลกdigital สุขภาพดี4มิติไม่แยกจากกัน กิน เล่น ออกกำลังกาย คนในครอบครัว มีอุปกรณ์ช่วยในทุกมิติ ดังนั้นสสส.และภาคีเครือข่ายจัดทำapp persona Health เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงplatformสุขภาพ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

**

10อาการLong COVID ที่พบได้บ่อย

1.อ่อนเพลีย 2.หอบเหนื่อย 3.ไอ 4.นอนไม่หลับ 5.ปวดศีรษะ 6.ผมร่วง 7.เวียนศีรษะ 8.ความจำสั้น 9.กังวล เครียด 10.เจ็บหน้าอก หากอาการที่เกิดขึ้นกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน3เดือน สามารถพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป

อาการลองโควิดที่กระทบต่อร่างกาย อาการทางระบบประสาท:อ่อนเพลียรุนแรง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ความจำและสมาธิสั้นลง สูญเสียการรับกลิ่น

อาการทางร่างกาย:ปวดข้อ ปวดศีรษะ ตาแห้ง ปากแห้ง เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ผมร่วง รู้สึกไม่สบาย

อาการทางจิตใจ:ภาวะเครียด เกิดความวิตกกังวล เกิดภาวะซึมเศร้า

การพูดถึงLong COVID จากSocial Media ทั้งหมด 47,618ข้อความ

-กังวลถึงผลกระทบต่อชีวิตการทำงาน 2,524 ข้อความ

-รู้สึกกังวลกับอาการลองโควิดทั้งระยะยาว-สั้น 2,370ข้อความ

-อาการเหนื่อยง่าย 1,909ข้อความ

-รู้สึกเครียดจากภาวะลองโควิด1,286ข้อความ

-อาการผมร่วง 1,159ข้อความ

-หอบง่าย  978 ข้อความ

-รู้สึกหายใจไม่อิ่ม 712ข้อความ

-ไม่อยากเป็นลองโควิด 610 ข้อความ

-รับรสชาติไม่เหมือนเดิม 582ข้อความ

-จมูกไม่ได้กลิ่น 214ข้อความ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตัดวงจรความรุนแรง เลิกให้โอกาสที่ 2

เรื่องราวของจีจี้ - นางสาวสุพิชชา ปรีดาเจริญ เนตไอดอลชื่อดัง ซึ่งถูกคู่รักทำร้ายหลายครั้ง แต่จีจี้ยื่นโอกาสให้กับฝ่ายชาย สุดท้ายเธอต้องจากไปด้วยน้ำมือของคนที่รัก ก่อนแฟนหนุ่มจบชีวิตตัวเองตาม  ถูกหยิบยกนำมาเป็นบทเรียนราคาแพงเตือนสติคนในสังคมออกจากความสัมพันธ์

ชวนนักดื่ม “ตรวจตับ-เลิกจับขวด” ฟื้นฟูสุขภาพคืนความสุขครอบครัว

"งดเหล้าเข้าพรรษา" ในระยะเวลา 3 เดือน ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในเทศกาลสำคัญ ที่มุ่งเน้นให้ชาวพุทธงดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เพียงเป็นการรักษาประเพณีและศีลธรรมเท่านั้น

“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนั

สสส.สานพลังภาคี ขจัดความเหลื่อล้ำกิจกรรมทางกาย ดึงคนไทยสู่เวอร์ชั่นใหม่

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (ทีแพค) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

สสส.-สคล. ผนึกภาครัฐ เอกชน จัดแข่งฟุตซอลเยาวชนไม่เกิน 15 ปี ชิงถ้วยกรมสมเด็จพระเทพฯ

สสส. โดยสมาคมเครือข่ายงดเหล้าและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ (สคล.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายและภาคเอกชน รวม 7 องค์กร ลงนามความร่วมมือ พร้อมจัดแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ

"สิทธิในอาหารเพื่อชีวิตที่ดี" ความตระหนักรู้เสริมสุขภาวะ

เด็กทั่วโลกเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านอาหาร เพราะการบริโภคไม่สมดุล ส่งผลต่อสุขภาวะอ้วนผอม ชาวโลกเผชิญความอดอยากเกือบ 300 ล้านคน