เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๕ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยกองกฎหมายต่างประเทศ ร่วมกับกองพัฒนากฎหมาย กองหลักนิติบัญญัติ และกองกฎหมายการพาณิชย์และอุตสาหกรรม ได้มีโอกาสต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้แทนกระทรวงร่างกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี (Ministry of Government Legislation: MOLEG) นำโดย Mr. Bang GekBong ผู้อำนวยการสำนักร่างกฎหมายกิจการทางเศรษฐกิจ (Head of Legislation Bureau of Economic Affairs) โดยทั้งสองฝ่ายได้ประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติงานและข้อมูลด้านกฎหมายระหว่างกัน รวมทั้งแนวทางการพัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมายในอนาคตเพื่อสานความสัมพันธ์ของสองหน่วยงานให้มีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
สำหรับเนื้อหาของการประชุมครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวโน้มการพัฒนากฎหมายใหม่ ๆ ที่เป็นตัวอย่างที่ดี รวมทั้งที่มาและแนวคิดของพัฒนาการดังกล่าว โดย MOLEG ให้ความสนใจพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่มีสาระสำคัญเป็นการให้สิทธิประชาชนสามารถติดต่อขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ซึ่ง MOLEG ให้ความสนใจเนื่องจากประเทศไทยมีประสบการณ์ในด้านนี้มานานกว่าสาธารณรัฐเกาหลี อีกทั้งได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การตรวจพิจารณาร่างกฎหมายในประเด็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบการทำงานภายในองค์กร การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก รวมทั้งปัญหาที่ประสบในการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะดำเนินกิจกรรมความร่วมมือที่หลากหลายและในมิติเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับระบบการร่างกฎหมายของสองประเทศในเชิงลึก รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนางานร่างกฎหมายของสองประเทศ
MOLEG และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกันมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ และมีการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานฯ ได้รับเชิญให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมอภิปรายในการประชุมวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของเอเชีย (Asian Legislative Experts Symposium – ALES) ที่จัดโดย MOLEG เป็นประจำ การมาเยือนและประชุมหารือร่วมกันระหว่าง MOLEG และสำนักงานฯ ในครั้งนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งนอกเหนือจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของทั้งสองหน่วยงานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปแล้ว ยังเป็นการเน้นย้ำว่าทั้งสองหน่วยงานมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กับบทบาทในเวทีการประชุม APEC Good Regulatory Practice Conference ครั้งที่ 17
Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC เป็นการประชุมความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจซึ่งจัดขึ้นในทุกปี มีเนื้อหาครอบคลุมเกือบทุกมิติในทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยที่น่าสนใจ เรื่อง การแจ้งคำสั่งปรับเป็นพินัย กรณีผู้กระทำความผิดปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐและยินยอมชำระค่าปรับเป็นพินัย
ตั้งแต่พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลใช้บังคับ คณะกรรมการว่าด้วยการปรับเป็นพินัยซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัยฯ
บทบาทภารกิจของกองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กองกฎหมายต่างประเทศเป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ดำเนินภารกิจภายใต้วิสัยทัศน์ Better Regulation for Better Life
ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น
กฎหมายคือเครื่องมือของรัฐในการกำหนดกฎเกณฑ์และแนวทางในการอยู่ร่วมกันของบุคคลในสังคม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม
นายกฯ นัดถก ก.ตร. หารือปมกฤษฎีกาตีความคำสั่ง 'บิ๊กโจ๊ก' ออกจากราชการ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ นัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมศรียานนท์ ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในบทบาทผู้ขับเคลื่อนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
การมีกฎหมายที่ดี มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมทั้งสอดคล้องกับบริบทการพัฒนาประเทศซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะส่งเสริมและยกระดับการพัฒนา ให้สามารถขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ